xs
xsm
sm
md
lg

“ประกันสังคม” เตรียมขยายความคุ้มครองผู้ประกันตน ม.33 ให้ครอบคลุมลูกจ้างอีก 3 กลุ่มอาชีพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานประกันสังคมเตรียมเพิ่ม 3 อาชีพเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

วันนี้ (6 ก.พ.) “สำนักงานประกันสังคม” เตรียมขยายความคุ้มครองผู้ประกันตน ม.33 ให้ครอบคลุมลูกจ้าง 3 กลุ่ม ได้แก่

1. ลูกจ้างในกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์

2. ลูกจ้างในครัวเรือน เช่น แม่บ้าน พ่อบ้าน คนรับใช้ส่วนตัว

3. ลูกจ้างในกิจการค้าแผงลอย

ทั้งนี้ ลูกจ้างที่อยู่ในกลุ่มอาชีพดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากประกันสังคม เช่น เงินค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินบำนาญชราภาพ เงินว่างงาน เงินทดแทนทุพพลภาพ และเงินกรณีตาย ด้านนายจ้างจะลดความกังวลในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

ทั้งนี้ ทางเพจได้ระบุข้อความว่า

“ประกันสังคมเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตน ม.33 ครอบคลุมเพิ่มอีก 3 กลุ่มอาชีพ

สำนักงานประกันสังคมเปิดรับฟังความคิดเห็น “การขยายความคุ้มครองให้แก่นายจ้างและลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม” ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการหรือลูกจ้างอื่นที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม พ.ศ. 2560 กำหนดลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม เพื่อสร้างหลักประกันทางสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า "การเปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เกี่ยวกับการขยายความคุ้มครองให้กับ 3 กลุ่มอาชีพได้เข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 ได้แก่

1) กลุ่มลูกจ้างในกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์

2) กลุ่มลูกจ้างในครัวเรือนในฐานะที่เป็นนายจ้างส่วนบุคคล เช่น แม่บ้าน ผู้ประกอบอาหาร คนรับใช้ส่วนตัวหัวหน้าผู้รับใช้ คนซักรีด คนสวน คนเฝ้าประตู ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยง คนขับรถ คนเฝ้าบ้าน

3) กลุ่มลูกจ้างในกิจการค้าแผงลอยที่มีที่ตั้ง มีเลขที่แผงชัดเจน และมีการทำสัญญาเช่า เช่น สัญญาเช่าแผงกับตลาด สัญญาเช่าแผงกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

ทั้งนี้ ลูกจ้างทั้ง 3 กลุ่มอาชีพที่ได้รับขยายความคุ้มครองจะสามารถเข้าถึงสิทธิประกันสังคม เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการได้รับการรักษาหากเจ็บป่วย รวมถึงมีสิทธิได้รับเงินชดเชยกรณีต่างๆ เช่น เงินค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินบำนาญชราภาพ เงินว่างงาน เงินทดแทนทุพพลภาพ และเงินกรณีตาย เป็นต้น ด้านนายจ้างนอกจากจะลดความกังวลในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยแล้ว ยังเป็นการสะท้อนถึงการดูแล และความรับผิดชอบของนายจ้างต่อลูกจ้างอีกด้วย"


กำลังโหลดความคิดเห็น