จากความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่น บวกกับจุดแข็งเรื่องความเข้าใจในการติดต่อประสานงานกับคนญี่ปุ่นด้วยประสบการณ์ที่มีมากกว่าทศวรรษ จึงก่อตั้ง บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ขึ้นมา ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาด การบริหารจัดการโครงการ และประสานงานด้านธุรกิจให้แก่หน่วยงานภาครัฐไทย-ญี่ปุ่น รวมถึงจับคู่เจรจาธุรกิจ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับองค์กรธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นมากมาย
คุยกับ กันตธร วรรณวสุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด และ ผู้ริเริ่มและดำเนินโครงการ TJRI (Thai – Japanese Investment Research Institute) ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมทำหน้าที่เป็น Investor Relations ช่วยให้ไทยรู้จักญี่ปุ่น และญี่ปุ่นรู้จักไทยให้มากขึ้น
โดยจะมาเปิดเผยถึงความเป็นมาของบริษัท วิสัยทัศน์ รวมถึงมุมมองต่อความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต
จากล่ามฟรีแลนซ์ สู่องค์กรมุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น
กันตธร วรรณวสุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด เริ่มต้นเล่าถึงที่มาและแรงบันดาลใจในการก่อตั้งบริษัทว่า เกิดจากโอกาสที่ได้ไปศึกษาและทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นมามากกว่า 10 ปี และด้วยความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นบวกกับประสบการณ์ที่ได้จากการทำงาน หลังจากนั้นจึงได้กลับมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2552 และได้ก่อตั้งบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ขึ้นมา ด้วยวัย 29 ปี
“ผมมีโอกาสได้เรียนมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นและทำงานที่สถานทูตไทยในญี่ปุ่น การได้ไปไขว่คว้าหาความรู้และประสบการณ์ในต่างประเทศเป็นโอกาสที่สำคัญมากสำหรับคนธรรมดาทั่วไปอย่างผม และยิ่งตอกย้ำความคิดที่อยากนำทุกสิ่งที่ได้เรียนรู้มาสร้างประโยชน์ แล้วส่งต่อให้กับคนอื่นให้ได้มากที่สุด พอกลับมาไทยผมเลยมานั่งคิดว่าเราทำอะไรได้บ้าง ซึ่งสิ่งที่ผมถนัดมากที่สุดก็คือ ภาษาญี่ปุ่นและความเข้าใจในการติดต่อประสานงานกับคนญี่ปุ่น ผมจึงจดทะเบียนบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552”
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด เล่าต่อถึงประสบการณ์การทำงานหลังจากเปิดบริษัทฯ ว่า หลังจากเปิดบริษัทก็ได้ทำงานเป็นล่ามฟรีแลนซ์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความสนใจจากองค์กรยักษ์ใหญ่อย่างองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ เจโทร กรุงเทพฯ จนได้รับโอกาสจากงานเล็กขยับขยายสู่งานที่ใหญ่ขึ้น
“พอเปิดบริษัทได้สักระยะ ผมก็ได้มาทำงานกับเจโทร กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2554 ซึ่งผมน่าจะเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ได้ทำงานร่วมกับเจโทร โดยเริ่มต้นจากงานเล็ก ๆ แล้วขยับไปงานที่สเกลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้ ยกตัวอย่างงานผลงานล่าสุด เช่น JETRO Bangkok 70th Anniversary Forum งานสัมมนาฉลองครบรอบ 70 ปี JETRO กรุงเทพฯ, JAPAN PREMIUM FOOD สัมผัสความอร่อยแบบญี่ปุ่นแท้, JAPAN PREMIUM HOTATE - From HOKKAIDO Ocean to your Table ซึ่งมี นาย Sakamoto Tetsushi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่นให้เกียรติร่วมงาน, Harmony of Tastes: JAPAN Food on Tour 2024 in Phuket งานแสดงสินค้าอาหารและวัตถุดิบนำเข้าจากญี่ปุ่น ณ จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น”
“จากเดิมที่เราเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ประสานงานให้กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่น แต่วันนี้เราได้ทำงานจับคู่เจรจาธุรกิจ ระหว่างบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่นมากมาย ดังนั้นเราจึงรู้ว่าไทยต้องการอะไร ญี่ปุ่นต้องการอะไร และการที่เราเข้าใจถึงความต้องการนั้น ๆ เราจึงช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสองประเทศ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย”
ปัจจุบัน บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการตลาดและการบริหารจัดการให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชนชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจตลาด B2B และ B2C ของประเทศไทย, ทำการตลาดออฟไลน์ ออนไลน์ (จัดงานแสดงสินค้า, งานอีเวนท์, ประชาสัมพันธ์, ผลิตสื่อโฆษณา), จับคู่ธุรกิจออฟไลน์ ออนไลน์ (จัดงานเจรจาจับคู่ธุรกิจ, ขยายช่องทางการจัดจำหน่าย) และบริหารจัดการโครงการ TJRI แพลตฟอร์มจับคู่ B2B ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น
โครงการ TJRI แพลตฟอร์มเบอร์ต้น ๆ
เพื่อจับคู่เจรจาธุรกิจ เชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่น
กันตธร อธิบายถึงโครงการ TJRI (Thai-Japanese Investment Research Institute : ศูนย์วิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย) ว่า เป็นโครงการที่ริเริ่มและดำเนินการโดยบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ทำงานเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงาน เพื่อให้เกิดกรอบความร่วมมือและความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ ไม่จำกัดเฉพาะการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้า แต่เป็นการร่วมคิดร่วมสร้างโดยใช้จุดแข็งของแต่ละประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากลของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน
“โครงการนี้เกิดจากมุมมองความคิดโดยส่วนตัวของผม เนื่องจากมีข่าวที่ว่าญี่ปุ่นเริ่มสนใจที่จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนามหรืออินโดนีเซียมากขึ้น ซึ่งโดยลักษณะนิสัยของนักลงทุนญี่ปุ่นแล้ว ก่อนหน้าการลงทุนในประเทศใดก็ตาม ส่วนใหญ่จะชอบศึกษาข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ เช่น ดู GDP เฉลี่ยต่อจำนวนประชากรว่ากี่พันเหรียญ, ดูอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจว่ามีการเติบโตกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี, ดูค่าแรงขั้นต่ำ ดูอายุเฉลี่ยของประชากร ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าดูสถิติตัวเลขแบบนี้ ประเทศไทยเราแพ้เวียดนาม ตรงนี้จึงเป็นจุดอ่อนที่เห็นได้ชัด แต่กลับกันไทยมีจุดเด่นเรื่องเกษตรกรรม อาหารแปรรูป อาหารเสริมและยา ซึ่งตรงนี้หากเราไปเน้นเรื่องอุตสาหกรรมที่ต่อยอดจากเกษตรกรรม อุตสาหกรรมอาหาร ไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) หรือเทคโนโลยีชีวภาพ จะสามารถชวนนักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนได้ เพราะเขามองว่าเป็นเรื่องที่ดีและต่อยอดไปได้”
“ในไทยมีบริษัทญี่ปุ่นมากถึง 5,000-6,000 บริษัท โดยเกินครึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต ขณะเดียวกันเรามีผู้ประกอบการไทยที่อยู่ใน Supply Chain อุตสาหกรรมการผลิตเยอะมาก และแบ่งออกเป็น Tier 1 2 3 รองลงมา ตอนนี้ปัญหาหลัก ๆ คือเรายังคุยกันไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องมีเวทีเพื่อสร้างโอกาสให้เขาได้มาพูดคุยกันมากขึ้น และตรงนี้คือสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ เพราะเราคาดหวังว่าทางญี่ปุ่นจะมีการปรับตัวและมองประเทศไทยเป็นตลาดสำหรับเริ่มทำธุรกิจใหม่ ไม่ใช่มองประเทศไทยในเชิงฐานการผลิตเท่านั้น เพราะจริง ๆ ภาคเอกชนไทยเองก็มีดีเยอะมาก เรามีบริษัทเก่ง ๆ คนเก่ง ๆ เยอะมาก จึงน่าจะช่วยส่งเสริมตรงนี้ได้”
คุณกันตธรได้เล่าต่ออีกว่า เนื่องจากสังคมไทยกับญี่ปุ่นเป็นวัฒนธรรมแบบ 'High-context culture' หรือ วัฒนธรรมบริบทสูง ที่มักจะใช้การรูปแบบสื่อสาร หรือการเจรจาพูดคุยกันแบบอ้อมค้อม เน้นการถนอมน้ำใจอีกฝ่าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว ซึ่งมองว่าไทยและญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการทำงานคล้าย ๆ กัน โดยมีข้อเสียคือ กว่าคนญี่ปุ่นที่ถูกส่งมาทำงาน 3-5 ปีจะปรับตัวได้ก็ต้องบินกลับแล้ว จึงไม่ได้ทำความรู้จักกับคนไทย บริษัทไทย ผู้บริหารไทยนอกองค์กรเลย แต่ญี่ปุ่นมีความโดดเด่นเรื่องการพัฒนาคน การสอนคน และให้โอกาสคนในการทำงาน ดังนั้นตอนนี้ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มผลักดันคนไทยให้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารขององค์กร รวมถึงให้คนไทยมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยลดปัญหาเรื่องดังกล่าวลงได้ และมองว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับอนาคต
โดยกิจกรรมหลักของโครงการ TJRI ได้แก่
1. Executive Interview เชิญนักธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นร่วมสัมภาษณ์ เพื่อทำเป็นบทความภาษาญี่ปุ่นลงในสื่อต่าง ๆ ของโครงการ
2. Open Innovation Talk เชิญนักธุรกิจไทยร่วมเป็นแขกรับเชิญในงานสัมมนา พร้อมเล่าถึงทิศทางธุรกิจและความต้องการของบริษัท เพื่อหาพาร์ทเนอร์บริษัทญี่ปุ่น
3. Business Mission เปิดรับคณะนักลงทุนญี่ปุ่น เพื่อเยี่ยมชมสำนักงานหรือโรงงานของบริษัทในไทย เพื่อหาพาร์ทเนอร์บริษัทญี่ปุ่น
4. Business Seminar สัมมนาฝึกอมรมเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างคนญี่ปุ่น-คนไทย
5. Business Networking ร่วมกับสมาคมต่าง ๆ ของไทย เข้าร่วมงาน Networking Event เพื่อสร้าง Connection ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
“ที่ผ่านมา TJRI มีการสัมภาษณ์บริษัทไทยและผู้บริหารไทยมากมาย อาทิ คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการบริหารของดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น, คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานกรรมการบริหารของธนาคารกสิกรไทย, คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน เป็นต้น
รวมถึงพานักลงทุนญี่ปุ่นเข้าเยี่ยมชมโรงงานและบริษัทในไทย เพื่อมุ่งหาความร่วมมือกับบริษัทไทยผ่านการดูสถานที่จริง อาทิ การนำคณะนักลงทุนจากบริษัทชั้นนำเยือน TCP Legacy Museum พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาและความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตเครื่องดื่มยอดนิยมอย่าง “กระทิงแดง” หรือ “Red Bull”, พานักลงทุนญี่ปุ่นเปิดบ้าน CPF เยี่ยมชมศูนย์วิจัย RD Center, พานักธุรกิจชาวญี่ปุ่นไปเยี่ยมชมโรงงานที่บริษัท บางกอกแล็ปแอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและนักวิจัยผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพชั้นนำของประเทศไทย เป็นต้น”
“นอกจากนี้ยังจัดงานสัมมนา เปิดโอกาสให้บริษัทไทยเล่าถึงความต้องการทางธุรกิจและโอกาสสร้างความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อหาพาร์ทเนอร์จากญี่ปุ่น รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ TJRI โดยมีบริษัทในไทยมากมายที่ตอบรับเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมบรรยาย เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.Group), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG Group), บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน), บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), ,บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด, บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด, บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), , บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) และ และบริษัทชั้นนำอื่น ๆ
“อีกทั้งยังมีการจัดสัมมนาร่วมกับ Sasin Japan Center ในหัวข้อ HR Market และ Family Business พร้อมเข้าร่วม Talk Stage ในงาน Sustainability Expo 2023 เพื่อแนะนำบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่น และนำเสนอเทคโนโลยีด้านความยั่งยืน อีกทั้งยังมีงานสัมมนาอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำเพื่อให้ธุรกิจญี่ปุ่นกับไทยได้มีจุดเชื่อมต่อกันมากขึ้น”
THAIBIZ นิตยสารธุรกิจรายเดือน ทำหน้าที่ IR หนุนไทย-ญี่ปุ่น
หวังกระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจไปด้วยกัน
บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ผลิตเนื้อหาสื่อเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นผ่านโครงการ TJRI ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ได้เข้ารับช่วงต่อกิจการสื่อธุรกิจรายเดือนภาษาญี่ปุ่น “ArayZ” และ “ArayZ ONLINE” โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “THAIBIZ” นิตยสารฟรีรายเดือน (Free Copy) ที่พร้อมนำเสนอข้อมูลน่ารู้ และให้คำปรึกษาแก่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทย
“ความคาดหวังของผมก็คือ อยากทำให้ธุรกิจไทยกับญี่ปุ่นรู้จักกันมากขึ้น จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘THAIBIZ’ และตั้งใจนำผู้บริหารญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมถึงผู้บริหารไทยมาขึ้นปกและสัมภาษณ์พิเศษ พร้อมสอดแทรกเรื่องของธุรกิจไทยหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในทุก ๆ ฉบับ”
โดยนิตยสาร THAIBIZ เปิดตัวฉบับแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ด้วยบทสัมภาษณ์พิเศษจาก CEO บริษัท DENSO (Thailand) ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำระดับโลก ร่วมบอกเล่าวิสัยทัศน์ของบริษัท พร้อมเผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ ในฐานะบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี
นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ผู้บริหารไทย เช่น คุณรวิศ หาญอุตสาหะ จากบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ แบรนด์เครื่องสำอางไทยอายุกว่า 70 ปี มาแนะนำเกี่ยวกับเคล็ดลับการปรับภาพลักษณ์องค์กรหรือการรีแบรนด์, คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ที่มาแนะนำเรื่อง Smart City, คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน จากเอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป มาบอกเล่าเกี่ยวกับแนวคิดการทำธุรกิจร้านอาหารในไทย เป็นต้น
“ตัวผมเองก็มีส่วนร่วมเขียนบทความลงใน THAIBIZ อยู่เรื่อย ๆ และมีอีกหลายบทความที่ได้ที่ปรึกษาญี่ปุ่นมาเขียนให้ เช่น บทวิเคราะห์กรณี Suzuki ถอนตัวออกจากการผลิตในไทย, ทำไมคนไทยถึงลาออกจากบริษัทญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะทำให้ประเทศไทยไปปรากฏในสื่อญี่ปุ่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น NHK สถานีข่าวเบอร์ 1 ของประเทศญี่ปุ่น โดยทีมงานเดินทางมาทำข่าวนี้เองและออกอากาศไปกว่า 3-4 ครั้ง, Asahi Shimbun ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ของญี่ปุ่นมาสัมภาษณ์ผมเรื่องข้อจำกัดหรืออุปสรรคของบริษัทญี่ปุ่น, สื่อธุรกิจใหญ่อย่าง Nikkei Business สัมภาษณ์เรื่องมุมมองของผมต่ออนาคตของอาเซียน และต่อมาก็มีสื่อญี่ปุ่นมาขอสัมภาษณ์ผมอยู่เรื่อย ๆ ทำให้มีชื่อของผมปรากฏในสื่อญี่ปุ่นที่เป็นที่ยอมรับหลายแห่ง คนญี่ปุ่นอยู่ในเมืองไทยเยอะก็จริง แต่มักจะคุยในหมู่คนญี่ปุ่นด้วยกันเอง ทำให้ขาดข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ดังนั้นผมจึงพยายามทำให้ตัวเองมีบทบาทในสื่อญี่ปุ่นให้ได้มากที่สุด เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นในวงธุรกิจไทยให้คนญี่ปุ่นได้รับทราบ ซึ่งแค่นี้ผมรู้สึกว่าประโยชน์ก็มหาศาลแล้ว”
นายกันตธร เล่าถึงมุมมองว่าเหตุผลที่ยังคงทำสื่อรูปแบบกระดาษ เพราะมองว่ายังมีคนญี่ปุ่นที่มาไทยแล้วยังไม่รู้จักไทย รวมถึงไม่ค่อยได้มีโอกาสได้พูดคุยกับคนไทยหรือคนญี่ปุ่นต่างองค์กรเท่าไหร่ ดังนั้นกระดาษจึงทำหน้าที่เหมือนนามบัตร ทำให้เขาได้รู้จักเมืองไทยมากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ THAIBIZ ครอบคลุมทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ประกอบด้วยเว็บไซต์ จดหมายข่าวประจำวันที่จัดส่งให้แก่สมาชิกทางอีเมลราว 360,000 ฉบับต่อเดือน และนิตยสารรายเดือนแจกฟรี (Free Copy) ส่งตรงถึงบริษัทญี่ปุ่นกว่า 1,700 บริษัท พร้อมวางแจกที่ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม และจุดต่าง ๆ ที่มีชาวญี่ปุ่นมาใช้บริการเป็นประจำราว 10,000 ฉบับต่อเดือน อาทิ Fuji Supermarket ทุกสาขา, โรงแรมนิกโก้ ทองหล่อ, ร้านหนังสือคิโนะคุนิยะ สาขาศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ และโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ทั้งนี้สามารถอ่านบทความออนไลน์ได้ที่ทาง https://th-biz.com/
ปัจจุบัน เครือข่ายสมาชิกของ THAIBIZ ครอบคลุมทั้งนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในไทยและญี่ปุ่นมากกว่า 12,000 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ กลุ่มผู้บริหารหรือคนญี่ปุ่นที่มีความสนใจและอยากเรียนรู้เรื่องธุรกิจในประเทศไทย
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า THAIBIZ จะทำหน้าที่สื่อกลางเสมือนนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations : IR) ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับนักลงทุนญี่ปุ่น คอยช่วยดูแลนักลงทุนชาวญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมกับเป็นช่องทางสำหรับบริษัทไทยที่อยากเข้าถึงบริษัทญี่ปุ่น โดยหวังที่จะช่วยยกระดับความร่วมมือ ดึงญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งให้ไทย-ญี่ปุ่นเติบโตทางธุรกิจไปด้วยกัน” นายกันตธรกล่าว
5 Steps กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ
มองทิศทางการเติบโตของธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น ในอนาคต
เมื่อถามถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ และทิศทางในอนาคต กันตธรมอง 5 Steps ดังนี้
1. Business Matching and Networking สร้างจุดเชื่อมต่อทำให้ธุรกิจไทยกับญี่ปุ่นได้รู้จักและมีโอกาสทำธุรกิจร่วมกัน สำหรับญี่ปุ่นที่ลงทุนแล้วในประเทศไทย
2. Thai Adaptation and Localization ทำให้ญี่ปุ่นที่ลงทุนแล้วปรับตัวและปฏิรูปการทำงานให้เหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบไทย
3. B2B Marketing ทำให้รู้จักประเทศไทยและญี่ปุ่นในมุมธุรกิจมากขึ้น ผ่านการใช้สื่อและจัดงานอีเวนท์ สำหรับญี่ปุ่นที่ลงทุนแล้วหรือยังไม่ได้ลงทุนในประเทศไทย
4. Exhibitions and Conference Organization ทำให้รู้จักประเทศไทยและญี่ปุ่นในมุมธุรกิจมากขึ้น ผ่านการจัดงานขนาดใหญ่ สำหรับญี่ปุ่นที่ยังไม่ได้ลงทุนหรือสนใจทำธุรกิจในประเทศไทย
5. Media Management ทำให้รู้จักประเทศไทยและญี่ปุ่นในมุมธุรกิจมากขึ้นผ่านสื่อญี่ปุ่นธุรกิจทุกรูปแบบ (ทั้งลงทุนแล้ว ยังไม่ได้ลงทุน และทำธุรกิจกับพาร์ทเนอร์ เป็นต้น)
“KPI ที่ใช้วัดความสำเร็จของผมไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ยอดขายหรือผลกำไร แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผมอยากสร้างอิมแพคให้กับประเทศไทย โดยมีความตั้งใจคืออยากให้คนไทยรู้จักญี่ปุ่นในเชิงที่เป็นมุมธุรกิจมากขึ้น และอยากให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปอยู่ในสื่อของญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อให้นักลงทุนญี่ปุ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งมีข้อมูลประเทศไทยเป็นภาษาญี่ปุ่นมากเท่าไหร่ ประเทศไทยจะเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเท่านั้น สุดท้ายผมอยากจะสร้างให้บริษัทไทยที่อยู่ในตลาดหุ้นกับบริษัทญี่ปุ่นได้พูดคุยกันและมีความร่วมมือกันมากขึ้น
โดยเป้าหมายต่อไปในปี 2568 ผมตั้งใจจะจัดงานเกี่ยวกับธุรกิจญี่ปุ่น โดยมีตั้งแต่นักลงทุน ผู้ประกอบการ และนักธุรกิจ ส่วนผู้ร่วมงานผมอยากให้เป็นคนไทยทั่วไปที่สนใจเรื่องการทำงาน การทำธุรกิจ หรือเทคนิคอะไรที่เกี่ยวกับญี่ปุ่น นี่คือเป้าหมายที่อยากทำให้เกิดขึ้น” กันตธรกล่าวทิ้งท้าย
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ >> https://th-biz.com/
Facebook : https://www.facebook.com/team.mediator
คุยกับ กันตธร วรรณวสุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด และ ผู้ริเริ่มและดำเนินโครงการ TJRI (Thai – Japanese Investment Research Institute) ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมทำหน้าที่เป็น Investor Relations ช่วยให้ไทยรู้จักญี่ปุ่น และญี่ปุ่นรู้จักไทยให้มากขึ้น
โดยจะมาเปิดเผยถึงความเป็นมาของบริษัท วิสัยทัศน์ รวมถึงมุมมองต่อความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต
จากล่ามฟรีแลนซ์ สู่องค์กรมุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น
กันตธร วรรณวสุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด เริ่มต้นเล่าถึงที่มาและแรงบันดาลใจในการก่อตั้งบริษัทว่า เกิดจากโอกาสที่ได้ไปศึกษาและทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นมามากกว่า 10 ปี และด้วยความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นบวกกับประสบการณ์ที่ได้จากการทำงาน หลังจากนั้นจึงได้กลับมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2552 และได้ก่อตั้งบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ขึ้นมา ด้วยวัย 29 ปี
“ผมมีโอกาสได้เรียนมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นและทำงานที่สถานทูตไทยในญี่ปุ่น การได้ไปไขว่คว้าหาความรู้และประสบการณ์ในต่างประเทศเป็นโอกาสที่สำคัญมากสำหรับคนธรรมดาทั่วไปอย่างผม และยิ่งตอกย้ำความคิดที่อยากนำทุกสิ่งที่ได้เรียนรู้มาสร้างประโยชน์ แล้วส่งต่อให้กับคนอื่นให้ได้มากที่สุด พอกลับมาไทยผมเลยมานั่งคิดว่าเราทำอะไรได้บ้าง ซึ่งสิ่งที่ผมถนัดมากที่สุดก็คือ ภาษาญี่ปุ่นและความเข้าใจในการติดต่อประสานงานกับคนญี่ปุ่น ผมจึงจดทะเบียนบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552”
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด เล่าต่อถึงประสบการณ์การทำงานหลังจากเปิดบริษัทฯ ว่า หลังจากเปิดบริษัทก็ได้ทำงานเป็นล่ามฟรีแลนซ์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความสนใจจากองค์กรยักษ์ใหญ่อย่างองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ เจโทร กรุงเทพฯ จนได้รับโอกาสจากงานเล็กขยับขยายสู่งานที่ใหญ่ขึ้น
“พอเปิดบริษัทได้สักระยะ ผมก็ได้มาทำงานกับเจโทร กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2554 ซึ่งผมน่าจะเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ได้ทำงานร่วมกับเจโทร โดยเริ่มต้นจากงานเล็ก ๆ แล้วขยับไปงานที่สเกลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้ ยกตัวอย่างงานผลงานล่าสุด เช่น JETRO Bangkok 70th Anniversary Forum งานสัมมนาฉลองครบรอบ 70 ปี JETRO กรุงเทพฯ, JAPAN PREMIUM FOOD สัมผัสความอร่อยแบบญี่ปุ่นแท้, JAPAN PREMIUM HOTATE - From HOKKAIDO Ocean to your Table ซึ่งมี นาย Sakamoto Tetsushi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่นให้เกียรติร่วมงาน, Harmony of Tastes: JAPAN Food on Tour 2024 in Phuket งานแสดงสินค้าอาหารและวัตถุดิบนำเข้าจากญี่ปุ่น ณ จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น”
“จากเดิมที่เราเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ประสานงานให้กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่น แต่วันนี้เราได้ทำงานจับคู่เจรจาธุรกิจ ระหว่างบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่นมากมาย ดังนั้นเราจึงรู้ว่าไทยต้องการอะไร ญี่ปุ่นต้องการอะไร และการที่เราเข้าใจถึงความต้องการนั้น ๆ เราจึงช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสองประเทศ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย”
ปัจจุบัน บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการตลาดและการบริหารจัดการให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชนชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจตลาด B2B และ B2C ของประเทศไทย, ทำการตลาดออฟไลน์ ออนไลน์ (จัดงานแสดงสินค้า, งานอีเวนท์, ประชาสัมพันธ์, ผลิตสื่อโฆษณา), จับคู่ธุรกิจออฟไลน์ ออนไลน์ (จัดงานเจรจาจับคู่ธุรกิจ, ขยายช่องทางการจัดจำหน่าย) และบริหารจัดการโครงการ TJRI แพลตฟอร์มจับคู่ B2B ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น
โครงการ TJRI แพลตฟอร์มเบอร์ต้น ๆ
เพื่อจับคู่เจรจาธุรกิจ เชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่น
กันตธร อธิบายถึงโครงการ TJRI (Thai-Japanese Investment Research Institute : ศูนย์วิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย) ว่า เป็นโครงการที่ริเริ่มและดำเนินการโดยบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ทำงานเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงาน เพื่อให้เกิดกรอบความร่วมมือและความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ ไม่จำกัดเฉพาะการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้า แต่เป็นการร่วมคิดร่วมสร้างโดยใช้จุดแข็งของแต่ละประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากลของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน
“โครงการนี้เกิดจากมุมมองความคิดโดยส่วนตัวของผม เนื่องจากมีข่าวที่ว่าญี่ปุ่นเริ่มสนใจที่จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนามหรืออินโดนีเซียมากขึ้น ซึ่งโดยลักษณะนิสัยของนักลงทุนญี่ปุ่นแล้ว ก่อนหน้าการลงทุนในประเทศใดก็ตาม ส่วนใหญ่จะชอบศึกษาข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ เช่น ดู GDP เฉลี่ยต่อจำนวนประชากรว่ากี่พันเหรียญ, ดูอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจว่ามีการเติบโตกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี, ดูค่าแรงขั้นต่ำ ดูอายุเฉลี่ยของประชากร ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าดูสถิติตัวเลขแบบนี้ ประเทศไทยเราแพ้เวียดนาม ตรงนี้จึงเป็นจุดอ่อนที่เห็นได้ชัด แต่กลับกันไทยมีจุดเด่นเรื่องเกษตรกรรม อาหารแปรรูป อาหารเสริมและยา ซึ่งตรงนี้หากเราไปเน้นเรื่องอุตสาหกรรมที่ต่อยอดจากเกษตรกรรม อุตสาหกรรมอาหาร ไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) หรือเทคโนโลยีชีวภาพ จะสามารถชวนนักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนได้ เพราะเขามองว่าเป็นเรื่องที่ดีและต่อยอดไปได้”
“ในไทยมีบริษัทญี่ปุ่นมากถึง 5,000-6,000 บริษัท โดยเกินครึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต ขณะเดียวกันเรามีผู้ประกอบการไทยที่อยู่ใน Supply Chain อุตสาหกรรมการผลิตเยอะมาก และแบ่งออกเป็น Tier 1 2 3 รองลงมา ตอนนี้ปัญหาหลัก ๆ คือเรายังคุยกันไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องมีเวทีเพื่อสร้างโอกาสให้เขาได้มาพูดคุยกันมากขึ้น และตรงนี้คือสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ เพราะเราคาดหวังว่าทางญี่ปุ่นจะมีการปรับตัวและมองประเทศไทยเป็นตลาดสำหรับเริ่มทำธุรกิจใหม่ ไม่ใช่มองประเทศไทยในเชิงฐานการผลิตเท่านั้น เพราะจริง ๆ ภาคเอกชนไทยเองก็มีดีเยอะมาก เรามีบริษัทเก่ง ๆ คนเก่ง ๆ เยอะมาก จึงน่าจะช่วยส่งเสริมตรงนี้ได้”
คุณกันตธรได้เล่าต่ออีกว่า เนื่องจากสังคมไทยกับญี่ปุ่นเป็นวัฒนธรรมแบบ 'High-context culture' หรือ วัฒนธรรมบริบทสูง ที่มักจะใช้การรูปแบบสื่อสาร หรือการเจรจาพูดคุยกันแบบอ้อมค้อม เน้นการถนอมน้ำใจอีกฝ่าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว ซึ่งมองว่าไทยและญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการทำงานคล้าย ๆ กัน โดยมีข้อเสียคือ กว่าคนญี่ปุ่นที่ถูกส่งมาทำงาน 3-5 ปีจะปรับตัวได้ก็ต้องบินกลับแล้ว จึงไม่ได้ทำความรู้จักกับคนไทย บริษัทไทย ผู้บริหารไทยนอกองค์กรเลย แต่ญี่ปุ่นมีความโดดเด่นเรื่องการพัฒนาคน การสอนคน และให้โอกาสคนในการทำงาน ดังนั้นตอนนี้ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มผลักดันคนไทยให้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารขององค์กร รวมถึงให้คนไทยมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยลดปัญหาเรื่องดังกล่าวลงได้ และมองว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับอนาคต
โดยกิจกรรมหลักของโครงการ TJRI ได้แก่
1. Executive Interview เชิญนักธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นร่วมสัมภาษณ์ เพื่อทำเป็นบทความภาษาญี่ปุ่นลงในสื่อต่าง ๆ ของโครงการ
2. Open Innovation Talk เชิญนักธุรกิจไทยร่วมเป็นแขกรับเชิญในงานสัมมนา พร้อมเล่าถึงทิศทางธุรกิจและความต้องการของบริษัท เพื่อหาพาร์ทเนอร์บริษัทญี่ปุ่น
3. Business Mission เปิดรับคณะนักลงทุนญี่ปุ่น เพื่อเยี่ยมชมสำนักงานหรือโรงงานของบริษัทในไทย เพื่อหาพาร์ทเนอร์บริษัทญี่ปุ่น
4. Business Seminar สัมมนาฝึกอมรมเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างคนญี่ปุ่น-คนไทย
5. Business Networking ร่วมกับสมาคมต่าง ๆ ของไทย เข้าร่วมงาน Networking Event เพื่อสร้าง Connection ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
“ที่ผ่านมา TJRI มีการสัมภาษณ์บริษัทไทยและผู้บริหารไทยมากมาย อาทิ คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการบริหารของดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น, คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานกรรมการบริหารของธนาคารกสิกรไทย, คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน เป็นต้น
รวมถึงพานักลงทุนญี่ปุ่นเข้าเยี่ยมชมโรงงานและบริษัทในไทย เพื่อมุ่งหาความร่วมมือกับบริษัทไทยผ่านการดูสถานที่จริง อาทิ การนำคณะนักลงทุนจากบริษัทชั้นนำเยือน TCP Legacy Museum พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาและความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตเครื่องดื่มยอดนิยมอย่าง “กระทิงแดง” หรือ “Red Bull”, พานักลงทุนญี่ปุ่นเปิดบ้าน CPF เยี่ยมชมศูนย์วิจัย RD Center, พานักธุรกิจชาวญี่ปุ่นไปเยี่ยมชมโรงงานที่บริษัท บางกอกแล็ปแอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและนักวิจัยผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพชั้นนำของประเทศไทย เป็นต้น”
“นอกจากนี้ยังจัดงานสัมมนา เปิดโอกาสให้บริษัทไทยเล่าถึงความต้องการทางธุรกิจและโอกาสสร้างความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อหาพาร์ทเนอร์จากญี่ปุ่น รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ TJRI โดยมีบริษัทในไทยมากมายที่ตอบรับเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมบรรยาย เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.Group), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG Group), บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน), บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), ,บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด, บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด, บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), , บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) และ และบริษัทชั้นนำอื่น ๆ
“อีกทั้งยังมีการจัดสัมมนาร่วมกับ Sasin Japan Center ในหัวข้อ HR Market และ Family Business พร้อมเข้าร่วม Talk Stage ในงาน Sustainability Expo 2023 เพื่อแนะนำบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่น และนำเสนอเทคโนโลยีด้านความยั่งยืน อีกทั้งยังมีงานสัมมนาอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำเพื่อให้ธุรกิจญี่ปุ่นกับไทยได้มีจุดเชื่อมต่อกันมากขึ้น”
THAIBIZ นิตยสารธุรกิจรายเดือน ทำหน้าที่ IR หนุนไทย-ญี่ปุ่น
หวังกระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจไปด้วยกัน
บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ผลิตเนื้อหาสื่อเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นผ่านโครงการ TJRI ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ได้เข้ารับช่วงต่อกิจการสื่อธุรกิจรายเดือนภาษาญี่ปุ่น “ArayZ” และ “ArayZ ONLINE” โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “THAIBIZ” นิตยสารฟรีรายเดือน (Free Copy) ที่พร้อมนำเสนอข้อมูลน่ารู้ และให้คำปรึกษาแก่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทย
“ความคาดหวังของผมก็คือ อยากทำให้ธุรกิจไทยกับญี่ปุ่นรู้จักกันมากขึ้น จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘THAIBIZ’ และตั้งใจนำผู้บริหารญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมถึงผู้บริหารไทยมาขึ้นปกและสัมภาษณ์พิเศษ พร้อมสอดแทรกเรื่องของธุรกิจไทยหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในทุก ๆ ฉบับ”
โดยนิตยสาร THAIBIZ เปิดตัวฉบับแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ด้วยบทสัมภาษณ์พิเศษจาก CEO บริษัท DENSO (Thailand) ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำระดับโลก ร่วมบอกเล่าวิสัยทัศน์ของบริษัท พร้อมเผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ ในฐานะบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี
นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ผู้บริหารไทย เช่น คุณรวิศ หาญอุตสาหะ จากบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ แบรนด์เครื่องสำอางไทยอายุกว่า 70 ปี มาแนะนำเกี่ยวกับเคล็ดลับการปรับภาพลักษณ์องค์กรหรือการรีแบรนด์, คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ที่มาแนะนำเรื่อง Smart City, คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน จากเอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป มาบอกเล่าเกี่ยวกับแนวคิดการทำธุรกิจร้านอาหารในไทย เป็นต้น
“ตัวผมเองก็มีส่วนร่วมเขียนบทความลงใน THAIBIZ อยู่เรื่อย ๆ และมีอีกหลายบทความที่ได้ที่ปรึกษาญี่ปุ่นมาเขียนให้ เช่น บทวิเคราะห์กรณี Suzuki ถอนตัวออกจากการผลิตในไทย, ทำไมคนไทยถึงลาออกจากบริษัทญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะทำให้ประเทศไทยไปปรากฏในสื่อญี่ปุ่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น NHK สถานีข่าวเบอร์ 1 ของประเทศญี่ปุ่น โดยทีมงานเดินทางมาทำข่าวนี้เองและออกอากาศไปกว่า 3-4 ครั้ง, Asahi Shimbun ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ของญี่ปุ่นมาสัมภาษณ์ผมเรื่องข้อจำกัดหรืออุปสรรคของบริษัทญี่ปุ่น, สื่อธุรกิจใหญ่อย่าง Nikkei Business สัมภาษณ์เรื่องมุมมองของผมต่ออนาคตของอาเซียน และต่อมาก็มีสื่อญี่ปุ่นมาขอสัมภาษณ์ผมอยู่เรื่อย ๆ ทำให้มีชื่อของผมปรากฏในสื่อญี่ปุ่นที่เป็นที่ยอมรับหลายแห่ง คนญี่ปุ่นอยู่ในเมืองไทยเยอะก็จริง แต่มักจะคุยในหมู่คนญี่ปุ่นด้วยกันเอง ทำให้ขาดข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ดังนั้นผมจึงพยายามทำให้ตัวเองมีบทบาทในสื่อญี่ปุ่นให้ได้มากที่สุด เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นในวงธุรกิจไทยให้คนญี่ปุ่นได้รับทราบ ซึ่งแค่นี้ผมรู้สึกว่าประโยชน์ก็มหาศาลแล้ว”
นายกันตธร เล่าถึงมุมมองว่าเหตุผลที่ยังคงทำสื่อรูปแบบกระดาษ เพราะมองว่ายังมีคนญี่ปุ่นที่มาไทยแล้วยังไม่รู้จักไทย รวมถึงไม่ค่อยได้มีโอกาสได้พูดคุยกับคนไทยหรือคนญี่ปุ่นต่างองค์กรเท่าไหร่ ดังนั้นกระดาษจึงทำหน้าที่เหมือนนามบัตร ทำให้เขาได้รู้จักเมืองไทยมากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ THAIBIZ ครอบคลุมทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ประกอบด้วยเว็บไซต์ จดหมายข่าวประจำวันที่จัดส่งให้แก่สมาชิกทางอีเมลราว 360,000 ฉบับต่อเดือน และนิตยสารรายเดือนแจกฟรี (Free Copy) ส่งตรงถึงบริษัทญี่ปุ่นกว่า 1,700 บริษัท พร้อมวางแจกที่ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม และจุดต่าง ๆ ที่มีชาวญี่ปุ่นมาใช้บริการเป็นประจำราว 10,000 ฉบับต่อเดือน อาทิ Fuji Supermarket ทุกสาขา, โรงแรมนิกโก้ ทองหล่อ, ร้านหนังสือคิโนะคุนิยะ สาขาศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ และโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ทั้งนี้สามารถอ่านบทความออนไลน์ได้ที่ทาง https://th-biz.com/
ปัจจุบัน เครือข่ายสมาชิกของ THAIBIZ ครอบคลุมทั้งนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในไทยและญี่ปุ่นมากกว่า 12,000 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ กลุ่มผู้บริหารหรือคนญี่ปุ่นที่มีความสนใจและอยากเรียนรู้เรื่องธุรกิจในประเทศไทย
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า THAIBIZ จะทำหน้าที่สื่อกลางเสมือนนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations : IR) ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับนักลงทุนญี่ปุ่น คอยช่วยดูแลนักลงทุนชาวญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมกับเป็นช่องทางสำหรับบริษัทไทยที่อยากเข้าถึงบริษัทญี่ปุ่น โดยหวังที่จะช่วยยกระดับความร่วมมือ ดึงญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งให้ไทย-ญี่ปุ่นเติบโตทางธุรกิจไปด้วยกัน” นายกันตธรกล่าว
5 Steps กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ
มองทิศทางการเติบโตของธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น ในอนาคต
เมื่อถามถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ และทิศทางในอนาคต กันตธรมอง 5 Steps ดังนี้
1. Business Matching and Networking สร้างจุดเชื่อมต่อทำให้ธุรกิจไทยกับญี่ปุ่นได้รู้จักและมีโอกาสทำธุรกิจร่วมกัน สำหรับญี่ปุ่นที่ลงทุนแล้วในประเทศไทย
2. Thai Adaptation and Localization ทำให้ญี่ปุ่นที่ลงทุนแล้วปรับตัวและปฏิรูปการทำงานให้เหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบไทย
3. B2B Marketing ทำให้รู้จักประเทศไทยและญี่ปุ่นในมุมธุรกิจมากขึ้น ผ่านการใช้สื่อและจัดงานอีเวนท์ สำหรับญี่ปุ่นที่ลงทุนแล้วหรือยังไม่ได้ลงทุนในประเทศไทย
4. Exhibitions and Conference Organization ทำให้รู้จักประเทศไทยและญี่ปุ่นในมุมธุรกิจมากขึ้น ผ่านการจัดงานขนาดใหญ่ สำหรับญี่ปุ่นที่ยังไม่ได้ลงทุนหรือสนใจทำธุรกิจในประเทศไทย
5. Media Management ทำให้รู้จักประเทศไทยและญี่ปุ่นในมุมธุรกิจมากขึ้นผ่านสื่อญี่ปุ่นธุรกิจทุกรูปแบบ (ทั้งลงทุนแล้ว ยังไม่ได้ลงทุน และทำธุรกิจกับพาร์ทเนอร์ เป็นต้น)
“KPI ที่ใช้วัดความสำเร็จของผมไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ยอดขายหรือผลกำไร แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผมอยากสร้างอิมแพคให้กับประเทศไทย โดยมีความตั้งใจคืออยากให้คนไทยรู้จักญี่ปุ่นในเชิงที่เป็นมุมธุรกิจมากขึ้น และอยากให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปอยู่ในสื่อของญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อให้นักลงทุนญี่ปุ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งมีข้อมูลประเทศไทยเป็นภาษาญี่ปุ่นมากเท่าไหร่ ประเทศไทยจะเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเท่านั้น สุดท้ายผมอยากจะสร้างให้บริษัทไทยที่อยู่ในตลาดหุ้นกับบริษัทญี่ปุ่นได้พูดคุยกันและมีความร่วมมือกันมากขึ้น
โดยเป้าหมายต่อไปในปี 2568 ผมตั้งใจจะจัดงานเกี่ยวกับธุรกิจญี่ปุ่น โดยมีตั้งแต่นักลงทุน ผู้ประกอบการ และนักธุรกิจ ส่วนผู้ร่วมงานผมอยากให้เป็นคนไทยทั่วไปที่สนใจเรื่องการทำงาน การทำธุรกิจ หรือเทคนิคอะไรที่เกี่ยวกับญี่ปุ่น นี่คือเป้าหมายที่อยากทำให้เกิดขึ้น” กันตธรกล่าวทิ้งท้าย
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ >> https://th-biz.com/
Facebook : https://www.facebook.com/team.mediator