xs
xsm
sm
md
lg

“ฮุนเซน” ขู่ไทยสร้างรั้วรอบวัดท่าเมือนธมอาจนำไปสู่สงคราม ด้าน "หมอแล็บแพนด้า" ชี้พฤติกรรมข่มขู่เกิดจากปมทางจิตวิทยา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกรณีที่สมเด็จฯ ฮุนเซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ออกมาเตือนว่าการสร้างรั้วรอบวัดท่าเมือนธมของไทยอาจนำไปสู่สงคราม ด้าน "หมอแล็บแพนด้า" ได้โพสต์ข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลักจิตวิทยาของคนที่ชอบข่มขู่ โดยระบุถึง 6 สาเหตุหลัก ตั้งแต่กลไกการควบคุม ปมด้อย ไปจนถึงปัญหาบุคลิกภาพ พฤติกรรมที่เกิดจากความกลัว หรือแม้แต่แบบแผนการเรียนรู้จากครอบครัวหรือสังคมที่มองว่าการข่มขู่เป็นเครื่องมือปกติในการจัดการปัญหา การวิเคราะห์นี้ช่วยให้เข้าใจถึงแรงจูงใจเบื้องลึกของพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

จากกรณีมีรายงานว่าสำนักงาน “Kampuchea Thmey Daily” ของ กัมพูชารายงานข่าวว่า สมเด็จฯ ฮุนเซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา เตือนหากไทยกล้าสร้างรั้วรอบวัดท่าเมือนธม อาจเกิดสงคราม 

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 15 ก.ค. “หมอแล็บแพนด้า” ได้ออกมาโพสต์ข้อความน่าสนใจในประเด็นหลักจิตวิทยาของคนที่ชอบข่มขู่คนอื่น โดยทาง “หมอแล็บ” ได้ระบุข้อความว่า

:ตามหลักจิตวิทยา คนที่ “ชอบขู่คนอื่น” สามารถอธิบายได้แบบนี้ครับ

1. กลไกการควบคุม (Control Mechanism)
• เพราะรู้สึกว่าโลกภายนอกไม่น่าไว้ใจหรือไม่สามารถควบคุมได้

 2. ปมด้อย หรือความรู้สึกไร้อำนาจ (Inferiority Complex)
• คนที่เคยถูกกดขี่ในอดีต อาจพยายาม สร้างอำนาจเทียม ด้วยการข่มขู่คนอื่น เพื่อกลบความอ่อนแอของตัวเอง

 3. แบบแผนการเรียนรู้จากครอบครัวหรือสังคม
• เช่น ถ้าเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ใช้การข่มขู่เป็นหลัก เช่น ถูกขู่อยู่บ่อยๆ เด็กคนนั้นอาจเรียนรู้ว่า “การขู่” คือเครื่องมือปกติในการจัดการปัญหา

 4. ความต้องการให้คนอื่นเชื่อฟัง (Need for Obedience)
• บางคนมีความเชื่อว่า อำนาจ = การควบคุม และคนจะเชื่อฟังได้ต้อง “กลัว” เท่านั้น

 5. ปัญหาทางบุคลิกภาพ (Personality Disorders)
• เช่น บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder) หรือ แบบครอบงำ (Narcissistic / Controlling) คนกลุ่มนี้อาจใช้การข่มขู่โดยไม่มีความรู้สึกผิด เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

 6. การตอบสนองจากความกลัว (Fear-Based Behavior)
• บางครั้งคนที่ขู่อาจกำลังรู้สึกกลัวว่าจะสูญเสียบางอย่าง เช่น ความรัก อำนาจ หรือการควบคุม จึงพยายาม “ขู่” เพื่อไม่ให้สิ่งนั้นหลุดมือไป"
กำลังโหลดความคิดเห็น