xs
xsm
sm
md
lg

PM2.5 ฝุ่นพิษของแท้! เปิดผลวิจัยออกกำลังกาย 21 วัน ในสภาวะฝุ่นสูง ได้ผลลัพธ์สุดอันตราย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นักศึกษา ป.เอก และนักกีฬา IRONMAN 9 เผลผลวิจัยสุดระห่ำ ใช้ อาสาสมัครออกกำลังกายท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลา 21 วัน พลผลลัพธ์สุดอันตราย พังทั้งเลือด พังทั้งปอด

จากกรณี เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 ตรวจวัดได้ 31.4-58.5 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 51 พื้นที่ เผยช่วงวันที่ 10 - 17 ม.ค. การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ "ไม่ดี-อ่อน-ดี" เกิดอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้น ทำให้มลพิษทางอากาศสามารถแพร่กระจายได้อย่างจำกัด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 1-2 วัน จากนั้นความเข้มข้นของฝุ่นละอองจะมีแนวโน้มลดลงในระยะสั้นก่อนจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม พบว่าก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 ม.ค. นายพีรภัทร ศิริเรือง นักศึกษาปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัย Portsmouth สหราชอาณาจักร และนักไตรกีฬา IRONMAN 9 ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึง อุปสรรคของการออกกำลังกาย ท่ามกลางสภาวะของ PM2.5 ในระยะเวลา 21 วัน ผ่านเพจ "Health Performance Team" พบพบผลลัพธ์สุดอันตราย โดยทางเพจได้ระบุข้อความว่า

"“วิจัยสุดบ้า” PM 2.5 พังทั้งเลือด พังทั้งค่าปอด จับคนมาวิ่งในสภาวะฝุ่นขึ้นสูง

เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า PM 2.5 เป็นอุปสรรคในการออกกำลังกายอย่างมาก ทั้งหายใจที่ลำบาก, มีอาการเจ็บคอ, ภาวะเลือดออกทางจมูก หรือจนกระทั่งเกิดการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ แต่มีน้อยมากที่จะจับคนเป็นๆ มาทดลองให้เผชิญกับฝุ่น PM 2.5 แบบจริงจัง ด้วยการเก็บค่า VO2max เพื่อดูการพัฒนาของสมรรถภาพปอด และเก็บค่าเลือดเพื่อดูการทำงานของเม็ดเลือดขาว-เม็ดเลือดแดง

ผู้ทำการวิจัยต้องการเทียบร่างกาย ระหว่างสภาพอากาศที่มีค่า PM อยู่ที่ 83.44 µg/m³ (สนามวิ่งอยู่ชานเมืองไม่ติดถนนใหญ่) และ 102.33 µg/m³ (สนามวิ่งติดถนนใหญ่) ตลอด 14 สัปดาห์ของการทดลอง โดยผู้เข้าร่วมวิจัยถูกมอบหมายให้ออกกำลังกาย เป็นระยะเวลา 40 นาที (ความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์) ประกอบไปด้วย
- 5 นาทีวอร์มอัพ
- 30 นาทีวิ่งที่ความหนักแบบ Sub-Maximum
- 5 นาทีคูลดาวน์

“ผลสรุปได้ว่า” จับผู้เข้าร่วมวิจัย ออกกำลังกายที่สภาวะฝุ่นต่ำ 21 วัน ต่อด้วย พักผ่อนอีก 21 วันระหว่างกลาง และไปเผชิญสภาวะฝุ่นสูง อีก 21 วัน มีการวัดค่าปอดและเลือด วันที่หนึ่งและวันที่ 21 แรก และวัดซ้ำ ในวันที่หนึ่งและ 21 หลังในสภาวะที่ต่างกันของฝุ่น

เมื่อเผชิญกับสภาวะ PM ที่มีค่าสูง (102.33 µg/m³) ระดับเม็ดเลือดขาวมีการเพิ่มขึ้นถึง 1.39 ไมโครลิตร (x 10³/µl) “และ” สภาวะฝุ่น PM ที่ 83.44 µg/m³ ค่าเม็ดเลือดขาวของผู้ทดสอบมีการเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 0.92 ไมโครลิตร (x 10³/µl)

“การเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวมีข้อเสียอย่างไร?”

การเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวย่อมหมายถึงการที่ร่างกายมีการอักเสบและติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้เม็ดเลือดขาวต้องทำงานหนักในการเป็นภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อการอักเสบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากฝุ่นละออง โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจและระบบหมุนเวียนเลือด

“ฝุ่นเยอะสุขภาพปอดไม่พัฒนา”

ในส่วนค่าปอดจากการวัด VO2max สามารถสรุปได้ว่า ความจุปอดสูงสุดที่หายใจออกอย่างเร็วและแรง (FVC) มีการพัฒนาขึ้นในสภาวะที่มีค่า PM 2.5 ที่ 83.44 µg/m³ แต่ไม่มีการพัฒนาเมื่ออยู่ในสภาวะที่ฝุ่นสูง (102.33 µg/m³)

ว่ากันว่าตัวฝุ่น PM 2.5 ที่สูงสามารถเข้าไปสะสมในถุงลมปอดและอาจก่อให้เกิด ภาวะพังผืดในปอด (Fibrosis) ส่งผลให้ความยืดหยุ่นของปอดลดลง และความสามารถในการรองรับอากาศที่เข้าสู่ปอดแย่ขึ้นมาก

เราสามารถ Search ตามเว็บไซต์ทั่วไปได้เลยว่า เมื่อเราปล่อยให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นในระยะยาว ร่างกายเราจะอ่อนแอมาก อายุสั้นลง อีกทั้งเสี่ยงสุดๆที่จะเป็นมะเร็ง

เมื่อเราเห็นงานวิจัยแบบนี้แล้ว อยากขอให้ทุกคนเช็คค่าฝุ่นให้ดี เพราะในระยะสั้นเราอาจจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก ขอให้คำนึงถึงร่างกายในระยะยาวด้วยครับ

พีรภัทร"

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลข้างต้น ของการออกกลังกายท่ามกลางฝุ่นพิษเราก็เคยมีอุทาหรณ์จากกรณีของการเสียชีวิตของ คุณหมอกฤตไท ธนสมบัติกุล นายแพทย์หนุ่มร่างกายแข็งแรง แต่มาตรวจพบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลาม เมื่อช่วงปลายปี 2565

โดย หมอกฤตไท ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองเข้ายิมสม่ำเสมอ เล่นกีฬา กินอาหารคลีน ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็น้อยมากๆ ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เครียด นอน 4 ทุ่ม ตื่น 6 โมงเช้ามาอ่านหนังสือ ทำวิจัย สอนนักศึกษา ไม่ได้เข้าเวร หรืออดนอนอะไร ซึ่งสาเหตุก็มาจากฝุ่นควันในเชียงใหม่เป็นปัจจัยเดียวที่หมอกฤตไทกลายเป็นมะเร็งปอด


กำลังโหลดความคิดเห็น