xs
xsm
sm
md
lg

สอน. สำรวจพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยเทคโนโลยี “GPS Land Leveling" เพื่อแก้ไขปัญหาความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายจารุ คงจันทร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 2 เปิดเผยว่า...
ศูนย์ส่งเสริมฯ มีภารกิจหลักในการวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการอ้อยและเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย ตลอดจนแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบเทคโนโลยีด้านการผลิตอ้อยและเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยเทคโนโลยี Land Leveling เพื่อแก้ไขปัญหาความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ และพัฒนาเทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบแสงเลเซอร์ (Laser Land Levelling) ในการแก้ปัญหาความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ ลดปัญหาจากพื้นที่เพาะปลูกน้ำท่วมขัง ลดเวลาระยะการให้น้ำ ช่วยให้การกระจายน้ำตลอดความความยาวแปลงมีความสม่ำเสมอ ไม่มีน้ำขัง ส่งผลให้การงอกและการเติบโตของอ้อยสม่ำเสมอ 

 จากการดำเนินโครงการส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีผลผลิตอ้อยที่สูงขึ้น และนำไปสู่รายได้ที่สูงเพิ่มมากขึ้น แต่การดำเนินดังกล่าว ยังอาศัยเทคโนโลยีการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบแสงเลเซอร์ (Laser Land Levelling) และมีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ว่างเปล่าไม่มีต้นไม้หรือพืชกีดขวางการใช้รถวิ่งเพื่อเก็บข้อมูลระดับของพื้นดิน อีกทั้งยังไม่มีส่วนการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลรายแปลง เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำเป็นแผนที่ในการวางกลยุทธ์เชิงรุกในการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายต่อไป


ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำ “โครงการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยเทคโนโลยี Land Leveling เพื่อแก้ไขปัญหาความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ ระยะที่ 2” เพื่อให้ต่อยอด และขยายขอบเขตให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ เพิ่มรายได้ให้ชาวไร่อ้อย สามารถรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน และสามารถตอบโจทย์ตัวชี้วัดของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ต่อไปในอนาคต

​สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จึงได้เข้าสำรวจพื้นที่ ตำบลคำบง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ด้วยระบบโดรน และนำเทคโนโลยี GPS มาใช้ในการปรับแนวระดับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยเทคโนโลยี “GPS Land Leveling" โดยการใช้โดรนทำการบินสำรวจระดับความลาดชันของพื้นที่แปลง ที่ต้องการปรับพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดังกล่าวมาแปลงข้อมูลเพื่อกำหนดค่าพิกัดด้วยโปรแกรม นำค่าพิกัดที่ได้มาใส่ลงในชุดควบคุมการปรับพื้นที่ด้วยระบบ GPS เพื่อทำการออกแบบทิศทางพื้นที่ ที่ต้องการปรับ และทำการปรับพื้นที่ตามลักษณะที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการทดสอบการใช้เทคโนโลยีสำรวจพื้นที่ด้วยระบบโดรน และการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบ GPS เพื่อประเมินความถูกต้อง ให้เกิดความมั่นใจในการนำไปใช้งานจริง อีกทั้งทดสอบระบบ GPS สำหรับชุดต่อพ่วงปรับพื้นที่เพื่อนำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบผลระหว่างก่อน และหลังการทดสอบด้วยระบบ GPS และแสดงผลทดสอบได้อย่างชัดเจน

​อีกทั้ง เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ได้มีการจัดผึกอบรม แปลงสาธิต ณ บริษัท น้ำตาลไทยอุดรธานี จำกัด อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ในการใช้เทคโนโลยีการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อย โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร

หลักสูตรที่ 1 การปรับระดับพื้นที่แปลงอ้อยด้วยระยย GPS และความรู้พื้นฐานการใช้รถแทรกเตอร์อย่างปลอดภัย

หลักสูตรที่ 2 การใช้ซอฟต์แวร์ สำหรับระบบสำรวจพื้นที่เพราะปลูกด้วยโดรน และการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบ GPS แบ่งเป็นภาพรวมของโปรแกรมแผนที่ดินสำหรับปรับพื้นที่ อุปกรณ์ (Hardware) ฟังก์ชั่นหลัก การสร้างขอบเขตแปลง การดูแผนที่แบบ 2 มิติ และ 3 มิติ และการอ่านผลการบันทึกการสำรวจ รวมทั้งการเปรียบเทียบผลการปรับพื้นที่ พร้อมทั้งมีการสาธิตการใช้งานเบื้องต้นของชุดปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบ GPS และการสาธิตการใช้งานซอฟต์แวร์

สำหรับระบบสำรวจพื้นที่เพาะปลูกด้วยโดรนและชุดการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบ GPS การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆโดยการสาธิต เน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรม เรียนรู้ เข้าใจ และปฏิบัติ สามารถวิเคราะห์และใช้ข้อมูลในการปรับปรุงการเพาะปลูกอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ โดยได้ดำเนิน "โครงการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยเทคโนโลยี Land Leveling ด้วยระบบ GPS " ในปีงบประมาณ 2567 ครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยทุกภูมิภาค ทั่วประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและรายได้ของเกษตรกร รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยในระดับสากล จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทยที่พร้อมขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน



นายจารุ คงจันทร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 2










กำลังโหลดความคิดเห็น