ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการหลอกลวงของคอลเซ็นเตอร์ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,179 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 11-18 มีนาคม 2568 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อเรื่องปัญหาการหลอกลวงของคอลเซ็นเตอร์ สร้างความเสียหายต่อประเทศไทยจำนวนมหาศาลทั้งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว ภัยการหลอกลวงทางโทรศัพท์ มิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศรูปแบบหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อเหยื่อจำนวนมากแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในภาพรวมระดับประเทศอีกด้วย การแก้ไขปัญหาแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ของไทย การปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สร้างสายด่วนให้ติดต่อในกรณีที่ถูกหลอกลวง หรือการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนไม่หลงเชื่อกลลวงของมิจฉาชีพ ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตประชาชนไทย และประชาคมโลก ภัยคอลเซ็นเตอร์ ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจข้ามชาติที่เป็นภัยร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่การติดต่อในรูปแบบดิจิทัลมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเห็นการหลอกลวงของ call center เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 88 และพบเห็นการหลอกลวงของ call center ผ่านการโทร.เข้าเบอร์มือถือ ร้อยละ 70
เคยได้รับการติดต่อจาก call center ที่มาหลอกลวง ร้อยละ 76.4 และรู้จักบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงของ call center ร้อยละ 50.3
คิดว่าท่านสามารถรู้เท่าทันการหลอกลวงของ call center ร้อยละ 75.5 ไม่เคยตรวจสอบการติดต่อของ call center ที่มาทำการการหลอกลวง ร้อยละ 45.9
โดยรู้สึกว่าการหลอกลวงของ call center เป็นเรื่องไม่ปกติ ร้อยละ 64.4 ไม่คิดว่าในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงของ call center ร้อยละ 39.7
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงของ call center อย่างจริงจัง ร้อยละ 89.5
ส่วนที่ 1 ปัญหาการหลอกลวงของคอลเซ็นเตอร์
1. ในปัจจุบันท่านพบเห็นการหลอกลวงของ call center เพิ่มมากขึ้น ใช่หรือไม่
ใช่ร้อยละ 88
ไม่ใช่ร้อยละ 5.8
ไม่แน่ใจร้อยละ 6.2
2. ท่านพบเห็นการหลอกลวงของ call center ผ่านวิธีการใดมากที่สุด
SMS ร้อยละ 19.3
การโทร.เข้าเบอร์มือถือร้อยละ 70.5
ไลน์ ร้อยละ 3.3
Facebook ร้อยละ 5.3
tiktok ร้อยละ 1.6
3. ท่านเคยได้รับการติดต่อจาก call center ที่มาหลอกลวง หรือไม่
เคยร้อยละ 76.4
ไม่เคยร้อยละ 14.9
ไม่แน่ใจร้อยละ 8.7
4. ท่านคิดว่าท่านสามารถรู้เท่าทันการหลอกลวงของ call center ได้หรือไม่
รู้เท่าทันการหลอกลวงร้อยละ 75.5
ไม่รู้เท่าทันการหลอกลวงร้อยละ 11.7
ไม่แน่ใจร้อยละ 12.8
5. ท่านเคยตรวจสอบการติดต่อของ call center ที่มาหลอกลวงหรือไม่
เคยร้อยละ 42
ไม่เคยร้อยละ 45.9
ไม่แน่ใจร้อยละ 12.1
6. ท่านใช้วิธีการใดในการตรวจสอบการหลอกลวงของ call center
ค้นหาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือร้อยละ 57
สอบถามผู้เชี่ยวชาญร้อยละ 17.9
ไม่คิดจะตรวจสอบร้อยละ 25.1
7. ท่านรู้จักบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงของ call center หรือไม่
เคยร้อยละ 50.3
ไม่เคยร้อยละ 36.2
ไม่แน่ใจร้อยละ 13.5
8. ท่านรู้สึกว่าการหลอกลวงของ call center เป็นเรื่องปกติ ใช่หรือไม่
ใช่ร้อยละ 26.9
ไม่ใช่ร้อยละ 64.4
ไม่แน่ใจร้อยละ 8.7
9. ท่านคิดว่าในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงของ call center ใช่หรือไม่
ใช่ร้อยละ 38.6
ไม่ใช่ร้อยละ 39.7
ไม่แน่ใจร้อยละ 21.7
10. ท่านอยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงของ call center อย่างจริงจังหรือไม่
อยากร้อยละ 89.5
ไม่อยากร้อยละ 6.1
ไม่แน่ใจร้อยละ 4.4