xs
xsm
sm
md
lg

ดร.ธรณ์เชื่อพยากรณ์อากาศยาก เพราะ ‘ระเบิดฝน’ มีบ่อยขึ้นในยุคโลกร้อน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดร.ธรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล เผยฝนตกหนักเฉพาะที่แบบ rain bomb (ระเบิดฝน) มีบ่อยขึ้นในยุคโลกร้อน การทำนายจะยาก น้ำบ่าจากภูเขามาเร็ว ความรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติจำเป็นอย่างยิ่ง

จากกรณีเกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เมื่อคืนที่ผ่านมาหลังฝนตกต่อเนื่องกว่า 3 ชั่วโมง แถมสภาพพื้นที่เป็นภูเขา ส่วนนักท่องเที่ยวกางเต็นท์ติดค้างอยู่ในแคมป์นับสิบ แถมรถหนึ่งคันถูกน้ำพัด ล่าสุดช่วยเหลือออกมาได้แล้ว ด้าน ส.ส.ชาดาลงมาดูน้ำท่วมด้วยตัวเอง ลูกสาวนายกเล็กเมืองอุทัยนำทีมงานไปช่วยสมทบเพิ่มเติม ขณะที่สถานการณ์น้ำลดตัวอำเภอกลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อนเที่ยงคืนตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

วันนี้ (20 ต.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ระบุข้อความว่า “ฝนตกหนักเฉพาะที่แบบ rain bomb มีบ่อยขึ้นในยุคโลกร้อน การทำนายจะยาก น้ำบ่าจากภูเขามาเร็ว ความรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติจำเป็นอย่างยิ่งครับ“

อย่างไรก็ตาม rain bomb หรือระเบิดฝนนั้น ดร.ธรณ์เคยอธิบายไว้ว่า Rain Bomb เป็นคำใหม่ ไม่ถูกใช้เป็นทางการ แต่ความหมายทั่วไปคือฝนตกกระหน่ำอย่างไม่ลืมหูลืมตา ปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลาสั้นๆ ทะลุขีดจำกัด ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากเป็นศัพท์ใหม่ จึงไม่มีการฟันธงว่านี่คือปรากฏการณ์ “ระเบิดฝน” หรือไม่? แต่ว่าง่ายๆ คือเหมือนฟ้ารั่ว เนื่องจากน้ำจากฟ้าถล่มลงมาอย่างรุนแรงในช่วงแสนสั้น การรับมือแบบดั้งเดิมจึงมีปัญหา ผลกระทบจึงมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนการทำมาหากินของพวกเรา ตัวอย่างมีให้เห็นทั่วไป เฉพาะช่วงนี้ก็มีทั้งน้ำท่วมภูเก็ต ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ภาพรถที่ลอยไปตามน้ำไหลหลากดูน่ากลัว จนบางคนเปรียบเทียบว่า เหมือนสึนามิจากฟ้า”




กำลังโหลดความคิดเห็น