ทำความรู้จัก "ด้วงสาคู หรือด้วงงวงมะพร้าว" ที่เป็นแมลงจริงๆ พบเป็นศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งโดยเฉพาะกับพืชสวนจำพวกปาล์ม เช่น ต้นมะพร้าวหรือต้นสาคู พบมากที่ภาคใต้ ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
จากกรณีพิธีกรชื่อดัง “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” จากรายการโหนกระแส ได้โพสต์ภาพเอกสารคำฟ้องต่อศาลอาญา เพื่อฟ้องหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 5 ล้านบาท โดยพบว่าบุคคลที่หนุ่มกรรชัยได้ฟ้องในคำฟ้องไม่ได้เปิดเผยชื่อ ระบุเพียงว่า นาง และมีการนำรูป ด้วงสาคู มาปิดชื่อไว้ ซึ่งคาดเดากันว่าคืออินฟลูเอนเซอร์ย่านประตูน้ำ ที่มักจะออกมาใช้วาจาจัดจ้านเกาะกระแสต่างๆ อยู่เสมอ
โดยคำว่า “ด้วงสาคู” ที่คาดเดากันว่าเป็นพิธีกรคนดังนำมาใช้แทนชื่ออินฟลูเอนเซอร์รายดังกล่าวนั้น มาจากการจิกกัดจากลักษณะรูปร่างของอินฟลูเอนเซอร์สาวที่มีลักษณะป้อมๆ นั่นเอง
ล่าสุดวันนี้ (30 ก.ย.) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก "Supanut Benjadumrongkit" ได้ออกมาโพสต์ข้อความให้ความรู้เกี่ยวกับ "ด้วงสาคู" สัตว์ที่กำลังเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ โดยผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า
"คำเตือน * บทความนี้ไม่ได้มีการกล่าวอ้างถึงบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องสัตว์ที่เป็นกระแสเท่านั้น *
สัตว์ที่กำลังเป็นไวรัลช่วงนี้คงจะขาดไม่ได้เลยก็คือ "ด้วงสาคู" หรือด้วงงวงมะพร้าว (Red palm weevil - 𝘙𝘩𝘺𝘯𝘤𝘩𝘰𝘱𝘩𝘰𝘳𝘶𝘴 𝘧𝘦𝘳𝘳𝘶𝘨𝘪𝘯𝘦𝘶𝘴) เป็นแมลงที่คนมักรู้จักกันตอนที่น้องยังเป็นตัวอ่อนอวบๆ แต่น้อยคนจะเคยเห็นตัวเต็มวัยของด้วงสาคูกัน วันนี้เราจะพามารู้จักด้วงสาคูที่กำลังเป็นไวรัลกันแบบรู้จักกันลึกขึ้นนะครับ
ด้วงสาคูนั้นโตเต็มวัยจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ถ้าดูผิวเผินแล้วทั้งตัวผู้และตัวเมียก็ดูหน้าตาคล้ายกันอย่างกับแกะเลย แต่มีข้อแตกต่างที่ตัวผู้จะมีอวัยวะคล้ายขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลายซึ่งในตัวเมียจะไม่มีอวัยวะขนตรงนี้
ตัวหนอนของด้วงสาคูนั้นมีลำตัวสีเหลืองปนน้ำตาล ระยะไข่นั้นใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 วันในการฟักเป็นตัวอ่อน ส่วนระยะเวลาที่เป็นตัวอ่อนหนอนจะมีช่วงระยะการเติบโตอยู่ที่ 35-100 วัน หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการเป็นดักแด้ โดยใช้เศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหารเป็นเปลือกหุ้มดักแด้
ด้วงสาคูหรือด้วงงวงมะพร้าวนี้นับเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งก็ว่าได้ โดยเฉพาะกับพืชสวนจำพวกปาล์มเช่น ต้นมะพร้าวหรือต้นสาคู โดยในประเทศไทยพบมากเป็นพิเศษที่ภาคใต้ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่และกัดกินบริเวณยอดอ่อนของต้นมะพร้าว ส่วนตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ !
ในปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภคกันแพร่หลาย ส่วนถิ่นกำเนิดดั้งเดิมนั้น ด้วงสาคูเป็นแมลงที่กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อินเดียจนถึงซามัว แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปในทวีปต่างๆ ของโลก อย่างในยุโรปก็ส่งผลกระทบต่อพืชผลบางชนิดที่คล้ายกับมะพร้าวด้วย"
อ่านโพสต์ต้นฉบับ