xs
xsm
sm
md
lg

โกงจนตึกถล่ม? แก้แบบก่อสร้าง-ใช้วัสดุตกมาตรฐานลดต้นทุน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สรุป 5 สาเหตุ ตึก สตง.ถล่ม การออกแบบผนังรับน้ำหนักไม่สมมาตร มีการแก้แบบหลังประมูลได้โดยลดขนาดเสาลง ใช้วัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะเหล็กข้ออ้อย IF ซึ่งคุณภาพต่ำ รัฐบาลจีนสั่งแบน แต่นายทุนขนอุปกรณ์โรงงานมาตั้งและผลิตในไทย ประการสำคัญ “ไอทีดี-ไชน่าเรลเวย์ฯ” ขาดสภาพคล่อง ค้างหนี้กับผู้รับเหมาช่วงและแรงงาน จึงพยายามลดต้นทุนโดยลดคุณภาพการก่อสร้างลง



ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงสาเหตุที่ตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างพังถล่มลงมาขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อบ่ายวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตามหลักวิศวกรรมสรุปได้ว่ามี 5 ปัจจัยด้วยกัน


เรื่องที่ 1 การออกแบบมีปัญหาตั้งแต่แรก การออกแบบผนังรับน้ำหนักที่เรียกว่า Shear Wall ไม่สมมาตร ที่กระจุกตัวอยู่ด้านหลังและกลางอาคาร โดยเฉพาะการวางตำแหน่งช่องลิฟท์ หรือ ที่เรียกว่า ลิฟท์ คอร์ ซึ่งมีเป็นผนังสำคัญในการับนำหนักด้วย ที่ค่อนไปด้านหลังทำให้จุดศูนย์กลางความแข็งแรง (Center of Mass) ทำให้เกิดการบิดตัว (Torson Effect) เมื่อรับแรงแผ่นดินไหวจากทุกทิศทางแบบไม่สมมาตรหรือไม่?


เสาหลายจุดบางแต่สูงชะลูดตัวเกินไปหรือไม่? จุดเชื่อมข้อต่อระหว่างเสากับพื้นอ่อนแอสำหรับการรองรับแผ่นดินไหวหรือไม่?

แต่ที่เรารู้แน่ ๆ ว่าการออกแบบไม่สมมาตร ก็คือ การขนาดของเสาด้านหน้าด้านล่างสุดเป็นการขาดแบบ “เฉียง” คือบทสรุปว่าอาคารแบบนี้ออกแบบไม่สมมาตรอย่างแน่นอน จึงเกิดแรงกระทำแบบนี้


เรื่องที่ 2 เสาด้านหลังที่ดูสูงชะลูดนั้นมีขนาดหน้าตัด 0.8 เมตร x 0.8 เมตร เล็กกว่าด้านหน้า(จึงพังก่อน) อาจด้วยเพราะมีสัดส่วนความชะลูดเกิน จึงโก่งหักง่ายกว่า โดยสัดส่วนการคำนวณการชะลูดตัวที่เรียกว่า Slenderness Ration น่าจะมีปัญหาหรือไม่?

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพบว่าอาจมีการแก้ไขแบบเสาด้านหน้าให้เล็กลง


ทั้งนี้ ตามแบบที่ใช้ในการประมูล มีเสาด้านหน้า 4 ต้น ขนาดหน้าตัด 1.4 เมตร คูณ 1.4 เมตร และเสาด้านข้าง ขนาดเดียวกันอีก 2 ต้น

แต่แบบก่อสร้างได้แก้ไขเสา 4 ต้น ขนาดหน้าตัดลดลงจาก 1.4 เหลือ 1 เมตร คูณ 1 เมตร โดยก่ออิฐล้อมรอบเสาคอนกรีตเสริมหล็ก(คสล.)อยู่ข้างใน ให้ดูเท่ากับเสาหน้าตัด 1.4 เมตร คูณ 1.4 เมตร ภายนอก


เรื่องที่ 3 วัสดุอาจมีปัญหา วัสดุอาจมีปัญหา โดยเฉพาะเหล็กข้ออ้อยในเสา ที่ไม่ได้มาตรฐานจากจีน หรือไม่?

เรื่องที่ 4 ขั้นตอนการก่อสร้างไม่สมบูรณ์ ไม่รอบคอบ ทำให้โครงสร้างอ่อนแอ โดยเฉพาะการใส่เหล็กและเทคอนกรีตช่วงผนังคอร์ ลิฟท์ และผนัง shear wall โดยเฉพาะจุดที่รับทาวเวอร์เครนด้านหลัง หรือไม่?

มีการใช้ เหล็กข้ออ้อย T ที่ได้จากกระบวนการที่เรียกว่า IF (Induction Furnance Process) คือการใช้เตาเหนี่ยวนำไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนในการหลอมเหล็ก ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่สามารถกำจัดการปนเปื้อนของเหล็กได้ ซึ่ง เหล็กตัว T นี้จึงมีลักษณะเป็นเหล็กปนเปื้อน


“ที่น่าสังเกตก็คือ เหล็กที่ทำจากเตาไฟฟ้า IF นั้น จีนเลิกทำแล้ว สั่งห้ามผลิต และอุปกรณ์ต่างๆ ก็ถูกนักธุรกิจจีนเทายกขบวนเข้ามาที่เมืองไทย แล้วมาตั้งโรงงานผลิตโดยใช้เตา IF ซึ่งทั่วโลกไม่มีใครเขาใช้แล้ว มีเฉพาะประเทศไทย เพราะนักธุรกิจจีนเทาร่วมมือกับผู้ใหญ่ในกระทรวงอุตสาหกรรม ขอให้ใช้มาตรฐานเตา IF ซึ่งผู้ใหญ่นั้นก็รับเงินรับทองไป อนุมัติทั้งๆ ที่ไม่มีใครเขาใช้อีกแล้ว” นายสนธิกล่าว

นอกปนเปื้อนแล้ว เหล็กตัว T นี้มีลักษณะ แข็งนอกอ่อนใน ดังนั้นข้อห้ามคือจะต้องไม่กลึงขดขนาดผิวนอกออกเด็ดขาด


แต่ในโครงการนี้พบเหล็กข้ออ้อยชนิด T แล้วมีการใส่ข้อต่อเกลียวเพื่อต่อเหล็กเส้นเข้าด้วยกัน ข้อต่อเกลียวนี้เรียกว่า Coupler ย่อมแสดงว่าโครงการนี้มีการกลึงผิวนอกของเหล็กข้ออ้อยตัว T เพื่อทำเป็นเกลียว เพื่อเอาไปใส่ในข้อต่อ ซึ่งเท่ากับเป็นการปลอกส่วนที่รอบนอกของเหล็กชนิดนี้ที่แข็งแรงที่สุดออกไปหรือไม่ ? คำถามคือ
-มีการชดเชยการออกแบบอื่นทดแทนหรือไม่ ?
-หรือมีการเพิ่มความแข็งแรงของข้อต่อให้แข็งแรงเพิ่มขึ้นไปอีก 125% หรือไม่? สงสัยว่าไม่มี

เรื่องที่ 5 อิตาเลียนไทย และ บริษัท China Railway No.10 ค้างหนี้กับผู้รับเหมาและแรงงาน อาจจะมีปัญหาขาดสภาพคล่องจากการตรวจรับงาน หรือการวิ่งเต้นหรือเปล่า หรือว่าข่าวคราวที่ว่า จ่ายเงินให้คณะวิศวกรผู้ตรวจรับงานไป 100 ล้านบาท ทำให้เงินขาดหรือเปล่า ทำให้ทั้งสินค้าและคุณภาพการก่อสร้างไม่ได้คุณภาพหรือไม่


ถ้าคำถามข้างต้นตอบว่า ใช่ กับปัญหาเหล่านี้ ลำดับการถล่มของคลิปวิดีโอ หลักฐานที่มีการเผยแพร่ทั่วไป จะมีผลดังนี้

1. สังเกตจากด้านข้างอาคารทั้งสองด้าน การพังทลายเริ่มจากพื้นที่ชั้น 29 เริ่มพังบริเวณหลังอาคาร เพราะเสาที่ค้ำหลังอาคารอ่อนแอ เพื่อลดต้นทุนเดิมทีหน้าตัดต้อง 1.4 เมตร ลดลงเหลือ 1 เมตร ยังไม่พอ เสาค้ำข้างหลังลดอีกเหลือ 0.8 เมตร

ฉะนั้นพอเกิดการถล่ม ด้านหลัง ชั้นที่ 29 ก่อน เพราะด้านผนังในช่องลิฟต์มี Tower Crane หนักประมาณ 50 ตันแกว่ง โดยเครนยึดกับผนังลิฟต์ แม้จะไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่เป็นตัวกระตุ้น เร่งทำให้ตึกนั้นบิดตัว ทำให้ความไม่สมมาตรหรือสมดุลของอาคารด้านหลังนั้นอ่อนแอลง โดยมีเสาด้านหลังที่มีขนาดเล็กกว่าด้านหน้าจึงไม่เพียงพอต่อแรงกระทำต่อการบิดตัว ทำให้การพังของเสาและผนังเกิดขึ้นที่ชั้น 29 ก่อน


2. จากคลิปวิดีโอที่มีคนถ่ายเป็นหลักฐาน สังเกตด้านหน้าอาคาร มีเสาระหว่างชั้น 28 และ 27 เสาคู่กลางหักก่อน และเสาคู่กลางชั้น 28-29 ก็จะหักตามลงมา

3. เมื่อสังเกตคลิปวิดีโอที่ชั้นล่าง เห็นเสาด้านซ้าย ขนาดหน้าตัด 1 เมตร คูณ 1 เมตร สูง 15 เมตร ขาดก่อน เสาคู่กลางหน้าตัด 1.4 เมตร คูณ 1.4 เมตร สูง 15 เมตร ก็หักตามมา

สรุป เมื่อพิจารณาจากลำดับการถล่มของตึกนี้ สาระสำคัญจะอยู่ที่การออกแบบตึกนี้ไม่ปลอดภัย ตั้งแต่การออกแบบเพราะผนังรับน้ำหนัก เรียกว่า Shear Wall ไม่สมมาตร เสาด้านหลังมีขนาดเล็กเกินไป และชะลูดเกินไป สูงเกินไป เมื่อด้านหลังมีขนาดเสาที่เล็กกว่าพังก่อน น้ำหนักจึงถูกถ่ายมาที่เสาด้านหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อชั้น 29 พัง ชั้นที่ 28, 27 ก็พังถล่มตามมา


เมื่อน้ำหนักกระแทกมา ทำให้เสาด้านล่าง ขนาดซ้าย 1 เมตร คูณ 1 เมตร สูง 15 เมตร ขาดก่อน จากนั้นเสาตรงกลาง ขนาด 1.4 เมตร คูณ 1.4 เมตร สูง 15 เมตร ซึ่งรับน้ำหนักแทบไม่ไหว ก็ขาดตามกันอย่างรวดเร็ว

“เอาง่ายๆ เสาที่ตั้งขึ้นมามันน่าจะรับน้ำหนักได้ ถ้ามันเป็นไปตามแบบที่ถูกต้อง คืออย่าว่าแต่ 1 เมตร แล้วลดเหลือ 0.8 เมตรเลย ถ้ามันยังยืนอยู่ที่ 1.4 เมตร เหมือนเดิม มันก็ไม่เกิดโศกนาฏกรรมแบบนี้ แต่มันทะลึ่งไปลดจาก 1.4 เมตร มาเป็น 1 เมตร มิหนำซ้ำแล้ว ด้านหลังมันต้องการจะเซฟเงิน ก็เลยลด ซึ่งมันน้อยอยู่แล้ว ลดจาก 1.4 มาเหลือ 1 เมตร แล้วด้านหลังก็ต่ำกว่า 1 เมตร ก็คือ 0.8 เมตร ผมสรุปให้แค่นี้พอจะเข้าใจไหมครับ

“ด้วยเหตุนี้ด้านหลังข้างล่างถึงอ่อนแอหมด แล้วมันก็ส่งผลขึ้นไปถึงข้างบน ชั้น 29 จึงล่มก่อน เพราะว่ามันอยู่ด้านหลัง พอล่มปั๊บ น้ำหนักที่เหลือก็เทมาที่ด้านหน้า ด้านหน้าจาก 1.4 เมตร ลดเหลือแค่ 1 เมตร มันก็รับน้ำหนักไม่ไหว”
นายสนธิกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น