xs
xsm
sm
md
lg

ไขข้อข้องใจ! ทำไม 'รอ' นานที่โรงพยาบาลรัฐ? บุคลากรขอชี้แจง 10 ข้อที่ผู้ป่วยควรรู้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรอคิวนานและการบริการที่โรงพยาบาลรัฐ ล่าสุดบุคลากรทางการแพทย์ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงถึงข้อจำกัดและเหตุผลเบื้องหลัง โดยหวังว่าผู้ป่วยจะเข้าใจและเห็นใจการทำงานของเจ้าหน้าที่มากขึ้น

จากกรณีปรากฏภาพของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ต่างตั้งคำถามถึงการทำงานของโรงพยาบาลของรัฐว่าทำไมถึงปล่อยให้ผู้ป่วยรอคิวนานหลายชั่วโมง อีกทั้งตั้งคำถามว่าโรงพยาบาลรัฐมีการพักเที่ยงด้วยเหรอ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พ.ค. พญ.ศรัญญา พงษ์อุดม โรงพยาบาลอุดรธานี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชื่อ “Saranya Pongudom” ได้ออกมาโพสต์ข้อความชี้แจงถึงข้อจำกัดและเบื้องหลังการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยคุณหมอได้ระบุข้อความว่า

"สิ่งที่คนไข้ควรรู้ ก่อนมา รพ.รัฐ

1. โรงพยาบาลรัฐ ไม่เหมือน รพ.เอกชน เนื่องจากเรามีงบประมาณและบุคลากรจำกัด
2. หากต้องการความสะดวก สบาย และรวดเร็ว ควรไป รพ.เอกชน
3. หากจะมา รพ.รัฐ ควรทำใจไว้ล่วงหน้าว่ากระบวนการทุกอย่างจะช้าถึงช้ามาก ไม่ได้รวดเร็วดั่งใจ
4. เจ้าหน้าที่ทุกคน หมายรวมถึง หมอ พยาบาล ผู้ช่วย ห้องแล็บ และอื่นๆ ทำงานต้องมีการพักกลางวันเพื่อรับประทานอาหาร หากผู้ป่วยมีภาวะฉุกเฉิน ทุกคนพร้อมจะให้ความช่วยเหลือโดยไม่กินข้าวดืื่่มน้ำ แต่หากผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน ขอให้เจ้าหน้าที่ได้พักตามเวลาบ้าง
5. ขอให้ใช้ความอดทนมากหน่อย เราขอให้คนไข้อดทน เพราะเจ้าหน้าที่ก็ต้องใช้ความอดทนเหมือนกัน
6. เจ้าหน้าที่ต้องอดทนต่อปริมาณคนไข้ที่เยอะ อุปกรณ์ที่ยังไม่เพียบพร้อม คอมพ์ช้ามาก แล็บช้ามาก ความคาดหวังที่มากขึ้นของคนไข้ อารมณ์ของคนไข้และญาติ รวมทั้งยังได้รับแรงกดดันจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลด้วย
7. เจ้าหน้าที่มาโรงพยาบาลและทำงานแบบนี้ทุกวัน แต่คนไข้ไม่ได้มาโรงพยาบาลทุกวัน (อันนี้อยากบอกเฉยๆ)
8. อย่าใช้อารมณ์ และอย่าท้าทายให้บุคลากรลาออก (ถ้าเขาลาออกกันจริงๆ คนที่ลำบากก็คือคนไข้)
9. คำว่า "ได้เงินจากภาษีของประชาชน" เจ้าหน้าที่หลายคนก็รู้สึกไม่ดี เพราะเขาก็เสียภาษีเหมือนกันและมากด้วย
10. หมอมีงานหลายหน้า บางคนต้องดูคนไข้ในตึกก่อน บางคนมีประชุม บางคนมีสอน มีผ่าตัด บางครั้งการไปตรวจผู้ป่วยนอกอาจจะล่าช้าได้ (อย่าคิดว่าหมอมาทำงาน 11 โมง)

ขอบคุณมากค่ะที่อ่านมาถึงตรงนี้ เห็นหลายๆ โพสต์เกี่ยวกับโรงพยาบาล เลยคิดว่าบางทีเราอาจจะต้องเล่าในมุมมองของบุคลากรบ้าง"
กำลังโหลดความคิดเห็น