xs
xsm
sm
md
lg

ดีพร้อม ชู วิสาหกิจฯทุ่งเศรษฐี ปั้น “กระเป๋าจากป้าย” แก้ขยะล้นเมืองขอนแก่น เสนอไอเดียเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ชูต้นแบบ ผู้ประกอบการดีพร้อม (DIPROM Success Case) ปั้นผลิตภัณฑ์กระเป้าจากป้ายไวนิลเหลือทิ้ง แก้ปัญหาขยะล้นเมืองขอนแก่น พร้อมนำเสนอไอเดียการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งโดยผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จผ่าน อุตสาหกรรมสารฉบับที่ 3 ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “Sustainability : Loss – Waste - Wealth สู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคง”

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ในการเพิ่มมูลค่าขยะเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง และสร้างรายได้กระจายไปยังเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยหนึ่งในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาเป็น ผู้ประกอบการดีพร้อม (DIPROM Success Case) คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐี จังหวัดขอนแก่น

นายณัฐวุฒิ ศรีอาจ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐี เปิดเผยว่า ได้รับการส่งเสริมโดยดีพร้อม ในการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการเพิ่มมูลค่าจากสิ่งของเหลือทิ้ง และองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐี เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองขอนแก่น พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน สาเหตุจากประชาชนกรพื้นที่ที่หนาแน่น ประกอบกับการจัดกิจกรรมในพื้นที่ ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม หรือ ป้ายไวนิล ที่เหลือทิ้งเป็นขยะสะสมภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม

นายณัฐวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า นำขยะจากป้ายไวนิลมาเพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการออกแบบร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทอผ้า สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ กระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ สร้างรายได้ในกับคนในชุมชน และนำเศษผ้าที่เหลือจากการบวนการผลิตในข้างต้น มาถักทอเป็น “ผ้าทอมือ BCG” พร้อมสอดแทรกวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ่านภูมิปัญญาการทอผ้าแบบ “จก” ถ่ายทอดอัตลักษณ์ลงบนผืนผ้าเพื่อต่อยอดเป็นวัตถุดิบให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสินค้าแฟชั่นนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 หรือประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ดีพร้อม ได้รวบรวมแนวคิดสำหรับการเพิ่มมูลค่าจากของเสียในภาคอุตสาหกรรม ของเหลือทิ้งจากกิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับที่ 3 ภายใต้แนวคิด “Sustainability : Loss – Waste - Wealth สู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคง” ตัวอย่างเช่น การมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดย Dairy Home การบริการการผลิตเพื่อลดของเสีย โดย April"s Bakerry การผลิตรองเท้าจากเศษยางพารา โดย Maddy Hopper ตลอดจนองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมยั่งยืนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจนำไปต่อยอดธุรกิจ

ผู้สนใจสามารถติดตามบทสัมภาษณ์ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม DIPROM Success Case ได้ที่ วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับที่ 3 https://e-journal.dip.go.th/ โดยสามารถสมัครสมาชิกวารสารอุตสาหกรรมสารได้ที่ https://forms.gle/FkBeXWoby9PWe2DYA

ณัฐวุฒิ ศรีอาจ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐี







อุตสาหกรรมสารฉบับที่ 3 ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “Sustainability : Loss – Waste - Wealth สู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคง”
กำลังโหลดความคิดเห็น