หากคุณเป็นองค์กรหนึ่งที่กำลังสนใจเรื่อง Sustainability และมองหาที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน บริษัทที่เรากำลังจะพูดถึงนี้คงจะตอบโจทย์ให้กับคุณได้มากทีเดียว ด้วยประสบการณ์กว่า 6 ปี ในฐานะ ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน การันตีด้วยผลลัพธ์มากมายจากการร่วมงานกับทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐกว่า 30 องค์กร
เรากำลังพูดถึง บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด Sustainability Consulting Firm ของไทยที่จะช่วยวางแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนให้เหมาะสมกับองค์กร เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน โดยมีทีมที่ปรึกษาทำงานร่วมกับองค์กร เพื่อศึกษา วางแผนกลยุทธ์ เเละออกแบบวิธีการดำเนินงานที่สามารถวัดผลได้จริง พร้อมจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล
นำทีมโดย ชยุตม์ สกุลคู Co-Founder และ CEO, ปวรรัตน์ ลิสกุลรักษ์ Co-Founder และ COO, ดลพร พิทักษ์สิทธิ์ Co-Founder และ CFO
Tact = Take Action
จุดเริ่มต้นของแทคท์ บริษัทให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืน
บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 จากวิสัยทัศน์ของทีมผู้ก่อตั้งที่มองเห็นปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมว่า ณ ปัจจุบันมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากการที่เคยเป็นนักกิจกรรมค่ายพัฒนาชุมชนในรั้วมหาวิทยาลัย ทำให้ตกตะกอนได้ว่า การทำกิจกรรมเพียงครั้งเดียวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้ แต่จะต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนตั้งแต่วิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลักขององค์กร ธุรกิจ และภาครัฐจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนได้
ชยุตม์ สกุลคู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ แทคท์ ได้เล่าถึงการก่อตั้งบริษัทว่าเกิดจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคมเชิงโครงสร้าง
“Driving Sustainable Transformation” ธงใหญ่ของแทคท์ คือ ‘การลงมือทำ’ ซึ่ง Tact มาจากคำว่า ‘Take Action’ เพราะเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ต้องลงมือทำจริง ดังนั้น แทคท์ จึงไม่ใช่แค่ผู้ให้คำปรึกษา แต่เป็นผู้ลงมือทำร่วมกับองค์กร เพื่อพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง"
กว่า 6 ปี สั่งสมประสบการณ์จนเชี่ยวชาญ
มีลูกค้ามากกว่า 30 องค์กร
ดลพร พิทักษ์สิทธิ์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เล่าถึง Passion ของทีมบริหาร เราให้ความสำคัญกับทีมคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญในด้านความยั่งยืนที่เราให้คำปรึกษา ชยุตม์ นอกจากจะเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรด้าน ESG, บรรยายในหลักสูตรของตลาดหลักทรัพย์และศศินทร์ รวมถึงกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการขยะให้กับกรุงเทพมหานคร, สมาชิกของ Climate Action Leadership รุ่นที่ 3 และผู้อำนวยการหลักสูตรความยั่งยืนสำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรุ่นที่ 4
ปวรรัตน์ อีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคาร์บอน ได้รับการรับรองในการฝึกอบรมการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) และผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับ Chula Zero Waste เป็นต้น
ส่วนตัวดลพร ในฐานะ CFO ได้พาบริษัทเข้าร่วมโครงการทั้งในไทยและต่างประเทศ ช่วยให้ แทคท์ เติบโตเป็น Sustainability Consulting Firm ที่ได้รับเลือกเป็นที่ปรึกษาให้โครงการจากองค์กรใหญ่ ๆ มากมาย โดยสะสมทุนและประสบการณ์ เช่น ได้รับเงินทุนสนับสนุนตั้งแต่ปีแรกที่ก่อตั้งจากโครงการ TED FUND ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับเลือกเป็น 1 ใน 6 ทีมผู้ชนะ จาก 150 ทีมทั่วเอเชียในโครงการ Young Social Entrepreneurs (YSE) ภายใต้ Singapore International Foundation เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG มากมายจากทั่วโลกในปี 2564
“จุดเด่นของ แทคท์ คือการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก เริ่มจากการพูดคุยทำความเข้าใจบริบทและความจำเป็นของลูกค้า เราช่วยดูว่าลูกค้าควรทำเรื่องไหน และเรื่องไหนสำคัญ รวมถึงการบริการที่เหมาะสมกับ Stage ของธุรกิจ แล้วค่อยขยับไปยัง Stage อื่น ๆ ต่อไป โดยแทคท์สามารถปรับการบริการให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม งบประมาณ และ โจทย์ต่าง ๆ ของลูกค้าได้” ดลพรเล่าถึงการทำงานของแทคท์ให้ฟังคร่าว ๆ
ปัจจุบัน แทคท์ เป็นที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนและได้ร่วมงานกับลูกค้าภาคธุรกิจและภาครัฐมากกว่า 30 องค์กร ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงิน การธนาคาร พลังงาน ก่อสร้าง และการท่องเที่ยว เราจัดทำกลยุทธ์และโครงการด้านความยั่งยืน รวมถึงการอบรมเรื่อง ESG, Net Zero และ Carbon Accounting การวัดประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น และการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI ให้กับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกหลายแห่ง
Sustainable Business
ความยั่งยืนส่งผลดีต่อธุรกิจ?
เมื่อเราถามว่า Sustainability คืออะไร ส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างไร? CEO แทคท์ ตอบด้วยรอยยิ้มว่า
“ถ้าพูดถึงคำว่า Sustainability ต้องบอกว่าคือแนวคิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ส่วน คำว่า ESG (Environment - สิ่งแวดล้อม , Social – สังคม และ Governance- ธรรมาภิบาล) คือประเด็นที่ภาคธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจว่าตัวเองเกี่ยวกับประเด็นไหนและบริหารจัดการประเด็นเหล่านั้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประเด็นที่จะเกี่ยวข้องกับบริษัทของเขาแน่ ๆ ก็คือเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนักลงทุนหรือคู่ค้าอาจจะมีคำถามว่าทางบริษัทฯ เริ่มมีการวัดประเมินฟุตพริ๊นท์องค์กรหรือมีแผน Net Zero แล้วหรือยัง ซึ่งจำเป็นจะต้องเขียนรายงานความคืบหน้าและผลลัพธ์ในรายงานความยั่งยืน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าองค์กรได้ทำความเข้าใจและบริหารความเสี่ยงในประเด็นนี้แล้ว”
“หรือ การดูแลพนักงานให้ดีก็เป็น Sustainability อย่างหนึ่งนะครับ อันนี้จะอยู่ในมิติ Social หรือ สังคม ครับ”
“Sustainable Business เราต้องแก้ให้ถูกจุด รับผิดชอบในสิ่งที่ก่อ ดังนั้นในแนวคิดของความยั่งยืนจึงไม่ใช่แค่การทำกิจกรรมเพียงครั้งเดียว ถ้าอยากจะสร้างองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจริง ๆ ต้องฝังเรื่องความยั่งยืนให้ลึกเข้าไปในแนวคิดการดำเนินธุรกิจ เข้าไปวิเคราะห์ว่าอะไรที่เขาไปสร้างผลกระทบและอะไรที่เป็นผลกระทบกับเขา เพราะมันคือกลยุทธ์ทางธุรกิจ”
“แทคท์ ทำหน้าที่ที่ปรึกษาเพื่อช่วยให้องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน ในปัจจุบัน หลายองค์กรเริ่มตระหนักว่าการดำเนินธุรกิจแบบเดิมไม่เพียงพอ แต่บางองค์กรอาจยังขาดองค์ความรู้ ขาดคนช่วยลงมือทำ หรือไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหน บางแห่งอาจยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มทำหรือทำอย่างไร แทคท์จึงมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือในด้านนี้ครับ”
แล้วธุรกิจในไทยตื่นตัวกับเรื่องความยั่งยืนมากแค่ไหน?
“ช่วงที่ก่อตั้งบริษัท บริษัทในไทยส่วนใหญ่ยังรู้จักแต่คำว่า Corporate Social Responsibility (CSR) และมองว่าการทำ CSR เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษา หรือการปลูกป่า เป็นสิ่งเพียงพอ แต่ถ้าลงลึกใน Supply Chain อาจพบว่ามีการปล่อยคาร์บอนสูง โรงงานอาจปล่อยสารพิษ และองค์กรอาจไม่ดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม ก่อนหน้านี้เราอาจคิดว่า CSR เป็นเรื่องที่ทำเมื่อมีเงินเหลือ แต่ปัจจุบันความเสี่ยงด้านความยั่งยืนเริ่มส่งผลต่อนักลงทุนและธนาคารที่ไม่กล้าลงทุน ธุรกิจจึงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะตอนนี้ธนาคารเริ่มมีกฎเกณฑ์ในการปล่อยกู้ โดยพิจารณาว่าจะปล่อยกู้ให้กับบริษัทไหน และเงินจะถูกนำไปลงทุนในอุตสาหกรรมแบบใด บริษัทใหญ่ ๆ มี Supply Chain ที่ซับซ้อนทั่วโลก การผลิตสินค้าแต่ละชิ้นต้องอาศัยหลาย ๆ ที่ ทำให้เอกชนต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นี้ ซึ่งกลายเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ”
“ธุรกิจในไทยยุคก่อนมีงบ CSR พร้อม แต่ไม่รู้ว่าจะทำโครงการที่มีผลลัพธ์ระยะยาวได้อย่างไร แต่ในวันนี้หลายองค์กรขนาดใหญ่ได้ปักวิสัยทัศน์ว่า Sustainability จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้” ดลพรกล่าวเสริม
“ผมมองว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่บริษัทเริ่มทำเรื่องความยั่งยืนจะเปิดโอกาสมใหม่ ๆ ทางธุรกิจ สมัยก่อนเรื่องคาร์บอน ไม่มีใครบังคับให้วัดผล อนาคตอาจจะต้องวัดและเก็บข้อมูลเพื่อให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล มาตรฐานการรายงานจะต้องยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ อาจจะช้าเกินไปที่จะปรับตัวในวันที่ทุกคนเตรียมพร้อมแล้ว ตอนนี้ในไทยถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีกับเรื่องนี้ครับ” ชยุตม์กล่าวเพิ่มเติม
Tact Service พร้อมด้วยการบริการ 4 รูปแบบ
ปวรรัตน์ ลิสกุลรักษ์ Co-Founder และ COO กล่าวถึงการให้บริการของแทคท์ว่า มีด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่ Academy, Advisory, Assessment & Disclose และปัจจุบันกำลังก้าวไปสู่ Step ของ AI for Sustainability
1. Academy
- Training and workshop จัดกิจกรรมอบรมและ Workshop ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและ Climate Change ให้แก่กลุ่มผู้บริหารและพนักงานขององค์กร อาทิ workshop การตั้งเป้าหมายหรือกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัท, การอบรมความรู้ด้าน ESG และการวัดประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และคาร์บอนเครดิต รวมถึงการปลูกฝังแผนงานด้านความยั่งยืนเข้าไปสู่ฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์กร
2. Advisory
- Sustainability Strategy ให้คำปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้กับองค์กร โดยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านยั่งยืน (Materiality assessment) ที่สร้างผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
- Net Zero Strategy ให้คำปรึกษาในการตั้งเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์สำหรับองค์กร โดยตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับ Science Based Target Initiative (SBTi) และแผนการหา solution ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในองค์กร
3. Assessment & Disclosure
- Sustainability reporting and Certificate จัดทำรายงานและยื่นมาตรฐาน/รางวัลด้านความยั่งยืน อาทิ รายงานด้านความยั่งยืนประจำปี (Sustainability report), การรายงาน 56-1 One Report และยื่นการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (ESG rating), สำหรับบริษัทจดทะเบียน, SDG Impact Standard, GRI Standards, TCFD, EcoVadis ฯลฯ
- Carbon footprint accounting ให้คำปรึกษาวัดประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO) และผลิตภัณฑ์ (CFP) ครบจบในที่เดียว ตั้งแต่การวิเคราะห์แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กรและเก็บรวบรวมข้อมูลไปจนถึงคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และเตรียมพร้อมสำหรับการรับรองจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) หรือ ISO 14064 โดยใช้มาตราฐานตามหน่วยงานของไทย และระดับสากล อาทิเช่น TGO, IPCC, GHG Protocol, PCAF
4. AI for Sustainability
- Microsoft Cloud for Sustainability (MCfS) บริหารจัดการข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรแบบ Real-time ผ่าน Microsoft Cloud for Sustainability (MCfS) ที่มีเทคโนโลยี AI ในการช่วยรวมข้อมูลที่กระจัดกระจาย เช่นระบบ ERP , บิลค่าไฟ หรือแหล่งต่าง ๆ ขององค์กร รวบรวมเข้าไปในแพลตฟอร์มเพื่อช่วยในการจัดทำรายงานด้าน ESG ตามมาตรฐานต่าง ๆ และช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา insight สำคัญสำหรับผู้บริหารหรือฝ่ายต่าง ๆ ในการวางแผนกลยุทธ์องค์กร
“ทุกบริการของแทคท์จะให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะทางมายาวนาน เช่น Sustainability consulting & reporting ที่ทางแทคท์ได้พาร์ทเนอร์กับทางสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (SBDi) ผู้ออกแบบหลักสูตรและสอนบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์มากว่า 15 ปี และด้านเทคโนโลยี AI ที่เรา พาร์ทเนอร์กับ Microsoft ที่มีเทคโนโลยีและ Best Practice ของโลกมา Localize กับบริบทในประเทศไทย รวมถึงบริการด้านอื่น ๆ เพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของบริการของเรา”
โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของแทคท์ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาคเอกชนที่ต้องปรับตัวเพื่อบริหารจัดการและรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนให้กับ stakeholders โดยสิ่งนี้มีความสำคัญทั้งผู้ถือหุ้น นักลงทุนและคู่ค้าใน supply chain, กลุ่มภาคเอกชนผู้ส่งออกในกลุ่ม carbon-intensive เช่น ผู้ผลิตเหล็ก ซีเมนต์ ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) และกลุ่มบริษัทที่ผู้บริหารมองหาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจที่มุ่งเน้นกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ซึ่งลูกค้าของของแทคท์จะมีทั้ง 3 กลุ่ม สัดส่วนใกล้เคียงกัน มีลูกค้าบางองค์กรเริ่มจากใช้บริการด้านการอบรมและก็ต่อยอดไปใช้การบริการอื่น ๆ ร่วมด้วย ปวรรัตน์ กล่าว
ก้าวต่อไปของ Tact
สู่การได้ร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ Microsoft
“การได้ร่วมงานกับ Microsoft ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากของแทคท์เลยครับ เป็นโอกาสดีที่บริษัทระดับโลกมองเห็นในสิ่งที่เราทำ เราใช้เวลามากกว่า 2 ปี กว่าจะประสบความสำเร็จและได้ทำงานร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft”
“ตอนนี้ได้รับเลือกเป็น Prioritized Partner ของ Microsoft ในการ Implement Microsoft Cloud for Sustainability ซึ่งมีโอกาสอย่างมากที่จะนำเอา AI มาช่วยในการจัดการข้อมูลรวมถึง Optimize ให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและบริหารจัดการประเด็นความยั่งยืนของตนเองได้ดียิ่งขึ้น” ชยุตม์กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ณ ปัจจุบันแทคท์ให้คำปรึกษาในการบริหารจัดการข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรผ่าน Microsoft Cloud for Sustainability (MCfS) ที่จะช่วยบริหารจัดการข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้งใน Excel และ ERP ขององค์กรให้รวมอยู่ในที่เดียวพร้อมช่วยในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จัดทำ Dashboard สำหรับผู้บริหารและ เรียบเรียงข้อมูลทั้ง E , S และ G ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนที่ต้องการ
อนาคตพร้อมเป็น Solutions Provider
หวังเป็น Top of Mind ในเรื่องที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน
ส่วนอนาคต CEO แทคท์ กล่าวว่า มุ่งเน้นที่ “Solution” โดยกลยุทธ์สำคัญคือการเชื่อมโยงกับภาคการเงินที่ต้องการปล่อยสินเชื่อ Green Loan เพื่อเร่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้รวดเร็วและสำคัญต่อกลยุทธ์ด้าน Sustainability
“ความฝันต่อไปของแทคท์คือการเป็น Top of Mind ในเรื่องที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนในประเทศไทย เราตั้งเป้าหมายว่าเราอยากจะพัฒนาและขยาย Services & Solutions ให้ตอบโจทย์ Sustainability Challenges ได้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยก้าวถัดไปคือการขยายจากการให้คำปรึกษาไปสู่การเป็น Solution Provider”
“แทคท์ จะเป็นพาร์ทเนอร์ให้กับการเปลี่ยนแปลงนี้ในสังคมไทย แทคท์มีความตั้งใจที่จะช่วยองค์กรธุรกิจ ยินดีแลกเปลี่ยนเพื่อโลกที่ดีขึ้น ซึ่งตอนนี้แทคท์อยู่ระหว่างการเดินทางสู่เป้าหมายที่จะช่วยขับเคลื่อนประเด็นความยั่งยืนให้เกิดเป็น Action มากขึ้นครับ” ผู้บริหารแทคท์กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tact.in.th
เรากำลังพูดถึง บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด Sustainability Consulting Firm ของไทยที่จะช่วยวางแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนให้เหมาะสมกับองค์กร เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน โดยมีทีมที่ปรึกษาทำงานร่วมกับองค์กร เพื่อศึกษา วางแผนกลยุทธ์ เเละออกแบบวิธีการดำเนินงานที่สามารถวัดผลได้จริง พร้อมจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล
นำทีมโดย ชยุตม์ สกุลคู Co-Founder และ CEO, ปวรรัตน์ ลิสกุลรักษ์ Co-Founder และ COO, ดลพร พิทักษ์สิทธิ์ Co-Founder และ CFO
Tact = Take Action
จุดเริ่มต้นของแทคท์ บริษัทให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืน
บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 จากวิสัยทัศน์ของทีมผู้ก่อตั้งที่มองเห็นปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมว่า ณ ปัจจุบันมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากการที่เคยเป็นนักกิจกรรมค่ายพัฒนาชุมชนในรั้วมหาวิทยาลัย ทำให้ตกตะกอนได้ว่า การทำกิจกรรมเพียงครั้งเดียวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้ แต่จะต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนตั้งแต่วิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลักขององค์กร ธุรกิจ และภาครัฐจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนได้
ชยุตม์ สกุลคู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ แทคท์ ได้เล่าถึงการก่อตั้งบริษัทว่าเกิดจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคมเชิงโครงสร้าง
“Driving Sustainable Transformation” ธงใหญ่ของแทคท์ คือ ‘การลงมือทำ’ ซึ่ง Tact มาจากคำว่า ‘Take Action’ เพราะเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ต้องลงมือทำจริง ดังนั้น แทคท์ จึงไม่ใช่แค่ผู้ให้คำปรึกษา แต่เป็นผู้ลงมือทำร่วมกับองค์กร เพื่อพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง"
กว่า 6 ปี สั่งสมประสบการณ์จนเชี่ยวชาญ
มีลูกค้ามากกว่า 30 องค์กร
ดลพร พิทักษ์สิทธิ์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เล่าถึง Passion ของทีมบริหาร เราให้ความสำคัญกับทีมคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญในด้านความยั่งยืนที่เราให้คำปรึกษา ชยุตม์ นอกจากจะเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรด้าน ESG, บรรยายในหลักสูตรของตลาดหลักทรัพย์และศศินทร์ รวมถึงกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการขยะให้กับกรุงเทพมหานคร, สมาชิกของ Climate Action Leadership รุ่นที่ 3 และผู้อำนวยการหลักสูตรความยั่งยืนสำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรุ่นที่ 4
ปวรรัตน์ อีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคาร์บอน ได้รับการรับรองในการฝึกอบรมการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) และผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับ Chula Zero Waste เป็นต้น
ส่วนตัวดลพร ในฐานะ CFO ได้พาบริษัทเข้าร่วมโครงการทั้งในไทยและต่างประเทศ ช่วยให้ แทคท์ เติบโตเป็น Sustainability Consulting Firm ที่ได้รับเลือกเป็นที่ปรึกษาให้โครงการจากองค์กรใหญ่ ๆ มากมาย โดยสะสมทุนและประสบการณ์ เช่น ได้รับเงินทุนสนับสนุนตั้งแต่ปีแรกที่ก่อตั้งจากโครงการ TED FUND ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับเลือกเป็น 1 ใน 6 ทีมผู้ชนะ จาก 150 ทีมทั่วเอเชียในโครงการ Young Social Entrepreneurs (YSE) ภายใต้ Singapore International Foundation เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG มากมายจากทั่วโลกในปี 2564
“จุดเด่นของ แทคท์ คือการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก เริ่มจากการพูดคุยทำความเข้าใจบริบทและความจำเป็นของลูกค้า เราช่วยดูว่าลูกค้าควรทำเรื่องไหน และเรื่องไหนสำคัญ รวมถึงการบริการที่เหมาะสมกับ Stage ของธุรกิจ แล้วค่อยขยับไปยัง Stage อื่น ๆ ต่อไป โดยแทคท์สามารถปรับการบริการให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม งบประมาณ และ โจทย์ต่าง ๆ ของลูกค้าได้” ดลพรเล่าถึงการทำงานของแทคท์ให้ฟังคร่าว ๆ
ปัจจุบัน แทคท์ เป็นที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนและได้ร่วมงานกับลูกค้าภาคธุรกิจและภาครัฐมากกว่า 30 องค์กร ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงิน การธนาคาร พลังงาน ก่อสร้าง และการท่องเที่ยว เราจัดทำกลยุทธ์และโครงการด้านความยั่งยืน รวมถึงการอบรมเรื่อง ESG, Net Zero และ Carbon Accounting การวัดประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น และการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI ให้กับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกหลายแห่ง
Sustainable Business
ความยั่งยืนส่งผลดีต่อธุรกิจ?
เมื่อเราถามว่า Sustainability คืออะไร ส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างไร? CEO แทคท์ ตอบด้วยรอยยิ้มว่า
“ถ้าพูดถึงคำว่า Sustainability ต้องบอกว่าคือแนวคิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ส่วน คำว่า ESG (Environment - สิ่งแวดล้อม , Social – สังคม และ Governance- ธรรมาภิบาล) คือประเด็นที่ภาคธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจว่าตัวเองเกี่ยวกับประเด็นไหนและบริหารจัดการประเด็นเหล่านั้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประเด็นที่จะเกี่ยวข้องกับบริษัทของเขาแน่ ๆ ก็คือเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนักลงทุนหรือคู่ค้าอาจจะมีคำถามว่าทางบริษัทฯ เริ่มมีการวัดประเมินฟุตพริ๊นท์องค์กรหรือมีแผน Net Zero แล้วหรือยัง ซึ่งจำเป็นจะต้องเขียนรายงานความคืบหน้าและผลลัพธ์ในรายงานความยั่งยืน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าองค์กรได้ทำความเข้าใจและบริหารความเสี่ยงในประเด็นนี้แล้ว”
“หรือ การดูแลพนักงานให้ดีก็เป็น Sustainability อย่างหนึ่งนะครับ อันนี้จะอยู่ในมิติ Social หรือ สังคม ครับ”
“Sustainable Business เราต้องแก้ให้ถูกจุด รับผิดชอบในสิ่งที่ก่อ ดังนั้นในแนวคิดของความยั่งยืนจึงไม่ใช่แค่การทำกิจกรรมเพียงครั้งเดียว ถ้าอยากจะสร้างองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจริง ๆ ต้องฝังเรื่องความยั่งยืนให้ลึกเข้าไปในแนวคิดการดำเนินธุรกิจ เข้าไปวิเคราะห์ว่าอะไรที่เขาไปสร้างผลกระทบและอะไรที่เป็นผลกระทบกับเขา เพราะมันคือกลยุทธ์ทางธุรกิจ”
“แทคท์ ทำหน้าที่ที่ปรึกษาเพื่อช่วยให้องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน ในปัจจุบัน หลายองค์กรเริ่มตระหนักว่าการดำเนินธุรกิจแบบเดิมไม่เพียงพอ แต่บางองค์กรอาจยังขาดองค์ความรู้ ขาดคนช่วยลงมือทำ หรือไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหน บางแห่งอาจยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มทำหรือทำอย่างไร แทคท์จึงมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือในด้านนี้ครับ”
แล้วธุรกิจในไทยตื่นตัวกับเรื่องความยั่งยืนมากแค่ไหน?
“ช่วงที่ก่อตั้งบริษัท บริษัทในไทยส่วนใหญ่ยังรู้จักแต่คำว่า Corporate Social Responsibility (CSR) และมองว่าการทำ CSR เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษา หรือการปลูกป่า เป็นสิ่งเพียงพอ แต่ถ้าลงลึกใน Supply Chain อาจพบว่ามีการปล่อยคาร์บอนสูง โรงงานอาจปล่อยสารพิษ และองค์กรอาจไม่ดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม ก่อนหน้านี้เราอาจคิดว่า CSR เป็นเรื่องที่ทำเมื่อมีเงินเหลือ แต่ปัจจุบันความเสี่ยงด้านความยั่งยืนเริ่มส่งผลต่อนักลงทุนและธนาคารที่ไม่กล้าลงทุน ธุรกิจจึงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะตอนนี้ธนาคารเริ่มมีกฎเกณฑ์ในการปล่อยกู้ โดยพิจารณาว่าจะปล่อยกู้ให้กับบริษัทไหน และเงินจะถูกนำไปลงทุนในอุตสาหกรรมแบบใด บริษัทใหญ่ ๆ มี Supply Chain ที่ซับซ้อนทั่วโลก การผลิตสินค้าแต่ละชิ้นต้องอาศัยหลาย ๆ ที่ ทำให้เอกชนต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นี้ ซึ่งกลายเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ”
“ธุรกิจในไทยยุคก่อนมีงบ CSR พร้อม แต่ไม่รู้ว่าจะทำโครงการที่มีผลลัพธ์ระยะยาวได้อย่างไร แต่ในวันนี้หลายองค์กรขนาดใหญ่ได้ปักวิสัยทัศน์ว่า Sustainability จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้” ดลพรกล่าวเสริม
“ผมมองว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่บริษัทเริ่มทำเรื่องความยั่งยืนจะเปิดโอกาสมใหม่ ๆ ทางธุรกิจ สมัยก่อนเรื่องคาร์บอน ไม่มีใครบังคับให้วัดผล อนาคตอาจจะต้องวัดและเก็บข้อมูลเพื่อให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล มาตรฐานการรายงานจะต้องยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ อาจจะช้าเกินไปที่จะปรับตัวในวันที่ทุกคนเตรียมพร้อมแล้ว ตอนนี้ในไทยถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีกับเรื่องนี้ครับ” ชยุตม์กล่าวเพิ่มเติม
Tact Service พร้อมด้วยการบริการ 4 รูปแบบ
ปวรรัตน์ ลิสกุลรักษ์ Co-Founder และ COO กล่าวถึงการให้บริการของแทคท์ว่า มีด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่ Academy, Advisory, Assessment & Disclose และปัจจุบันกำลังก้าวไปสู่ Step ของ AI for Sustainability
1. Academy
- Training and workshop จัดกิจกรรมอบรมและ Workshop ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและ Climate Change ให้แก่กลุ่มผู้บริหารและพนักงานขององค์กร อาทิ workshop การตั้งเป้าหมายหรือกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัท, การอบรมความรู้ด้าน ESG และการวัดประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และคาร์บอนเครดิต รวมถึงการปลูกฝังแผนงานด้านความยั่งยืนเข้าไปสู่ฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์กร
2. Advisory
- Sustainability Strategy ให้คำปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้กับองค์กร โดยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านยั่งยืน (Materiality assessment) ที่สร้างผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
- Net Zero Strategy ให้คำปรึกษาในการตั้งเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์สำหรับองค์กร โดยตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับ Science Based Target Initiative (SBTi) และแผนการหา solution ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในองค์กร
3. Assessment & Disclosure
- Sustainability reporting and Certificate จัดทำรายงานและยื่นมาตรฐาน/รางวัลด้านความยั่งยืน อาทิ รายงานด้านความยั่งยืนประจำปี (Sustainability report), การรายงาน 56-1 One Report และยื่นการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (ESG rating), สำหรับบริษัทจดทะเบียน, SDG Impact Standard, GRI Standards, TCFD, EcoVadis ฯลฯ
- Carbon footprint accounting ให้คำปรึกษาวัดประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO) และผลิตภัณฑ์ (CFP) ครบจบในที่เดียว ตั้งแต่การวิเคราะห์แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กรและเก็บรวบรวมข้อมูลไปจนถึงคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และเตรียมพร้อมสำหรับการรับรองจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) หรือ ISO 14064 โดยใช้มาตราฐานตามหน่วยงานของไทย และระดับสากล อาทิเช่น TGO, IPCC, GHG Protocol, PCAF
4. AI for Sustainability
- Microsoft Cloud for Sustainability (MCfS) บริหารจัดการข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรแบบ Real-time ผ่าน Microsoft Cloud for Sustainability (MCfS) ที่มีเทคโนโลยี AI ในการช่วยรวมข้อมูลที่กระจัดกระจาย เช่นระบบ ERP , บิลค่าไฟ หรือแหล่งต่าง ๆ ขององค์กร รวบรวมเข้าไปในแพลตฟอร์มเพื่อช่วยในการจัดทำรายงานด้าน ESG ตามมาตรฐานต่าง ๆ และช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา insight สำคัญสำหรับผู้บริหารหรือฝ่ายต่าง ๆ ในการวางแผนกลยุทธ์องค์กร
“ทุกบริการของแทคท์จะให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะทางมายาวนาน เช่น Sustainability consulting & reporting ที่ทางแทคท์ได้พาร์ทเนอร์กับทางสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (SBDi) ผู้ออกแบบหลักสูตรและสอนบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์มากว่า 15 ปี และด้านเทคโนโลยี AI ที่เรา พาร์ทเนอร์กับ Microsoft ที่มีเทคโนโลยีและ Best Practice ของโลกมา Localize กับบริบทในประเทศไทย รวมถึงบริการด้านอื่น ๆ เพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของบริการของเรา”
โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของแทคท์ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาคเอกชนที่ต้องปรับตัวเพื่อบริหารจัดการและรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนให้กับ stakeholders โดยสิ่งนี้มีความสำคัญทั้งผู้ถือหุ้น นักลงทุนและคู่ค้าใน supply chain, กลุ่มภาคเอกชนผู้ส่งออกในกลุ่ม carbon-intensive เช่น ผู้ผลิตเหล็ก ซีเมนต์ ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) และกลุ่มบริษัทที่ผู้บริหารมองหาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจที่มุ่งเน้นกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ซึ่งลูกค้าของของแทคท์จะมีทั้ง 3 กลุ่ม สัดส่วนใกล้เคียงกัน มีลูกค้าบางองค์กรเริ่มจากใช้บริการด้านการอบรมและก็ต่อยอดไปใช้การบริการอื่น ๆ ร่วมด้วย ปวรรัตน์ กล่าว
ก้าวต่อไปของ Tact
สู่การได้ร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ Microsoft
“การได้ร่วมงานกับ Microsoft ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากของแทคท์เลยครับ เป็นโอกาสดีที่บริษัทระดับโลกมองเห็นในสิ่งที่เราทำ เราใช้เวลามากกว่า 2 ปี กว่าจะประสบความสำเร็จและได้ทำงานร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft”
“ตอนนี้ได้รับเลือกเป็น Prioritized Partner ของ Microsoft ในการ Implement Microsoft Cloud for Sustainability ซึ่งมีโอกาสอย่างมากที่จะนำเอา AI มาช่วยในการจัดการข้อมูลรวมถึง Optimize ให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและบริหารจัดการประเด็นความยั่งยืนของตนเองได้ดียิ่งขึ้น” ชยุตม์กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ณ ปัจจุบันแทคท์ให้คำปรึกษาในการบริหารจัดการข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรผ่าน Microsoft Cloud for Sustainability (MCfS) ที่จะช่วยบริหารจัดการข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้งใน Excel และ ERP ขององค์กรให้รวมอยู่ในที่เดียวพร้อมช่วยในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จัดทำ Dashboard สำหรับผู้บริหารและ เรียบเรียงข้อมูลทั้ง E , S และ G ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนที่ต้องการ
อนาคตพร้อมเป็น Solutions Provider
หวังเป็น Top of Mind ในเรื่องที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน
ส่วนอนาคต CEO แทคท์ กล่าวว่า มุ่งเน้นที่ “Solution” โดยกลยุทธ์สำคัญคือการเชื่อมโยงกับภาคการเงินที่ต้องการปล่อยสินเชื่อ Green Loan เพื่อเร่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้รวดเร็วและสำคัญต่อกลยุทธ์ด้าน Sustainability
“ความฝันต่อไปของแทคท์คือการเป็น Top of Mind ในเรื่องที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนในประเทศไทย เราตั้งเป้าหมายว่าเราอยากจะพัฒนาและขยาย Services & Solutions ให้ตอบโจทย์ Sustainability Challenges ได้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยก้าวถัดไปคือการขยายจากการให้คำปรึกษาไปสู่การเป็น Solution Provider”
“แทคท์ จะเป็นพาร์ทเนอร์ให้กับการเปลี่ยนแปลงนี้ในสังคมไทย แทคท์มีความตั้งใจที่จะช่วยองค์กรธุรกิจ ยินดีแลกเปลี่ยนเพื่อโลกที่ดีขึ้น ซึ่งตอนนี้แทคท์อยู่ระหว่างการเดินทางสู่เป้าหมายที่จะช่วยขับเคลื่อนประเด็นความยั่งยืนให้เกิดเป็น Action มากขึ้นครับ” ผู้บริหารแทคท์กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tact.in.th