xs
xsm
sm
md
lg

เผยความจริง!! เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง คือชนิดเดียวกัน ต่างเพียงภาษาเรียกที่แตกต่าง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจ “Sarikahappymen” อธิบายชัด เหมยขาบ-แม่คะนิ้ง คือแบบเดียวกัน ต่างกันเพียงการเรียกด้วยภาษาที่แตกต่างกันเท่านั้น

เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. เพจ “Sarikahappymen” ได้ออกมาโพสต์อธิบายความแตกต่างระหว่างเหมยขาบกับแม่คะนิ้ง โดยระบุว่า “ช่วงนี้หลายพื้นที่อากาศกำลังหนาวเลยนะครับ และยิ่งแถวภาคเหนือหรืออีสานบางพื้นที่อาจมีอุณหภูมิถึงเลขตัวเดียวและบางที่อาจถึงขั้นติดลบไปแล้วด้วย

สิ่งนึงที่นักท่องเที่ยวชอบไปดูกันก็คือพวกแม่คะนิ้งหรือเหมยขาบนี่แหละ ซึ่งบางทีเวลาเราฟังบางทีก็คงงงใช่ไหมครับว่าหมายถึงอย่างไร หรือใช้แตกต่างกันอย่างไร

จริง ๆ คำว่าแม่คะนิ้งหรือเหมยขาบนี่คืออันเดียวกันนะครับ ซึ่งก็คือปรากฎการณ์ที่ไอน้ำในอากาศ พอมันเกิดความเย็นมาก ๆ มันก็เลยกลายเป็นผลึกเกล็ดใส ๆ สวย ๆ บางอันเป็นรูปเข็ม บางอันเป็นรูปพัด แล้วไปเกาะอยู่ตามใบไม้ ใบหญ้า หรือสิ่งของต่าง ๆ ครับ ซึ่งฝรั่งเค้าจะเรียก hoar frost หรือน้ำแข็งหงอกครับ

ซึ่งเจ้า hoar frost นี้ถ้าไปเกิดในภาคเหนือเค้าก็จะเรียกเหมยขาบ แต่ถ้าไปเกิดในภาคอีสาน เค้าก็จะเรียกแม่คะนิ้ง แต่ถ้ามันไม่มีเลยเค้าก็จะเรียกขาดเหมย แต่สรุปว่ามันก็คือ hoar frost อันเดียวกันแหละครับ

ทีนี้เดี๋ยวนี้เริ่มมีคำว่าน้ำค้างแข็งขึ้นมาอีก ซึ่งหลายคนก็คิดว่ามันเหมือนกัน แต่จริง ๆ ก็ไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ เพราะที่บอกพวกแม่คะนิ้งนี่มันเกิดจากไอน้ำกลายเป็นน้ำแข็งมันก็จะสวย ๆ หน่อย แต่เจ้าน้ำค้างแข็งนี่มันคือหยดน้ำที่มีอยู่แล้ว พอโดนความเย็นมาก ๆ มันก็เลยกลายเป็นน้ำแข็งครับ ซึ่งพวกนี้รูปร่างส่วนใหญ่จะเป็นกลม ๆ ก้อน ๆ หรือบางทีคล้าย ๆ หินงอกหินย้อยลงมานั่นแหละ ซึ่งฝรั่งจะเรียกว่า white dew ครับ

ก็เป็นสาระเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอามาฝากในช่วงอากาศหนาว ๆ นะครับ หรือใครว่าง ๆ จะแวะมาเยี่ยมชมน้ำแข็งค้างของหมอบนดอยก็ได้ครับ”

คลิก>>>อ่านโพสต์ต้นฉบับ


กำลังโหลดความคิดเห็น