ภาพรวมคุณภาพอากาศฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่มีแนวโน้มลดลง เขตหนองจอกวิกฤติสุด 93.6 มคก./ลบ.ม.
วันที่ 25 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 73.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) แต่มีแนวโน้มลดลง
10 อันดับ ของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1. เขตหนองจอก 93.6 มคก./ลบ.ม.
2. เขตมีนบุรี 91.8 มคก./ลบ.ม.
3. เขตคันนายาว 91.5 มคก./ลบ.ม.
4. เขตบางนา 89.9 มคก./ลบ.ม.
5. เขตคลองสามวา 89.7 มคก./ลบ.ม.
6. เขตหนองแขม 87.6 มคก./ลบ.ม.
7. เขตบึงกุ่ม 87.6 มคก./ลบ.ม.
8. เขตสะพานสูง 83.7 มคก./ลบ.ม.
9. เขตลาดกระบัง 83.7 มคก./ลบ.ม.
10. เขตวังทองหลาง 81.5 มคก./ลบ.ม.
** กรุงเทพเหนือ 66.4 - 80.3 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
** กรุงเทพตะวันออก 67.5 - 93.6 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
** กรุงเทพกลาง 61.1 - 81.5 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
** กรุงเทพใต้ 59 - 89.9 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
** กรุงธนเหนือ 67 - 77.9 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
** กรุงธนใต้ 62.1 - 87.6 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทุกคน
▪️งดกิจกรรมกลางแจ้ง
▪️หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5
▪️หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
▪️ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
▪️ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
▪️ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ตั้งแต่เวลา 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาหลายพื้นที่ โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่งบริเวณยอดดอย ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 26-28 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3–5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 2–4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2–3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้: การระบายของอากาศไม่ดีและลมอ่อน ทำให้การสะสมของฝุ่นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมากถึงมาก