xs
xsm
sm
md
lg

ดร.เอ้ อธิบายชัดสาเหตุอุโมงค์โคราชถล่ม ย้ำชัด ต้องมีมาตรฐาน ทั้งการออกแบบ การก่อสร้างและอุปกรณ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดร.เอ้ สุชัชวีร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค การก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ ปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์คลิปวิดีโออธิบายชัดเจนสาเหตุอุโมงค์โคราชถล่ม ยกเป็นอุทาหรณ์ ย้ำ การก่อสร้างต้องมีมาตรฐาน ทั้งการออกแบบ การก่อสร้างและอุปกรณ์

จากเหตุการณ์สุดสลดอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างถล่ม ช่วงคลองขนานจิตร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างถล่ม เมื่อเวลา 23.40 น.ของคืนวันที่ 24 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้ชีวิตทั้งหมด 3 ราย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค การก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ อดีตนายกสภาวิศวกร นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ออกมาโพสต์คลิปวิดีโอลงในเฟซบุ๊ก "เอ้ สุชัชวีร์" ได้ออกมาอธิบายวิธีการก่อสร้างเเละการขุดเจาะอุโมงค์ ให้เข้าใจกันเเบบง่ายๆ เพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้ที่ติดตามเหตุการณ์อุโมงถล่มในครั้งนี้

โดยเจ้าตัว เผยว่า วิธีการขุดเจาะอุโมงค์ในโลก จะแยกเป็น 2 วิธี วิธีแรกคือใช้แบบหัวเจาะ ข้อดีคือปลอดภัย ป้องกัน ดิน หินถล่มลงมา แต่ราคาสูง อย่างไรก็ตา มกรณ๊ของอุโมงค์รถไฟฟ้าไทย - จีน ไม่ได้เลือกวิธีแรก แต่เลือกอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า "เจาะแล้วระเบิด" วิธีนี้ความปลอดภัยรองลงมา วิธีนี้จะใช้เฉพาะอุโมงค์ในหินเท่านั้น โดยวิธีนี้เจาะทะลวงโดยการเจาะสว่านและไปฝังระเบิดและระเบิด วิธีนี้ทำมาเยอะ ถ้ามีการออกแบบ มีอุปกรณ์ก่อสร้างที่ถูกต้อง มีการควบคุมงานที่ปลอดภัยมีการตรวจวัดด้วยจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยวิธีหนึ่ง

ในกรณีที่ถล่มเขาใช้วิธีนี้ ระหว่างที่ขุดดินเจาะไปข้างหน้า ถล่มแล้วและมีคนงานอยู่ 3 คน ถล่มจากที่มันไม่มีอะไรปกป้อง มีแค่ซี่โครงเหล็กค้ำยันไว้ ฉีดซีเมนต์ปูนไว้ชั่วคราว ในขณะที่แบบแรกเมื่อเจาะไปแล้วสามารถใช้ผนังอุโมงค์แบบถาวรได้เลย

วิธีที่ 2 พังทลายช่วงก่อสร้าง เพราะช่วงการก่อสร้างวิธีนี้จะค่อยๆขุด ที่ละชั้น ชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นล่าง

วิธีการช่วยเหลือ วิธีที่ดีที่สุดต้องใช้อุปกรณ์เข้าไปเจาะ แต่ในสถานที่ก่อสร้างไม่มี วิธีที่ทำอยู่ปัจจุบัน ค่อยๆขุดคล้ายเหมืองโบราณค้ำยันไปทีละนิด มีเสาเหล็ก มีไม้อัด ค่อยๆทะลวงไป วิธีนี้อันตรายแต่ไม่มีวิธีอื่น เพราะไม่มีอุปกรณ์

สำคัญที่สุดคือเป็นอุทาหรณ์ งานก่อสร้างที่มรความซับซ้อน การที่เคยทำวิธีนี้ในประเทศหนึ่ง แล้วจะมาทำอีกประเทศหนึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะดินกับหินแตกต่างกัน อุปกรณ์แตกต่างกัน คนงานก็แตกต่างกัน การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินในประเทศไทยเป็นงานที่มีความละเอียดและต้องได้มาตรฐาน


กำลังโหลดความคิดเห็น