xs
xsm
sm
md
lg

“หมอหมู” เตือน 'ฆาตกรเงียบ' ช่วงปีใหม่ เสี่ยงโรคร้าย พร้อมแนะเช็กอาการ-วิธีดูแลตัวเอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจ “หมอหมู วีระศักดิ์” เตือน 'ฆาตกรเงียบ' ระบาดหนักช่วงคริสต์มาส-ปีใหม่ เสี่ยงโรคร้าย พร้อมแนะวิธีเช็กอาการให้กับประชาชน

วันนี้ (23 ธ.ค.) เพจ “หมอหมู วีระศักดิ์” หรือ รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้ออกมาโพสต์เตือนด่วน 'ฆาตกรเงียบ' ระบาดหนักช่วงคริสต์มาส-ปีใหม่

โดยระบุว่า “ช่วงเทศกาลอาจเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนมักจะละเลยนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์ "โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล (Holiday heart syndrome)" หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นหลังจากดื่มหนักติดต่อกันในช่วงเทศกาล
.
โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล

1. การดื่มสุราหนักในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation) ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน และหัวใจล้มเหลว ตามมา

2. โรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาลมักเกิดขึ้นหลังจากดื่มหนัก ซึ่งหมายถึง การดื่มไวน์ 13% มากกว่า 1 ขวดครึ่ง หรือ ดื่มเบียร์ 5% มากกว่า 9 กระป๋อง หรือ ดื่มเหล้า 40% มากกว่า 12 แก้วช็อต ภายในวันเดียว

3. ความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปกับปัญหาหัวใจนี้ได้รับการระบุครั้งแรกโดย ดร. ฟิลิป เอตทิงเกอร์ และทีมงานของเขาในปี 1978 หลังจากที่พวกเขาสังเกตเห็นผู้ป่วย 24 รายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation) หลังจากดื่มหนักมาตลอดทั้งสุดสัปดาห์
.
อาการของโรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล

1. ใจสั่น

2. อ่อนเพลีย อ่อนแรง

3. เวียนศรีษะ สับสน

4. หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก
.
สาเหตุของโรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่

1. การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก

2. การอดนอนในช่วงเทศกาลวันหยุด

3. ความเครียดจากการสังสรรค์ในช่วงเทศกาลวันหยุด

4. ทานอาหารที่มีไขมันและเกลือมากเกินไป
.
วิธีการดูแลตัวเอง

1. ดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีลิมิต

2. หาเวลาพักผ่อนหรือไปทำกิจกรรมอื่นแทนการดื่ม

3. หลีกเลี่ยงการกินอาหารประเภทที่มีไขมันและเกลือ
.
ทั้งนี้การรักษาโรคหัวใจช่วงวันหยุดเทศกาล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยแพทย์อาจให้ยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นะครับ
.
อ้างอิงข้อมูลจาก: Tonelo D, Providência R, Gonçalves L. Holiday heart syndrome revisited after 34 years. Arq Bras Cardiol. 2013 Aug;101(2):183-9. doi: 10.5935/abc.20130153. PMID: 24030078; PMCID: PMC3998158.
.
เรียบเรียงโดย: รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี #หมอหมูวีระศักดิ์ #ตีแผ่ทุกความจริงด้วยวิทยาศาสตร์
.
ปล. ข้อมูลทั้งหมดที่ผมนำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน และผมได้พยายามอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่บางครั้งอาจมีการโต้แย้งในข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแวดวงวิชาการ ดังนั้นจึงขอเรียนทุกท่านว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความของผม และควรหาข้อมูลเพื่มเติมเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง ด้วยนะครับ”

คลิก>>>อ่านโพสต์ต้นฉบับ


กำลังโหลดความคิดเห็น