xs
xsm
sm
md
lg

ระวัง! เด็กเล่นดินทราย เสี่ยงพยาธิไชผิวหนัง มาจากมูลสัตว์ปนเปื้อนในดินหรือทราย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจปรสิต แชร์เคสเด็กชายพยาธิชอนมือ เกิดจากพยาธิไชผิวหนัง เป็นภาวะที่เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิปากขอของสัตว์ โดยเฉพาะแมวและสุนัข เตือนพ่อแม่ผู้ปกครองเพิ่มความระมัดระวัง

วันนี้ (11 เม.ย.) เพจ “Parasite stories เล่าเรื่องปรสิต” ได้แชร์ภาพหลังผู้ปกครองท่านหนึ่งได้ลงรูปเด็กชายอายุน้อยรายหนึ่ง ผู้ปกครองระบุว่า “อุทาหรณ์เด็กดื้อ ปล่อยลูกเล่นดิน เล่นทราย ไม่เคยคิดว่าจะเป็นแบบนี้ พยาธิชอนมือ ตอนแรกเป็นตุ่มเหมือมดกัดแต่เป็นหลายตุ่ม พอมาตอนเช้าของอีกวัน เดินกันยั้วเยี้ยเลย ชอนลามไปเยอะมาก มันมากับหน้าฝน แมวหรือหมามาถ่ายไว้ เราก็ไม่รู้ #หน้าฝนน่ากลัว”

โดยทางเพจได้ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า “Cutaneous larva migrans (CLM)
หรือ พยาธิไชผิวหนัง เป็นภาวะที่เกิดจาก ตัวอ่อนของพยาธิปากขอของสัตว์ โดยเฉพาะแมวและสุนัข เช่น:
-Ancylostoma braziliense
-Ancylostoma caninum
เมื่อตัวอ่อนของพยาธิเหล่านี้มาจากมูลสัตว์และปนเปื้อนในดินหรือทราย แล้วสัมผัสกับผิวหนังมนุษย์ (เช่น เดินเท้าเปล่า นั่งหรือเล่นบนทราย) มันจะไชเข้าไปในผิวหนังชั้นตื้นๆ แต่ไม่สามารถทะลุเข้าไปลึกได้ จึงคงอยู่และเคลื่อนไปใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการเฉพาะตัว

ลักษณะอาการ:
-ผื่นนูนแดง ลักษณะเป็นเส้นคดเคี้ยวใต้ผิวหนัง (serpiginous or linear tracks)
-มักพบที่เท้า มือ หรือก้น (บริเวณที่สัมผัสดิน/ทราย)
-คันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน
-การเคลื่อนที่ของรอยผื่นประมาณ 1–2 เซนติเมตรต่อวัน

การวินิจฉัย: ส่วนใหญ่ใช้ลักษณะทางคลินิก (clinical diagnosis) จากผื่นลักษณะเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อ หรือตรวจเลือดยกเว้นในกรณีไม่ชัดเจน

การรักษา:
-Albendazole: 400 mg/day นาน 3–5 วัน
-Ivermectin: 200 µg/kg วันเดียว (อาจต้องให้ซ้ำในบางราย)
-การทายาเฉพาะที่ เช่น thiabendazole cream (ถ้ามีจำหน่าย)




กำลังโหลดความคิดเห็น