xs
xsm
sm
md
lg

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เดินหน้าพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยเทคโนโลยี Land Leveling

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติโดยได้ดำเนิน "โครงการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยเทคโนโลยี Land Leveling" ซึ่งก้าวเข้าสู่ระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2566 ครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยทั้ง 4 ภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้แก่เกษตรกรไทย โดยใช้เทคโนโลยีการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบแสงเลเซอร์ (Laser Land Levelling) เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย โดยในระยะที่ 1 ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ปลูกอ้อยโดยใช้เทคโนโลยี Laser Land Levelling ครอบคลุมพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด รวมถึงการอบรมเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่

ในระยะที่ 2 นี้ จะมีการขยายขอบเขตโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มเติม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อเก็บภาพถ่ายระดับความสูงของพื้นที่ปลูกอ้อย โดยใช้ระบบ Digital Image Processing เพื่อประเมินและจัดทำแผนที่ระดับหน้าดิน พร้อมทั้งคำนวณปริมาณการปรับพื้นที่และงบประมาณในการดำเนินการ การออกแบบและพัฒนาระบบนี้จะเชื่อมต่อกับโครงการระยะที่ 1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับหน้าดินให้ดียิ่งขึ้น


การแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างโอกาสในอุตสาหกรรมอ้อย

- ในปัจจุบัน การบริโภคน้ำตาลทรายทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงความต้องการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจร้านอาหาร เครื่องดื่ม เอทานอล และแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ แต่เกษตรกรชาวไร่อ้อยของไทยยังประสบปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง อาทิ บราซิล และออสเตรเลีย ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยด้วยระบบปรับระดับพื้นที่ (Land Leveling) เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และรองรับโอกาสทางการส่งออกในอนาคต

เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ

- โครงการนี้ได้นำเทคโนโลยี Laser Land Levelling และ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) มาใช้ในการสำรวจและปรับระดับพื้นที่เพาะปลูกอ้อย โดยมีการประมวลผลภาพถ่ายความละเอียดสูงจากโดรนร่วมกับซอฟต์แวร์ Digital Image Processing เพื่อสร้างแผนที่สามมิติของระดับพื้นดิน ข้อมูลนี้ช่วยให้การปรับระดับพื้นที่มีความแม่นยำ ลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม และเพิ่มความสม่ำเสมอในการกระจายน้ำและปุ๋ยในพื้นที่เพาะปลูก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

- โครงการนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยอย่างมีนัยสำคัญ ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ โดยมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรชาวไร้อ้อย เจ้าหน้าที่โรงงาน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน การดำเนินงานนี้จะช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยในระดับสากล จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทยที่พร้อมขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและก้าวทันโลกอนาคต.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 2 โทรศัพท์:(055)850-844-5
เว็บไซต์:
https://cspc2.ocsb.go.th/










กำลังโหลดความคิดเห็น