"รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" เคยโพสต์เตือนประเด็นระดับน้ำปิงสูงอาจท่วมเชียงใหม่เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน โดนชาวเน็ตเมนต์แซะสนั่น ล่าสุดน้ำท่วมเมืองจริงทำสำนึกกันแทบไม่ทัน
จากกรณีน้ำท่วมในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ วิกฤตหนักในรอบเกือบ 100 ปี ย่านเศรษฐกิจการค้าของเชียงใหม่จมน้ำเต็มพื้นที่ ช้างม่อย ท่าแพ ลอยเคราะห์ ตลาดวโรรส ตลาดเมืองใหม่ น้ำทะลักมาแรงเก็บของไม่ทันรถจมน้ำเกือบมิดคัน ร้านค้าท่วมสูงกว่า 1 เมตร บางจุดท่วม 2 เมตร
ทั้งนี้ พบว่าย้อนไปเมื่อวันที่ 26 ก.ย. รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิง โดย รศ.ดร.เสรีได้ระบุข้อความว่า
"จากการคาดการณ์ล่าสุดโดยสำนักงานชลประทานที่ 1 ระดับน้ำปิงที่สะพานนวรัฐ (P.1) อาจจะมีระดับสูงสุดถึง 5.05-5.10 เมตร (305.55-305.6 ม.รทก.) ในเที่ยงคืนวันที่ 25 กันยายนดังที่ทราบแล้วนั้น ทีมงาน MQDC และ ESRI จึงได้ Update สร้างแผนที่เตือนภัยน้ำท่วมสำหรับพื้นที่เทศบาลเชียงใหม่ และพื้นที่ข้างเคียงตามเฉดสีฟ้าที่ส่งมาครับ เพื่อให้พี่น้องชาวเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวได้ตระหนัก และเข้าใจสภาพพื้นที่ได้ง่ายขึ้น และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ได้อย่างปลอดภัย ด้วยความรัก และห่วงใยชาวเชียงใหม่
แต่จากข้อมูลวัดมีระดับสูงสุดที่ 4.93 เมตร เทียบเป็นระดับ 305.43 ม.รทก. ต่ำกว่าระดับคาดการณ์ประมาณ 17 ซม. (3.4%) ซึ่งถือว่ายอมรับได้ โดยทีมงานได้ใช้ระดับการคาดการณ์ของสำนักงานชลประทานที่ 1 ในการสร้างแผนที่เตือนภัยที่ระดับ 306 ม.รทก. (เผื่อสัดส่วนความปลอดภัย 0.4 เมตร หรือประมาณ 7.8% ในการบริหารความเสี่ยง กรณี Worst case scenario) เพื่อให้มั่นใจว่าระดับสูงสุดจะไม่เกินระดับนี้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของชุมชน หากเกิดกรณีที่ระดับน้ำจริงสูงกว่าที่ทางสำนักงานชลประทานที่ 1 ได้คาดการณ์ไว้ไม่เกิน 10% ชาวเชียงใหม่ก็ยังมีความพร้อม จึงขอชื่นชมชาวเชียงใหม่ที่ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อย่างเต็มที่ครับ
ระดับน้ำคาดการณ์สูงสุดอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับปริมาณฝนตก จึงต้องติดตาม และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด"
ทั้งนี้ พบว่ามีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงไม่เชื่อในชุดข้อมูลดังกล่าว โดยชาวเน็ตส่วนหนึ่งได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า
"ลงหน้างานจริง หรือแค่อ้างอิงทางภูมิศาสตร์มาลวกๆ ผมคนในพื้นที่ ลงดูพื้นที่ มันมีคลอง มีทางน้ำ มีท่อระบายตัดผ่าน การสร้างบ้าน สิ่งก่อสร้างเพิ่มเติม การปรับระดับคันดิน ได้คำนึงก่อนเผยแพร่รึยัง ถ้ายังก็เก็บไว้ดูเล่นก่อนครับ เห็นได้จากล้นโซน 1-2-3 แล้วน้ำลงทางน้ำไหลไปออกโซน 7 จากระดับน้ำที่คิดว่าจะท่วม 4.2 แต่ไหลมาโซน 4 ตอนระดับสูง 4.6 ท่วมโซน 5 ตอน 4.8 นอกจากฝนตกหนักมากๆ แล้วน้ำขังในพื้นที่ คือน้ำไม่ระบาย ถ้าน้ำปิงจะล้นไปตามคลองแม่ข่า อีกแผนภูมิชาวบ้านดูไม่เข้าใจ จะสื่อสารผิดพลาด แนะนำเฉยๆ ครับ"
"อาจารย์คะ จากภาพมันท่วมข้ามถนน super highway ไปสันกำแพงเลยนะคะ มันดูเป็นไปได้ยากค่ะ"
"เชื่อไม่ได้ทั้งหมดครับ
เนื่องจากอิงข้อมูลระดับความสูงน้ำทะเลที่ 306 เมตร ผมคิดว่ามันใช้จริงได้เฉพาะพื้นที่น้ำท่วมขังแค่นั้น ปกติแล้วที่เชียงใหม่น้ำจะแค่ไหลผ่านไม่ท่วมนาน หรือแค่เอ่อล้นจากริมแม่น้ำ ดังนั้นแนวริมแม่น้ำปิงจะท่วมก่อน เช่น แถวกาดหลวง ความสูงระดับน้ำทะเล 310 เมตร ซึ่งสูงกว่าถนนซูเปอร์ไฮเวย์ที่ระดับ 306 เมตร แต่ไม่ทันท่วมถนนนี้ น้ำท่วมบริเวณแม่น้ำปิงก็ลดซะก่อนแล้ว"
"แบบจำลองค่อนข้างจำกัดบริเวณครับ ควรจะมีมุมมองภาพแผมที่กว้างกว่านี้ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่คาดการณ์จะเป็นประโยชน์กว่าครับ ถ้าตามภาพมันจำกัดบริเวณมากเกินไป"
"ลองไปดูเขตน้ำท่วมเก่าครับ ผมว่าอันนี้เป็นไปไม่ได้ เกินจริงมากไป"
"น้ำจะท่วมถึงเซ็นเฟสเหรอครับ ปี 54 ถึงแค่ศาลเด็ก"
"โอ้โห 5555555555 ขอบคุณนะคะ แต่.."
"เกินไปนะจะท่วมขนาดนี้"