xs
xsm
sm
md
lg

“ปานเทพ” สวมเสื้อธงชาติไทยขึ้นเวที แฉ 17 ปีรัฐไทยนิ่ง! ปล่อยกัมพูชารุกเขาพระวิหาร-ซัดทุกฝ่ายพลาดประวัติศาสตร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์" จี้รัฐไทยกล้าเผชิญความจริงปมเขาพระวิหาร หลังผ่านมากว่า 17 ปีกัมพูชารุกคืบเต็มพื้นที่ ขณะฝ่ายการเมืองไทยกลับเฉื่อยชาไร้การทบทวน ชี้ต้นตอความผิดพลาดอยู่ที่รัฐบาลไทยเอง ไม่ใช่ศาลโลกหรือยูเนสโก

วันนี้ (13 ก.ค.) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประธานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ได้ขึ้นเวทีเสวนา "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว ครั้งที่ 3" ภายใต้หัวข้อ "17 ปีแห่งการทวงคืนอธิปไตยชาติ" โดยสร้างความสนใจในหมู่ผู้เข้าร่วมด้วยการสวมสูทลายธงชาติไทย สื่อสารเชิงสัญลักษณ์ถึงการยืนหยัดปกป้องอธิปไตยของแผ่นดินไทย

บนเวที นายปานเทพกล่าวถึงปัญหาเรื่องดินแดนที่เราทำมาตลอดไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลทักษิณรัฐบาลเดียว ย้อนไปเมื่อปี 2551 ว่าจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ปราสาทพระวิหารเกิดจากการที่รัฐบาลไทยในขณะนั้น นำโดย นายสมัคร สุนทรเวช ลงนามแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชา สนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

“เราไม่ได้ออกมาเพราะเกลียดทักษิณหรือเป็นเรื่องการเมืองฝ่ายใด เราท้วงตั้งแต่ต้นว่านั่นคือการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญรวมถึงศาลปกครองสูงสุดก็พิพากษาว่าแถลงการณ์ร่วมครั้งนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ” นายปานเทพกล่าวอย่างหนักแน่น

เขายังกล่าวถึงชัยชนะในยุคนั้น โดยเฉพาะการที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ในขณะนั้น ประกาศถอนตัวจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกเพื่อแสดงจุดยืนไม่ยอมรับมติที่อนุญาตให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารในนามตนเอง


อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวครั้งใหญ่ตามมาหลังจากนั้น เมื่อรัฐบาลชุดต่อมา ทั้งภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในการทบทวนหรือผลักดันให้ถอนสถานะไทยจากภาคีมรดกโลก ปล่อยให้ฝ่ายกัมพูชาเดินเกมต่อเนื่อง ยึดพื้นที่รอบปราสาทได้อย่างเบ็ดเสร็จ

นายปานเทพเตือนว่า ความผิดพลาดไม่ใช่เพราะศาลโลกหรือยูเนสโก แต่เพราะ “รัฐบาลไทยไม่ทำอะไรเลย” และนั่นทำให้คำถามที่ว่า “พื้นที่รอบเขาพระวิหารเป็นของใคร?” ควรถูกโยนกลับไปยังคณะรัฐมนตรีทุกชุดที่นิ่งเฉยหลังปี 2551

“ถึงวันนี้อย่าโทษใครทั้งนั้น คำตอบว่าทำไมพื้นที่นั้นไม่ใช่ของไทยอยู่ที่ความเงียบเฉยของรัฐไทยเองทั้งหมด” เขากล่าวทิ้งท้าย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลปัจจุบันกล้าเผชิญหน้ากับความจริง และเร่งทบทวนจุดยืนไทยในเวทีระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้ MOU 2543 และ MOU 2544 ที่ทำให้ฝ่ายกัมพูชาได้เปรียบไทยนั้นสามารถยกเลิกได้ ตามที่ ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย เคยเป็นผู้ประสานงานในคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 และเป็นกรรมาธิการด้านกฎหมายของคณะกรรมการศาลโลกหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เคยระบุไว้ชัดเจนว่าสามารถยกเลิกได้ เพราะสนธิสัญญาคือสิ่งที่สองฝ่ายตกลงทํากัน ถ้าฝ่ายหนึ่งจะไม่ทําอีกแล้วก็ยกเลิกได้แน่นอน


นอกจากนี้ นายปานเทพยังตั้งข้องสังเกตเรื่องการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ซึ่งประเทศไทยทำกับฝั่งพม่าเด็ดขาดกว่าฝั่งกัมพูชาอย่างมาก นั่นเป็นเพราะ "อังเคิลต้องการอะไรบอกมาเดี๋ยวจัดทําให้หมด"

สุดท้ายนายปานเทพเสนอว่า 1. ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐบาลที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับกัมพูชา 2. พรรคร่วมรัฐบาลต้องถอนตัว ทั้ง 2 ข้อไม่มีใครทําอะไรเลย ตอนนี้มีแต่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่รอคําตัดสิน
ขณะที่นายทักษิณ ชินวัตร เชื่อมั่นว่าจะรอดด้วย

ข้อที่ 3 เพื่อป้องกันการมาสวมตอกันใหม่ในรัฐบาลอีกหลายรัฐบาล จึงเสนอให้ยกเลิก MOU 2543 ทางบก ยกเลิกแผนที่ที่ผิดคือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ใช้กลไก JBC เจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อทํา MOU ฉบับใหม่ที่ไม่ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 และให้เปิดเผยผลการเจรจา JBC ทุกครั้ง

นอกจากนี้ ต้องทวงคืนอนุสัญญากรุงโตเกียวปี 2484 ที่เราได้พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ กลับคืนมาจากฝรั่งเศส แต่กลับไปเป็นของกัมพูชาหลังจากที่กัมพูชาได้เอกราช

ข้อ 4 ยกเลิก MOU 2544 ยกเลิก JC 2544 เพื่อยกเลิกเส้นไหล่ทวีปทางทะเลของกัมพูชาที่ผิดกฎหมายทะเลสากล ใช้กลไก JCT ทางเทคนิคเพื่อทําเอ็มโอยูฉบับใหม่เพื่อใช้เส้นมัธยฐานตามกฎหมายทะเลสากลในการแบ่งเขตไหล่ทวีป

ข้อ 5 ปิดด่าน ตัดสาธารณูปโภคที่ก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีและฝั่งกัมพูชา รวมถึงกวาดล้างเครือข่ายในประเทศไทยให้เกลี้ยงให้หมดไม่ให้เหลือเลย ทั้งหมดนี้เพื่อจะบอกว่าเราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว








กำลังโหลดความคิดเห็น