xs
xsm
sm
md
lg

"นิพิฏฐ์" ฝากถึงสภาทนายความ ควรมีหลักสูตรสอนหลักธรรม ก่อนออกใบอนุญาตทนายความ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง ฝากข้อคิดไปถึง "สภาทนายความ" ควรมีการอบรมหลักธรรม "ทนายความ" ก่อนออกใบอนุญาต

จากกรณีมีรายงานว่าตำรวจสอบสวนกลางรวบทนายตั้มพร้อมภรรยา แจ้งข้อหาหนักหลังพบพากันขยับหลบหนีไปในพื้นที่พนมสารคาม ฐานฉ้อโกง, ฟอกเงิน, ร่วมกันฟอกเงิน หิ้วตัวเข้ากองปราบฯ เค้นสอบ

ล่าสุด วันนี้ (8 พ.ย.) นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง ได้ออกมาโพสต์ข้อความแนะสภาทนายอบรมหลักธรรม "ทนายความ" ก่อนออกใบอนุญาต โดย นายนิพิฏฐ์ ได้ระบุข้อความว่า

"“กรรม” ตามหลักพุทธศาสนา

ผมสนใจเรื่อง“กรรม” ตามหลักพุทธศาสนามานานแล้ว แต่ด้วยความเป็นผู้มีปัญญาน้อย และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยาก ตอนผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มีเหตุการณ์หนึ่งที่โด่งดัง ที่ชาวพุทธถกเถียงกันเรื่องกรรม ผมก็มอบให้ท่านปลัดกระทรวง(ท่านสมชาย เสียงหลาย) กราบนมัสการ พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) สมณศักดิ์ท่านในขณะนั้น เพื่อขอจัดพิมพ์คำสอนของท่าน เรื่อง “เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม” ออกเผยแพร่

ในความคิดของผม ผมคิดว่า พระอริยสงฆ์ที่สอนเรื่องกรรมและก่อเกิดปัญญามากที่สุด น่าจะเป็น “หลวงพ่อพุทธทาส” และ พระพรหมคุณาภรณ์ ปัจจุบันสมณศักดิ์ของท่านคือ“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

เมื่อปัจจุบันเกิดเหตุมีชาวพุทธถกแถลงเรื่องกรรมกันอีก บางคนถึงขนาดปลงว่า เดี๋ยวกรรมก็ตามทัน บางคนก็ท้อใจถึงกับพูดว่าเกิดมาใช้กรรม บางคนก็ว่ากฎหมายเอื้อมไม่ถึงแต่กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ

ผมจึงอ่าน และ ฟังคลิป คำสอนของพระอริยสงฆ์ 2 รูปนี้ เรื่องกรรมอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง และคิดจะเขียนเรื่องนี้ตามสติปัญญาอันน้อยนิดของผม แต่คงต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า“เป็นความเข้าใจของผมเอง” ผมมิบังอาจสรุปคำสอนของพระอริยสงฆ์ เพราะปัญญาเราน้อยนิดเพียงเม็ดทรายในมหาสมุทร การสรุปคำสอนของพระอริยสงฆ์แล้วสรุปผิดด้วยความโง่ ด้วยความด้อยปัญญา ผมคงมีนรกเป็นที่ไป

เอาเป็นว่า ผมจะเขียนก็แล้วกัน ความจริงก่อนออกใบอนุญาตทนายความ สภาทนายความควรมีหลักสูตรสอนหลักธรรมตามหลักศาสนาในแต่ละศาสนา เหมือนเมื่อครั้งอดีตที่กระทรวงยุติธรรมกราบนิมนต์หลวงพ่อพุทธทาสมาอบรมธรรมะแก่ผู้ที่จะออกไปเป็นผู้พิพากษา

ความผิดพลาดจากการเขียนของผมเกิดขึ้นแน่นอน แต่คงเป็นประโยชน์ตามควรหากได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน และหวังจะได้รับการอภัยจากท่านผู้รู้จากความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น เหมือนความผิดพลาดหลายครั้งที่เคยเกิดขึ้นจากข้อเขียนของผม"


กำลังโหลดความคิดเห็น