xs
xsm
sm
md
lg

บนหนทางแห่งการสรรค์สร้าง ‘ภูมิบ้าน-ภูมิเมือง-ภูมิสังคม’ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน : ดร. สมนึก จงมีวศิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
เขากล่าวว่า…“ดังนั้น ต้องรีบ ช้าไม่ได้ หลายพื้นที่ก็เริ่มตื่นตัว เพราะหากช้า อาจจะต้องเจอกับการเติบโตของเมืองที่ไร้ทิศทาง…”

“…ผมได้เห็นชุมชนที่ต้องสลายหายไปเยอะมาก จากการพัฒนาแบบนี้…
นี่คือสิ่งสำคัญและจำเป็น ที่ประเทศไทยจะต้องหันกลับมาดู
ต้องทบทวนเรื่องกระแสการพัฒนาหลักว่า เราพัฒนาผิดทิศผิดทางหรือเปล่า ถ้าผิดทิศผิดทางเราก็ต้องรีบ U-turn …”

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
“…หลักง่ายๆ ครับ ‘ภูมิ’ คำนี้ก็หมายถึง แผ่นดิน ที่ดิน พื้น ความรู้ ความสง่างาม โอ่โถง ผึ่งผาย ทั้งหลาย เมื่อมารวมกับคำว่า ‘บ้าน’ ‘เมือง’ ‘สังคม’ มันก็กลายเป็นความหมายใหม่ นั่นคือ กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมพื้นที่หนึ่ง ซึ่งถ้าเรียกตามที่ผมจบมา เรียกว่า ‘บริหารจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม’ คำนี้มันไม่ได้มีแค่ตัวบ้าน แต่ยังมีสิ่งที่จับต้องไม่ได้ด้วย มันยังมีผู้คน มันยังมี ประชาชน ซึ่งเรื่อง ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ถ้าจะทำให้ดีตามหลักที่เขาทำกัน คือต้องเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน คือเจ้าของบ้าน เช่น บ้านของเรา เราก็มีบ้านเก่า เราเป็นเจ้าของบ้านเก่า เป็นเจ้าของเมือง เป็นเจ้าของสังคมในเวลาเดียวกันด้วย”

“การพัฒนาก็จะเป็นแบบล่างขึ้นบน แต่วันดีคือดี เราไม่มีเงิน ในการที่จะซ่อมแซมบ้านเรา แล้วบางที ราชการ ส่วนกลาง หรือ ส่วนท้องถิ่นเอง มองไม่เห็น ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ตรงนี้ เขาก็อยากจะเอาถนนไปลงตัดผ่านแล้วก็เวนคืนเพื่อทำให้เมืองมันใหญ่ขึ้น”

“เมื่อเป็นอย่างนี้ เจ้าของบ้าน ก็ไม่ได้ตัดสินใจอะไร มันก็กลายเป็นว่าการพัฒนาเป็นแบบรวมศูนย์ คือพัฒนาจากบนลงล่าง…สิ่งที่เกิดขึ้นคือความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างรุนแรง เปลี่ยนแปลงเร็วมาก จนตั้งหลักตั้งตัวไม่ทัน บ้านฉันหายไปเลย มันก็ทำให้เราอยู่กันไม่ได้ การเปลี่ยนผ่านแบบนี้เกิดขึ้นเยอะมากในประเทศไทย”


ภาพจากบทเรียนการพัฒนา ผ่านแนวนโยบายและกฎหมาย เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย กรณีการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560-2567 โดย สมนึก จงมีวศิน, พรพนา ก๊วยเจริญ
เป็นเช่นนั้น…ในหลายพื้นที่ของประเทศ ในทุกภูมิภาค ที่อาจไม่ได้มีข่าวคราวปรากฏบนหน้าสื่อ แต่เป็นที่รับรู้กันในวงผู้ที่ศึกษาประเด็นเหล่านี้ ว่ามีสถานการณ์อันน่าเป็นห่วง จากการพัฒนาที่ไร้ทิศทาง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานวิจัยหลากหลายชิ้นของ ดร. สมนึก จงมีวศิน และกระบวนการทำงานศึกษาข้อมูลเชิงลึก ผ่านเนื้องานในหลากหลายบทบาทที่ล้วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงในประเด็นสิ่งแวดล้อม อาทิ

เป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย (Research Director), EEC Watch พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน
นักวิชาการอิสระ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ภาคตะวันออก พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน
รองประธานคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดชลบุรี, ตุลาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

อนุกรรมาธิการประจำคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาท่าเรือของประเทศไทย ใน คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26, ตุลาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

อนุกรรมาธิการและเลขานุการประจำคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและจัดทำมาตรการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา กรณีน้ำมันรั่วไหลทางทะเล และมลพิษอื่นๆ จากภาคอุตสาหกรรม ใน คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26, กันยายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์ การขออนุญาตเพื่อจัดทำบริการสาธารณะในเขตพื้นที่ป่าและนิคมสร้างตนเองของหน่วยงาน ของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26, มิถุนายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

กรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัดชลบุรี, สำนักงานจังหวัดชลบุรี, มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

ประธานคณะอนุกรรมการประเด็นสิ่งแวดล้อมและอุบัติภัย, คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6, ธันวาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26, ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
บทบาทของเขายังมีอีกมาก เหล่าเป็นนี้เพียงส่วนหนึ่งและประเด็นสนทนา ที่พูดคุยกับเขา ก็เป็นเพียงประเด็นหนึ่ง ในท่ามกลางยอดของภูเขาน้ำแข็ง ที่โผล่พ้นผิวยะเยือกปรากฏให้เห็น

‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ที่ ดร. สมนึก ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ‘ผู้จัดการออนไลน์’ คือหนึ่งในหนทางแห่งความอยู่รอดของบ้าน ชุมชน และมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย ที่สามารถจะสังเคราะห์ นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันบ้านและชุมชนให้อยู่รอดปลอดภัย และมีพลังบทบาทนำ ในการร่วมกำหนดทิศทางของเมืองให้เป็นไปโดยที่คนในชุมชนร่วมกำหนด อยู่ร่วมกับการพัฒนาได้อย่างสมดุล 
แม้หนทางอาจยาวไกลและยังประกอบด้วยหลากหลายบริบท


ทว่า เมื่อมองเห็น 'ทาง' แล้ว การเริ่มต้นก้าวเดิน จึงย่อมได้ชื่อว่าหมุดหมายและหลักไมล์นั้นถูกปักไว้แล้ว ไม่ช้านานย่อมเดินไปถึงได้ในสักวัน

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
มองโบราณสถานและการอนุรักษ์กระแสหลักตามนิยามความหมาย พ.ร.บ.โบราณสถานฯ

อดถามไม่ได้ว่า ในมุมของการพัฒนาเมืองหลายแห่งที่อาจจะไร้ทิศทาง การหยิบยกประเด็นความเป็นโบราณสถาน หรือ ความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาขับเคลื่อน พอจะช่วยผ่อนเบาหรือชะลอการพัฒนาที่ขาดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ได้มากน้อยแค่ไหน

อาทิ การหยิบยก พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2535 มาดู จะช่วยได้บ้างหรือไม่ อย่างไร
ดร.สมนึกกล่าวว่า ต้องเล่าย้อนกลับไปอดีตว่าเรามี พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
“ก็เป็นพวกคณะปฏิวัติในยุคนั้นเขาทำกัน ตอนนั้นเท่าที่ผมจำได้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการก็เป็นจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นนายกฯ สมัยนั้น
ต่อมาก็มีการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ อีกครั้งนึง ในปี พ.ศ.2535"

"จนกระทั่งปัจจุบัน พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2535 มีทั้งหมด 40 มาตรา
แต่ว่า อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติฯ ตัวนี้ ก็มีการปรับปรุงมาทุกยุคทุกสมัย
แต่ว่ายังไม่เคยคลอดออกมาภายหลังปี พ.ศ.2535 เลย"

"ณ ปัจจุบัน เราก็ใช้ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ และทุกๆ อย่างที่เกี่ยวข้อง ที่กล่าวมา
เป็นฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี 2535 ครับ”

เมื่อสอบถามลงลึกไปถึงการให้นิยาม การตีความ การให้ความหมายกับโบราณสถาน ว่าต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ใด บ้านของเรา บ้านของประชาชนทั่วไป ที่หากอยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาที่ไม่เป็นธรรม ประชาชนจะผลักดันขับเคลื่อนให้บ้านตนเองเป็นโบราณสถานได้อย่างไร

ดร.สมนึกอธิบายว่า ในสมัยก่อน เขาจะดูคุณค่ากันอยู่แค่ไม่กี่เรื่อง แล้วก็พูดถึงโบราณสถาน โบราณวัตถุ ในความหมายตามราชบัณฑิตยสถาน เขาก็จะดูกันอยู่ไม่กี่เรื่อง เขากำหนดอายุที่ 100 ปีขึ้นไป ก็ดูอายุโบราณสถานต่างๆ แม้กระทั่งบ้านพื้นถิ่น ถ้าหากอายุไม่ถึง 100 ปี ก็ไปจดทะเบียนไม่ได้ เป็นต้น มันก็มีหลายเรื่อง บางเรื่องก็อาจมีข้อยกเว้นให้ได้ แต่ก็ไม่เข้าข่ายเป็นโบราณสถาน

ดร.สมนึกกล่าวว่า ทั้งนี้ การเข้าข่ายเป็นโบราณสถาน ก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี ก็คือเกิดการอนุรักษ์ขึ้นมา ไม่ว่า บ้านเก่า วัดเก่า วังเก่า ทั้งหลาย
‘วัด วัง บ้าน’ ทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะได้มีงบประมาณดูแล มีงบประมาณในการสนับสนุน ซึ่งคนดูแลก็คือกรมศิลปากร อยู่ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน

ในข้อกฎหมายก็กลายเป็นว่า กรมศิลปากรเข้ามาดูแล ซึ่งก็จะมีหลักการของ กรมศิลปากรเต็มไปหมด เช่น ตัวอย่างมรดกโลก เมื่อก่อนที่เราเอาโบราณสถาน ไปขอเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เช่น บ้านเชียง ที่ จ.อุดรธาณี, อยุธยา, สุโขทัยและกำแพงเพชร เป็น สามเขตรวมกัน เขาก็ประกาศเป็นมรดกโลก

เมื่อประกาศเป็นมรดกโลก บ้านเรือนต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ ก็ต้องมีการไปเวนคืนที่บ้าง ก็เรียกว่าเดือดร้อนประชาชน ที่ต้องไปย้ายกันออกมา เรียกว่า มีการไล่รื้อ ถ้าหากไม่ยอมย้าย หรือมีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาแต่ว่ามันก็ไม่ได้คุ้มตามหลักสากล แล้วการบริหารงานต่างๆ ก็ไม่ได้ตกอยู่ในมือท้องถิ่น หลักๆ เป็นกรมศิลปากร อำนาจไม่ได้อยู่ที่ท้องถิ่น

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
โบราณสถานเชียงแสน : กรณีน่าสนใจว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ฯ

ดร.สมนึก ยกตัวอย่างประเด็นนี้ว่า 
"มีตัวอย่างหนึ่งที่ผมศึกษามา คืองานวิจัยชิ้นหนึ่งว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ โบราณสถานตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย
ซึ่งที่เชียงแสน มีโบราณสถานที่สวยงามมาก งานวิจัยนี้เขาก็มองเรื่องการบังคับใช้กฎหมายแล้วก็หาข้อเสนอ"

“ปรากฏว่า ตอนที่ทำวิจัย เขาก็พบว่า อำนาจในการบริหารจัดการพื้นที่เชียงแสน ยังเป็นของกรมศิลปากร แล้วก็ไม่ได้ให้อำนาจโดยตรงแก่เทศบาลที่ดูแล
ซึ่งปัจจุบันนี้ เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เป็นผู้ดูแลแล้วนะครับ"

"คือเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนนี้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งตามหลักการกระจายอำนาจ พัฒนาจากล่างขึ้นบน เขาควรจะมีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ แต่ว่าก็ไม่ได้รับอำนาจนั้น แม้จะสามารถทำเรื่องขอ
กรมศิลปากรได้ แต่ก็ต้องขอเป็นครั้งๆ ไป ทำให้เกิดความล่าช้า ในการดำเนินโครงการ และสูญเสียรายได้ในการบริหารพื้นที่ได้
พูดง่ายๆ คือ เมื่อเทศบาลฯ ติดปัญหา เรื่องข้อกฎหมาย บริหารจัดการได้ไม่เต็มที่ และที่สำคัญคือเรื่องการบูรณะโบราณสถาน เขาก็ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็มีการเสนอแนวทางแก้ไขข้อปฏิบัติของราชการ ซึ่งอันนี้ มันเป็นเพียงแค่ตัวอย่างหนึ่ง”


Co-management เมื่อท้องถิ่นขอหาจุดร่วมกับกรมศิลป์ฯ

ดร.สมนึกกล่าวว่า ทางเชียงแสนเขาเสนอว่าควรจะมี Co-management แนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างท้องถิ่น กับกรมศิลปากร ในการดำเนินงานในพื้นที่โบราณสถานเชียงแสน ควรตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างหน่วยงาน เพื่อความโปร่งใส ชัดเจน และถูกต้องตามหลักแนวทางของกรมศิลปากร

https://www.finearts.go.th/





https://www.finearts.go.th/

https://www.finearts.go.th/

https://www.finearts.go.th/

https://www.finearts.go.th/


“แน่นอนว่า กรมศิลปากร เขาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการอนุรักษ์อยู่แล้ว เพียงแต่ว่า บางทีมันไม่ทันไงครับ หากโบราณสถานเสียหายขึ้นมา เนื่องจากกรมศิลปากร ดูแลทั่งประเทศ"

"เช่น สมมติว่า เชียงแสนเสียหาย ก็ควรจะตั้งให้ท้องถิ่นสามารถรู้หลักเกณฑ์ในการอนุรักษ์ จนถึงสามารถจ้างผู้ชำนาญการ มาดูแลอนุรักษ์ได้ เช่น หากจะดึงต้นไม้ต้นเล็กๆ ที่ติดอยู่ในศิลาแลง เป็นต้น ซึ่งตรงนี้เป็นหลักปฏิบัติยาก จึงมีข้อเสนอว่า ควรมีคณะทำงานร่วม แบบนี้”

“และที่สำคัญ กรมศิลปากรควรจะต้องมีคู่มือ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่เห็น
นั่นคือ ‘คู่มือเบื้องต้นในการดูแลโบราณสถาน’ ‘คู่มือเกี่ยวกับ กฎหมาย กฎระเบียบในการปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน รวมทั้ง ขั้นตอน แนวทาง การดำเนินงานทางกฎหมาย’
เพื่อมอบให้กับเทศบาลนี้ เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เพื่อใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน
ซึ่งตรงนี้ ผมจะบอกว่ามันไม่ใช่แค่คู่มือที่เป็นของส่วนกลางอย่างเดียว มันเป็นคู่มือ เฉพาะพื้นที่ด้วย เพราะแน่นอน มันไม่มีโบราณสถานใดเหมือนกันล้วน ไม่มีชุมชนใดเหมือนกันล้วน ย่อมมีข้อแตกต่างตามบริบทของพื้นที่นะครับ”

อย่างเช่น กรณี เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน มีสถาบันการศึกษาที่อยู่ใกล้สุด คือมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ก็ควรจะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาร่วมบริการแก่ท้องถิ่น ซึ่งควรจะผสานกับกรมศิลปากร เรื่องการส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ

ในกรณีที่เทศบาลไม่มีงบจ้าง มหาวิทยาลัยมาช่วยได้ไหม ด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่เทศบาล ซึ่งปัญหาแบบนี้ พบในหลายพื้นที่ในหลายร้อยแห่ง

อ.สมนึกกล่าวว่า เราต้องย้อนกลับไปจุดที่ว่า เมื่อเราไปตีความโบราณสถาน ก็กลายเป็นว่า เราต้องอนุรักษ์พื้นที่ที่เป็นเมืองโบราณ เมืองเก่า

“อ้าว! แล้วเมืองปัจจุบัน ย่านปัจจุบันล่ะ เช่น บางลำพู วังบูรพา อะไรแบบนี้ หรือ หลายๆ พื้นที่ ที่มีบ้านพื้นถิ่นอยู่ แต่ไม่มีใครเข้าไปเห็นมัน เช่น ใน จ.ชลบุรี ที่ผมอยู่ก็มีอยู่เยอะแยะเลย อย่าง อ.บ่อทอง, เกาะจันทร์ หรือ แม้แต่ในตัวอำเภอเมืองชลบุรีเอง บ้านแบบนี้เมื่อไม่ได้เป็นโบราณสถานก็เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ แทนที่จะอนุรักษ์ ก็ไปพัฒนา มีรื้อทิ้ง เพราะไม่ได้จดทะเบียน”
ประเด็นนี้ก็เป็นปัญหา ซึ่งมันก็จะไปสู่ คำๆ หนึ่งที่ผมศึกษามานานแล้ว และเป็นสิ่งที่ผมจบปริญญาเอกด้านนี้ด้วย
คือสิ่งที่เป็น ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม"

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’

ดร.สมนึกอธิบายความหมาย ‘ ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ว่า คือจะทำยังไง ให้เรื่องความหลากหลายในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงชีวภาพ วิถีชีวิต มีมนุษย์ มีสัตว์ มีสิ่งแวดล้อม มีสิ่งปลูกสร้าง โดยมนุษน์ รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ หรือ Incredible Heritage

“คือ ‘มรดกที่จับต้องไม่ได้’ ก็คือ ‘มรดกทางวัฒนธรรม’ นั่นแหละ วัฒนธรรมต่างๆ ไม่ว่าตลาด ตัวตึกรามบ้านช่องเก่าๆ เมื่อมันไม่มีหน่วยงานท้องถิ่น หรือ กฎหมายที่จะมาช่วยในการทำการอนุรักษ์ เช่น บ้านหลังนี้ อายุ 70 กว่าปีแล้ว มันต้องมีการซ่อมแซม บูรณะ แล้วเค้าจะเอาเงินที่ไหนมา เพราะเค้าเป็นประชาชนธรรมดา สุดท้าย ก็รื้อ เมื่อเค้ารื้อ สิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมนี้ ก็จะค่อยๆ หายไป ๆ ซึ่งมันแตกต่างจากในหลายๆ ประเทศที่ผมได้ไปเห็นมา ไม่ว่ายุโรป อเมริกา หรือประเทศข้างเคียงบ้านเราที่เขาเข้าใจเรื่องนี้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น”

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
อดถามไม่ได้ว่า ทำอย่างไร ประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะทำ ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ เพื่อให้มีศักยภาพพอที่จะสามารถผลักดันและขับเคลื่อน กำหนดทิศทางการเติบโตของเมืองในแบบที่ยั่งยืน จากคนในพื้นที่เอง มิใช่การเติบโตอย่างไร้ทิศทางผ่านโครงการ Mega project ต่างๆ


ดร.สมนึกตอบว่า “หลักง่ายๆ ครับ ถ้า ผมพูดถึงเรื่อง ‘ภูมิ’ คำนี้ก็หมายถึง แผ่นดิน ที่ดิน พื้น ความรู้ ความสง่างาม โอ่โถง ผึ่งผาย ทั้งหลาย เมื่อมารวมกับคำว่า บ้าน เมือง สังคม มันก็กลายเป็นความหมายใหม่ นั่นคือ กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมพื้นที่หนึ่ง ซึ่งถ้าเรียกตามที่ผมจบมา เรียกว่า ‘บริหารจัดการ มรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม’

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch  นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

https://www.aussiemob.com/unesco-world-heritage-sites

https://www.aussiemob.com/unesco-world-heritage-sites

IG : bhavnagarheritage
‘บริหารจัดการ มรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม’

ดร.สมนึก กล่าวว่า "คำนี้มันไม่ได้มีแค่ตัวบ้าน แต่ยังมีสิ่งที่จับต้องไม่ได้ด้วย มันยังมีผู้คน มันยังมี ประชาชน ซึ่งเรื่อง ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ถ้าจะทำให้ดีตามหลักที่เขาทำกัน คือต้องเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน คือเจ้าของบ้าน เช่น บ้านของเรา
เราก็มีบ้านเก่า เราเป็นเจ้าของบ้านเก่า เป็นเจ้าของเมือง เป็นเจ้าของสังคมในเวลาเดียวกันด้วย"

"การพัฒนาก็จะเป็นแบบล่างขึ้นบน แต่วันดีคือดี เราไม่มีเงิน ในการที่จะซ่อมแซมบ้านเรา แล้วบางที ราชการ ส่วนกลาง หรือ ส่วนท้องถิ่นเอง มองไม่เห็น ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ตรงนี้ เขาก็อยากจะเอาถนนไปลงตัดผ่านแล้วก็เวนคืนเพื่อทำให้เมืองมันใหญ่ขึ้น"

เมื่อเป็นอย่างนี้ เจ้าของบ้าน ก็ไม่ได้ตัดสินใจอะไร มันก็กลายเป็นว่าการพัฒนาเป็นแบบรวมศูนย์ คือพัฒนาจากบนลงล่าง
การพัฒนาแบบนี้ ส่งผลให้ ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เปลี่ยนอย่างไร

อันดับแรก เสียที่อยู่ กระทบเศรษฐกิจในกระเป๋าตังค์เรา ถ้าโดนตลาดด้วย ก็กระทบเศรษฐกิจชุมชน
กระทบหมด ต่างคนต่างแยกย้าย พอตัดถนน สังคมหาย พอมีถนนให้อยู่ มาอยู่ชิดติดกับชุมชน ก็เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านมลภาวะทางเสียง ฝุ่น อุบัติเหตุ อุบัติภัย ต่างๆ

เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างรุนแรง วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จนตั้งหลักตั้งตัวไม่ทัน บ้านฉันหายไปเลย มันก็ทำให้เราอยู่กันไม่ได้ การเปลี่ยนผ่านแบบนี้เกิดขึ้นเยอะมากในประเทศไทย

การเปลี่ยนผ่านแบบนี้เขาเรียกว่า การเปลี่ยนผ่านจากสังคมชนบท ไปสู่สังคมเมืองชนบท แล้วก็เปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมเมืองสมัยใหม่ เช่น ต่อไป ก็จะมีรถไฟฟ้าผ่านทุกจังหวัด
มีถนนตัดผ่าน มอร์เตอร์เวย์ ถนนใหญ่ๆ

สุดท้ายแล้ว เมืองต่างๆ ก็เหมือนกัน แล้วอะไรล่ะ ที่จะเป็น ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ที่น่าสนใจ ให้เกิดการท่องเที่ยว เกิดการรักษ์พื้นถิ่น รู้จักการอนุรักษ์พื้นที่ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มี ชุมชนก็หายไป
ผมได้เห็นชุมชนที่ต้องสลายหายไปเยอะมาก จากการพัฒนาแบบนี้

นี่คือสิ่งสำคัญและจำเป็น ที่ประเทศไทยจะต้องหันกลับมาดู
ต้องทบทวนเรื่องกระแสการพัฒนาหลักว่า เราพัฒนาผิดทิศผิดทางหรือเปล่า ถ้า ผิดทิศผิดทางเราก็ต้อง U-turn ต้องรีบ U-turn ด้วย เพราะการทำให้เป็นเมือง มันมีหลายแบบ

ภาพจากบทเรียนการพัฒนา ผ่านแนวนโยบายและกฎหมาย เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย กรณีการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560-2567 โดย สมนึก จงมีวศิน, พรพนา ก๊วยเจริญ : บทที่ 4 ชีวิตที่กำลังเลือนหายของชาวประมงในพื้นที่อีอีซี

ภาพจากบทเรียนการพัฒนา ผ่านแนวนโยบายและกฎหมาย เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย กรณีการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560-2567 โดย สมนึก จงมีวศิน, พรพนา ก๊วยเจริญ : บทที่ 4 ชีวิตที่กำลังเลือนหายของชาวประมงในพื้นที่อีอีซี

 ภาพจากบทเรียนการพัฒนา ผ่านแนวนโยบายและกฎหมาย เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย กรณีการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560-2567 โดย สมนึก จงมีวศิน, พรพนา ก๊วยเจริญ : บทที่ 4 ชีวิตที่กำลังเลือนหายของชาวประมงในพื้นที่อีอีซี

บทเรียนการพัฒนา ผ่านแนวนโยบายและกฎหมาย เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย กรณีการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560-2567 โดย สมนึก จงมีวศิน, พรพนา ก๊วยเจริญ : บทที่ 4 ชีวิตที่กำลังเลือนหายของชาวประมงในพื้นที่อีอีซี


ดร.สมนึกกล่าวว่า “ผมยกตัวอย่างจังหวัดทางภาคตะวันออก จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเมือง จากชนบทไปสู่อุตสาหกรรมอย่างรุนแรงมาก เช่น ตอนนี้เป็น EEC (Eastern Economic Corridor : โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ) ก็มีฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตอนนี้ พื้นที่แทบจะทั้งหมดที่เป็นชนบท มันได้กลายเป็นชุมชนเมืองทั้งหมดแล้ว อุตสาหกรรมก็บุกเข้าไปในพื้นที่ชนบทด้วย”

“มันไม่มีพื้นที่กันชน ไม่มีการกระจายเศรษฐกิจที่เหมาะสม มันก็จะดึงให้เมืองนั้น หรือจังหวัดนั้น อำเภอนั้น กลายเป็นเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม

มันไม่ได้เป็นเศรษฐกิจที่หลากหลายแล้ว ถ้ามีท่องเที่ยว ก็จะกลายเป็นการท่องเที่ยวแบบอุตสาหกรรมอีก
ที่ดินก็ราคาแพง สังคมเมืองอย่างพัทยา เดิมเคยมีนา มีเมืองเก่า ก็หายไป มีทุนใหญ่ๆ เข้าไปซื้อพื้นที่ ความหลากหลายเก่าๆ ต่างๆ ที่เราพูดถึงก็หายไปหมด นี่คือปัญหาใหญ่

ถ้าถามว่า อ้าว! แล้วบ้านเรา ไม่มีการวางผัง ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ตอบว่า มีครับ คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่องก่อนเขาอยู่แยกกัน เป็นกรมโยธา กรมผังเมือง
ผังเมืองมีประโยชน์อย่างไร คือ ออกแบบเมืองว่าในอนาคต เมืองจะต้องเจริญเติบโตไปทางไหนดี ถ้าอยากให้ชนบท ค่อยๆ เติบโต มันก็ไม่ใช่แบบทันทีทันใด”

ดร.สมนึกกล่าวว่า ด้องดูกระบวนการการเป็นเมือง Urbanization คือมีการอพยพของ ประชากรจากรอบพื้นที่ เข้ามาอยู่ในเมือง เช่น สมัยก่อน คนต่างจังหวัดก็อพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ นี่ก็คือกระบวนการการเป็นเมือง
เมื่อมีการขยายของตัวเมือง ที่ดินมีราคาแพงมาก
เศรษฐกิจชนบทก็เปลี่ยนไป กลายเป็นเศรษฐกิจเมือง
มีการกระจุกตัวของประชาชนหนาแน่นในเขตเมือง
การกระจุกตัวของหนาแน่นของประชาชน

ดร.สมนึกมองว่า ย่านปริมณฑล เช่น นนทบุรี ก็กลายเป็นเมือง มีการกระจุกตัวของประชาชนหนาแน่น ตามแนวทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นต้น เกิดความเปลี่ยนแปลงของประชากรในระดับกายภาพ นั่นคือ หากเราลงจากรถไฟฟ้า จะไปซื้อของในตลาด ก็ไม่มีตลาดแล้ว สิ่งที่พบคือมีคอนโด มีร้านสะดวกซื้อ สถานีรถไฟฟ้าเองก็มีขายของ ดังนั้นเศรษฐกิจก็ไม่กระจายลงไปสู่เศรษฐกิจฐานราก

“กระบวนการการผลิตของสังคมที่เขาเคย ‘เป็น-อยู่’ ของย่าน มันก็เปลี่ยนแปลงไป สภาพเศรษฐกิจก็เปลี่ยนแปลงไป สุดท้าย คนเหล่านี้อยู่ได้ไหม ก็อยู่ไม่ได้ เพราะที่ก็แพง ทำมาหากินไม่ได้ ก็ต้องขาย แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นที่ดินของทุนใหญ่เข้าไปอยู่กัน

นี่คือสภาพการเป็นเมืองของประเทศไทย มันเป็นแบบนี้”


พลังในการขับเคลื่อนของภาคประชาชน

ถามว่า แล้วทุกวันนี้ มีประชาชนขับเคลื่อนเรื่อง ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ มากน้อยเพียงใด
อ.สมนึกตอบว่า “จริงๆ มีคนขับเคลื่อนเรื่องนี้กันมานาน พูดง่ายๆ ก็ตั้งแต่เรามี รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ก็มีเรื่องการกระจายอำนาจ มีเรื่องของจังหวัดจัดการตนเอง ถ้าตอนนั้นไม่มีรัฐประหาร ก็จะมีเรื่องการดูแลตรงนี้ แต่ตอนนั้นมีรัฐประหารปี พ.ศ.2549 แต่ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ก็ยังห้อยไว้เป็นติ่งๆ อยู่ เรื่องจัดการตนเอง แต่มันก็ไม่มาก มันไม่เกิด พ.ร.บ. ขึ้นมา เหมือนที่ผมเล่าเรื่องเชียงแสนให้ฟัง คือเทศบาล ยังไปจัดการมรดกของท้องถิ่นตัวเองไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร”

เมื่อรัฐธรรมนูญ กำลังจะไปได้ดี ก็มีรัฐประหารอีก ในปี พ.ศ.2557 ก็มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่พอรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กลับมาเป็นรวบอำนาจ ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของรัฐ เป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ มียุทธศาสตร์ชาติมากดทับอีก เพราะฉะนั้น กระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาจากล่างขึ้นบนจึงไม่มี ไม่ได้เกิดขึ้น นี่เป็นปัญหาใหญ่มาก
ในขณะที่ กฎหมายไม่ได้เข้าข้างเรา

“แต่การขยายตัวของเมืองมันไปแล้ว เป็นการพัฒนาที่ มี 2 แบบเหมือนกันทั้งโลก
คือ 1.การขยายเมือง Urban Development มันคือการพัฒนาพื้นที่เมือง ออกไปในแนวราบ เช่น จากกรุงเทพฯ ไปนนบุรี ไปสมุทรปราการ ก็คือ ขยายพื้นที่ชานเมืองออกไปโดยรอบ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ สำหรับประชากรเมืองที่ย้ายเข้ามาใหม่ ผสมกลมกลืนกันไปหมด
ความเป็นเมืองแบบนี้ก็มีปัญหา ทุกคนก็ต้องซื้อรถ เพราะทุกคนทำงานกรุงเทพฯ แต่บ้านอยู่นนบุรี อยู่สมุทรปราการ การขยายเมือง แนวราบแบบนี้ ก็ไม่เวิร์ค”

 https://stablediffusionweb.com/

https://www.researchgate.net/
“2. มีการฟื้นฟูเมือง คือการพัฒนาพื้นที่เมืองที่มันมีอยู่แล้ว เค้าเรียกว่าอาจจะมีความหนาแน่น แต่ก็ยังเพิ่มความหนาแน่นของประชากรเข้าไปอีก เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ของพื้นที่ได้เต็มศักยภาพกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต เพื่อรองรับประชากรและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น เหล่านี้ก็เกิดเป็นบ้านแนวตั้ง คือ คอนโดฯ เพิ่มสถานีรถไฟฟ้า เพิ่มพื้นที่รถไฟฟ้า ทำให้พื้นที่มันมีระยะสั้นลง เหล่านี้มีคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า Compact City ผมแปลเองว่า ‘เมืองอัดแน่น’

เมืองอัดแน่นก็คือ ทำให้เมืองไม่กระจายในแนวราบมากเกินไป บริเวณไหนในกรุงเทพฯ ที่มีการขยายตัว ปรับให้สั้นลง หรือที่ทำงานกับบ้านอยู่ไม่ไกลกัน เดินไปได้ไหม แต่เมืองไทยร้อน เดินไม่ไหว ปั่นจักรยานก็ไม่ไหว ก็ทำให้มันอัดแน่น
ทั้ง 2 แนวทางเหล่านี้ก็เป็นแนวทางที่สากลใช้กันอยู่ครับ”

เมืองของเรา-บ้านของเรา

ถามว่า หากประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ต้องการจัดทำ ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ควรจะเริ่มต้นอย่างไร
ดร.สมนึกตอบว่า “ผมไม่อยากให้มองมันเป็นโบราณสถาน แต่อยากให้มอง เป็นเมืองของเรา เป็นบ้านของเรา
กฎหมายเขาบังคับว่า 100 ปี แล้วถ้าเขาใช้กฎหมายยึดของเราไป เราก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าสมมติว่า บ้านเราไม่ได้ถูกประกาศเป็นอะไร แต่เราลุกขึ้นมา ใช้แรง คนในพื้นที่ พลังสมอง งบประมาณของท้องถิ่น พัฒนาขึ้นมา แทนที่จะไปเชื่อฟังส่วนกลาง ก็มาดูในพื้นที่ ของตำบล อำเภอ หมู่บ้าน ว่าเขาอยากจะพัฒนาไปในแนวทางไหน

มีศาสตราจารย์ท่านนึง ผมติดตามงานท่านมานานหลายสิบปี ท่านเป็นอดีตศาสตราจารย์ที่ Royal Danish Academy of Fine Arts เป็นสถาปนิกด้วย ท่านชื่อ ศ.ญาน เกห์ล (Jan Gehl)
ท่านก็พูดไว้ว่า ถ้าเราร่วมกันปั้นเมืองให้ดี เมืองจะปั้นเราและลูกหลานเราให้ดีกว่าเดิม

ผมเชื่อในคำนี้มาหลายสิบปีแล้วครับ เพราะท่านก็พูดคำนี้มาหลายสิบปีแล้ว มันหมายความว่า บ้านเรา ไม่จำเป็นต้องไปดูเพียงแค่คุณค่าทางประวัติศาสตร์ หรอก แต่มันยังมีคุณค่าทางสุนทรียะ มันมีคุณค่าทางจิตวิญญาณ มีคุณค่าทางสังคมที่เราอยู่ร่วมกัน เราอยู่กันอย่างมีความสุข เราไม่อยากให้มีอะไรมาตัดพาดผ่านเรา มาแยกเรา”

“อย่างเช่น จังหวัดบ้านผมมีปัญหาตั้งแต่ทำ Bypass แล้ว Bypass ก็ตัดออกเป็นสองฝั่ง ทั้งที่เป็นคนหมู่บ้านเดียวกันก็ต้องแยกออกจากกัน แล้วส่วนตรงกลางที่เคยมีคนอยู่ คนก็หายไป ต่อมา Bypass ก็กลายเป็น Motorway มาเก็บตังค์เราอีก
คนสองฝั่งนี้ เป็นคนหมู่บ้านเดียวกัน แต่จะไปหากันนี่ ต้องไปวนรถเป็นสิบๆ กิโลฯ เลยนะครับ”

“แต่ถ้ามองมุมกลับกัน ก่อนที่จะทำ Bypass หรือ Motorway ถ้ามาคุยกันเรื่องคุณค่าทางด้านสุทรียะ คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม คุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม คุณค่าทางด้านวิทยาศาสตร์ คือผมใช้คำว่า ‘ภูมิปัญญา’ แล้วกัน วิทยาศาสตร์เป็นคำตะวันตก ผมใช้คำว่า ‘ภูมิปัญญา’ มันเป็นการมองแบบตะวันออก คือมองคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน”

“รวมถึงคุณค่าเรื่องความจริงแท้ หมายความว่า พื้นที่ตรงนี้ สมมติว่าเป็นบ้านคุณ เป็นตลาด แล้วสมมติหมู่บ้านนี้เคยเป็นชาติพันธุ์ ผมยกตัวอย่างนะ  หากคุณค่าเหล่านี้ ถูกเปิดให้สาธารณะรับรู้ มันก็กลายเป็นเมืองมรดกขึ้นมาได้ เมื่อเป็นเมืองมรดก ก็จะมีภูมิคุ้มกัน คนจะมาตัดถนน จะมาตัดรางรถไฟ จะมาไล่รื้อเรา ก็จะต้องระมัดระวัง
เพราะว่ามี Story มีเรื่องราว มีอัตลักษณ์ มีความเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ของพื้นที่อยู่”

รวมทั้งอาจมีมรดกทางธรรมชาติด้วย เช่น มีต้นโพธิ์ใหญ่ ที่มีเรื่องราว หรือมีต้นไม้ที่วัดเคยปลูก เหล่านี้คือเกราะป้องกันการพัฒนาที่มันจะสวนทางกับบริบท ความเป็นมาเป็นไปของพื้นที่
แล้วในที่สุด เขาย่อมหางบประมาณมาฟื้นฟู เพื่อให้เมืองนี้เป็นเมืองที่น่าอยู่

ถ้าเราอยากจะทำท่องเที่ยวชุมชน เมืองเก่า เมืองวัฒนธรรม เมืองที่มีเรื่องราวก็สามารถเล่าได้ ยกตัวอย่าง เมืองเก่าสงขลา ที่กำลังไปขอเป็นมรดกโลก ที่นั่น บ้านแต่ละบ้าน เป็นบ้านเก่า แล้วก็มีเรื่องราว เช่น บ้านนี้ เป็นคุณหมอสมัย สงครามโลก ครั้งที่ 2 ,บ้านนี้ เคยมีญี่ปุ่นมาอยู่ เคยมีฝรั่งมาอยู่, ตรงนี้เคยเป็นโรงสีเก่า เคยเป็นท่าเรือเก่า ดังนั้น ถามว่า จะมีใครมาเวนคืนพื้นที่ที่มีความสำคัญแบบนี้ไหม

ดังนั้น ต้องรีบ ช้าไม่ได้ หลายพื้นที่ก็เริ่มตื่นตัว เพราะหากช้า อาจจะต้องเจอกับการเติบโตของเมืองที่ไร้ทิศทาง

“คนท้องถิ่นสามารถลุกขึ้นมาศึกษา ‘ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสังคม’ ของตัวเอง
ว่าเรามีโบราณสถาน โบราณวัตถุอะไรบ้างที่จับต้องได้ หรือจับต้องไม่ได้ แล้วเอาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ มาทำในแบบของตัวเอง ไม่ต้องรอ พ.ร.บ. หรอก ผมแนะนำเลยครับว่า ทำได้เองเลย รวมตัวกัน แต่ทำคนเดียวไม่ได้ ก็ต้องลุกขึ้นมาทำร่วมกัน"

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ผมนำความรู้ฝรั่งมาปรับใช้ ในการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม
ซึ่งเรียนรู้ 4 เรื่องคือ

1.รู้จักอัตลักษณ์ของชุมชนตัวเอง ตั้งแต่อดีต โบราณ

2.รู้ว่ามรดกที่อยู่ในพื้นที่เรา มีธรรมชาติคืออะไร วัฒนธรรมคืออะไร หรือเคยมีอะไร แล้วอะไรมันหายไป รวมไปถึงเรื่องของปัญหาต่างๆ ที่มันเกิดขึ้น

3.รู้ ‘ภัย’ ที่มันกำลังจะเข้ามาหาเรา เช่น จะมีโครงการอะไรไม่รู้จะมาตัดผ่าน แต่เค้าไม่เคยมาสำรวจอะไรเราเลย บ้านเราก็จะร้อยปีอยู่แล้ว แต่เค้าก็จะตัดถนน นี่คือ ภัยคุกคาม

แล้วก็รู้ตัวที่ 4 คือ รู้ ‘อนาคต’ ว่าเราจะพัฒนาไปในทางไหน

ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ



ดร. สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
"ทั้งหลายทั้งปวงที่ผมพูด เราทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องร่วมกัน ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ ตัวชุมชนเอง”
ความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์เมือง และการพัฒนา"

"ทำยังไงให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์เมือง และการพัฒนา โดยที่ไม่เป็นการอนุรักษ์ แบบแช่แข็งเมือง รักษามรดกของเราไว้"

"ถ้าเราทำกันเอง เราทำได้ทั้งอนุรักษ์และพัฒนา เพราะเราเป็นคนในชุมชน เราเข้าใจชุมชนของเรา เมืองเราก็จะมีชีวิตชีวา มีการเติบโต และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เราต้องการ ไม่ใช่คนภายนอกต้องการตัดถนน
เรื่องของ ‘เมือง’ ก็มี ‘ภาษา’ มี ‘ไวยากรณ์’ ของความเป็นเมืองอยู่"

"มันเป็นภาษาเมือง คุณค่าต่างๆ ก็เป็นภาษาเมือง เป็นไวยากรณ์ของเมือง อย่างหนึ่ง
การอนุรักษ์ การพัฒนา ก็เป็นภาษาของเมืองอย่างหนึ่ง ที่ต้องการการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ไม่ไปทำลายเมือง ไม่ไปทำลายคุณภาพของเมือง เช่นที่ จังหวัดทางภาคตะวันออกของพวกผมกำลังเจออยู่ตอนนี้ เราก็ต้องฟื้นฟูกัน"

"อันดับแรก ชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการตรงนี้ก่อน เรียกว่า ‘จัดการตัวเอง’ ‘จัดการชุมชนของเรา’ ให้มีทิศทางการพัฒนาไปอย่างที่เราต้องการ นั่นคือการพัฒนาที่ยั่งยืน" ดร.สมนึก กล่าวทิ้งท้ายอย่างหนักแน่นชัดเจน
………………………
Text by : รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo by : ดร.สมนึก จงมีวศิน

ภาพวัดเก่า โบราณสถานในเชียงแสน: ตะลอน “10 วัดเมืองเก่าเชียงแสน”
สัมผัสความสวยงามยุคล้านนา อิ่มบุญ-สวยตรึงตามิรู้ลืม คอลัมน์ ตะลอนเที่ยว:
https://mgronline.com/