xs
xsm
sm
md
lg

สานต่อโครงการ eMpowering Youths Across ASEAN (eYAA) Cohort 4 ประจำปี 2567 เดินหน้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในชุมชนทั่วภูมิภาค

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โครงการ eYAA สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสมาชิกในชุมชนเกือบ 60,562 ราย ผ่านอาสาสมัครเยาวชน 293 คน และองค์กรภาคประชาสังคมหรือกิจการเพื่อสังคม 25 แห่งตั้งแต่ปี 2561

กรุงเทพฯ 2 สิงหาคม 2567 - มูลนิธิอาเซียนและมูลนิธิเมย์แบงก์เปิดตัวงานประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพระดับภูมิภาคของโครงการ eMpowering Youths Across Asean (eYAA) Programme: Cohort 4 ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 5 วัน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันอาเซียนในวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ที่จะมาถึงนี้


โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในภูมิภาคอาเซียน ในฐานะผู้ขับเคลื่อนหลักในการสนับสนุนและพัฒนาความยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนงานด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2567 ในการสร้างสังคมที่มีการรวมกันเป็นหนึ่ง ยั่งยืน และยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

ธนาคารเมย์แบงก์ในนามของมูลนิธิเมย์แบงก์ ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน เชื่อว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพ ดังนั้นโครงการ eYAA จึงเป็นเวทีสำหรับบ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่ในการแก้ไขปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนาทั่วภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับพันธกิจของธนาคารเมย์แบงก์ในการให้บริการทางการเงินอย่างมีมนุษยธรรมและสนับสนุนหนึ่งในสี่พันธสัญญาความยั่งยืน นั่นคือ การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของครัวเรือนกว่าสองล้านครัวเรือนทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2568

โครงการ eYAA และการประชุมเชิงปฏิบัติการได้รวบรวมอาสาสมัครเยาวชนจำนวน 100 คน และตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) ที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วภูมิภาคอาเซียนจำนวน 10 คน เพื่อนำเสนอโครงการที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกจำนวน 10 โครงการ สำรวจโอกาสในการทำงานร่วมกัน แบ่งปันความรู้และการศึกษาผ่านประสบการณ์จริง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับชุมชนต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค

ในปีนี้ โครงการ eYAA ได้จัดตั้งเครือข่ายศิษยเก่าเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยเยาวชนทั้งหมด 32 คนจากโครงการก่อนหน้านี้ (รุ่นที่ 1, 2, และ 3) และตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมทั้งหมด 8 คนจากรุ่นที่ 3 เข้าร่วมด้วย โดยการรวมตัวศิษย์เก่าดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงการ ซึ่งตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งและความสำคัญของเครือข่ายโครงการ eYAA รวมถึงเสริมสร้างโอกาสในการแบ่งบันประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่าและข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมใหม่ พร้อมส่งเสริมวัฒนธรรมของการสนับสนุนซึ่งกันและกัน


ก่อนพิธีเปิดงานได้มีการจัดการเสวนา eYAA Alumni Impact Forum ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเน้นย้ำถึงความสำเร็จของโครงการ และการส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มอาสาสมัครเยาวชนทั้ง 3 กลุ่มจำนวน 293 คน ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมและกิจการเพื่อสังคม 25 แห่ง ซึ่งได้สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสมาชิกชุมชนกว่า 60,562 คนทั่วภูมิภาคอาเซียน ผ่านโครงการริเริ่มด้านศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างชุมชน การศึกษา และสิ่งแวดล้อม

ด้วยกิจกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นภายในโครงการนี้ ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับข้อมูลความรู้ที่จำเป็น พร้อมแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และแผนการดำเนินงานสำหรับการดำเนินโครงการชุมชนทั่วภูมิภาคอาเซียนให้สามารถประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมเสวนาและการอภิปรายกลุ่มในหัวข้อต่าง ๆ เช่น “ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโครงการอาสาสมัคร: เพื่อเสริมศักยภาพเยาวชน จุดประกายอาชีพ และการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน” รวมถึงได้รับการฝึกอบรมทางด้านการคิดเชิงออกแบบ การจัดการทางการเงิน ความยั่งยืน การเป็นอาสาสมัคร และการนำเสนอผลงาน

โครงการ eYAA: Cohort 4 ครั้งล่าสุดนี้ มอบโอกาสและประโยชน์มากมายให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยแต่ละกลุ่มของอาสาสมัครเยาวชนและองค์กรภาคประชาสังคมจะมีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 25,000 - 27,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการชุมชนต่อไป

หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในปีนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่สี่จะระดมกำลัง ‘ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง’ หรือ 'The Changemakers' เพื่อดำเนินโครงการชุมชนในหกประเทศอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศไทย โดยบุคคลและองค์กรที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเริ่มดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกในทั่วภูมิภาคอาเซียน

ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงจะดำเนินโครงการ "#JustYouTH" ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท เอเชีย เซ็นเตอร์ จำกัด ในพื้นที่สำคัญ เช่น เชียงใหม่ อุบลราชธานี และปัตตานี โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพให้แก่เยาวชนอายุ 19-30 ปี ผ่านกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพที่อิงจากงานวิจัย โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาด้านความยุติธรรมทางสังคมและความไม่เท่าเทียมของชุมชนชายขอบที่พวกเขาเผชิญ

โครงการ "#JustYouTH" จะรวบรวมอาสาสมัครเยาวชนให้เข้าร่วมแคมเปญความร่วมมือที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม และสนับสนุนสิทธิของกลุ่มคนชายขอบ โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับการฝึกอบรม ทำเวิร์กช็อป และกิจกรรมด้านการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจปัญหาของสังคมให้ดียิ่งขึ้น พร้อมเสริมทักษะที่จำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในชุมชนของตน

โครงการ #JustYouTH จะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้กว่า 120 คน และผู้คนทั่วไปอีกประมาณ 1,000 คนจากโครงการและแคมเปญที่ดำเนินการโดยอาสาสมัครเยาวชน โดยโครงการ #JustYouTH แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของโครงการ eYAA ในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้นำรุ่นเยาว์และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านโครงการริเริ่มระดับชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนทั่วประเทศไทย

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพระดับภูมิภาคของโครงการ eMpowering Youths Across ASEAN (eYAA): Cohort 4 ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายรัศม์ ชาลีจันทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย, ผศ. ดร.สินีนาฏ เสริมชีพ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา, ฯพณฯ เอกอัครราชทูต M.I. Derry Aman ผู้แทนถาวรแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำอาเซียน, ฯพณฯ เอกอัครราชทูต Bovonethat Douangchak ผู้แทนถาวร สปป.ลาวประจำอาเซียน, ฯพณฯ เอกอัครราชทูต Sarah Al Bakri Devadason ผู้แทนถาวรแห่งสหพันธรัฐมาเลเซียประจำอาเซียน, นางพันทิพา เอี่ยมสุทธา เอกะโรหิต เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน, นายตัน ศรี ดาโต๊ะ ศรี ซัมซัมไซรานี ประธานกลุ่มบริษัทเมย์แบงก์และประธานมูลนิธิเมย์แบงก์, นาง Rodora Turalde Babaran ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นตัวแทนของ ฯพณฯ เลขาธิการอาเซียน, Datuk (Dr) Nora Abd Manaf ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเมย์แบงก์ กรุ๊ป, นายชาห์ริล อาซูอาร์ จิมิน (Shahril Azuar Jimin) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของเมย์แบงก์ กรุ๊ป, ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน และ Izlyn Ramli ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) มูลนิธิเมย์แบงก์


ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “โครงการ eMpowering Youths สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการบ่มเพาะผู้นำอาเซียนรุ่นใหม่ ด้วยการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครรุ่นเยาว์มีส่วนร่วมในโครงการที่สร้างผลกระทบเชิงบวก ซึ่งเราไม่ได้เพียงแต่ส่งเสริมจิตวิญญาณแห่งความร่วมมือเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคอีกด้วย โดยเมื่อร่วมมือกัน เราจะสามารถสร้างชุมชนอาเซียนที่แข็งแกร่งและบูรณาการมากขึ้นได้”


นายชริล อาซูอาร์ จิมิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของเมย์แบงก์ กรุ๊ป กล่าวว่า “เราเปิดโอกาสให้เยาวชนในอาเซียนได้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในชุมชนต่าง ๆ ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพระดับภูมิภาคของโครงการ eMpowering Youths: Cohort 4 ความคิดริเริ่มเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของเราในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนต่าง ๆ ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรามุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และสนับสนุนอนาคตที่ความร่วมมือและนวัตกรรมสามารถสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้นำในการริเริ่มโครงการต่าง ๆ ที่จะแก้ไขปัญหาความท้าทายทางสังคมและเศรษฐกิจที่เร่งด่วน”

โครงการ eYAA เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561 ซึ่งตรงกับวันอาเซียนครั้งที่ 51 โดยมุ่งเน้นที่การส่งเสริมศักยภาพเยาวชนอายุระหว่าง 19 - 35 ปี และชุมชนต่าง ๆ ครอบคลุม 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาและดำเนินโครงการชุมชนที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทางสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม โดยโครงการดังกล่าวสนับสนุนให้เยาวชนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย มอบแพลตฟอร์มเชิงประสบการณ์และการศึกษาผ่านการเป็นอาสาสมัครทางสังคม ผู้เข้าร่วมจะได้ทำงานร่วมกับบุคคลจากภูมิหลังที่หลากหลายเพื่อนำแนวคิดของตนไปปรับใช้และสนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่นทั่วอาเซียน

เกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียน
หลังจากที่ประชาคมอาเซียนก่อตั้งมาเป็นเวลาสามทศวรรษ บรรดาผู้นำอาเซียนต่างตระหนักถึงความสำคัญของการแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันในหมู่สมาชิก การสร้างความตระหนักรู้ และการติดต่อสื่อสารกันระหว่างประชาชนในอาเซียนที่ยังขาดการดำเนินการที่เหมาะสม ส่งผลให้มีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษในโอกาสครบรอบ 30 ปี ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 สำนักงานมูลนิธิอาเซียนตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

มูลนิธิอาเซียนเป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยชาวอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน ด้วยวิสัยทัศน์เพียงหนึ่งเดียวคือการสร้างความมั่งคั่งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียน โดยมีหน้าที่สนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ อัตลักษณ์ ปฏิสัมพันธ์ และพัฒนาการของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน ท่านสามารถดูข้อมูล และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียนได้ที่ www.aseanfoundation.org

เกี่ยวกับมูลนิธิเมย์แบงก์
มูลนิธิเมย์แบงก์ได้รับการสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานหลักให้ดูแลงานด้านความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรทั่วทั้งเมย์แบงก์ ภารกิจของมูลนิธิคือการสร้างผลกระทบเชิงบวกระยะยาวให้แก่ชุมชนในพื้นที่ที่เมย์แบงก์เข้าไปดำเนินการ มุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการที่จะสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้และยั่งยืนที่สุด

สอดคล้องกับพันธกิจของเมย์แบงก์ในการให้บริการทางการเงินอย่างมีมนุษยธรรม ซึ่งจุดเน้นของมูลนิธิคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือลัทธิความเชื่อ โดยเน้นที่ผู้ยากไร้และคนชายขอบ สิ่งนี้ทำได้ผ่านความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับผู้มีที่มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่นและองค์กรพัฒนาเอกชน ในการดำเนินการตามหลักสามประการ ได้แก่ ส่งเสริมด้านการศึกษา การสร้างเสริมพลังชุมชน และความหลากหลายด้านสิ่งแวดล้อม และในทุกประเทศที่เราดำเนินการ เรามุ่งเน้นกิจกรรมและเงินทุนของเราไปที่การสร้างผลกระทบที่มีความหมาย วัดผลได้ และยั่งยืน ซึ่งทำให้เรามีจุดเด่นเหนือคู่แข่ง และเติมเต็มความมุ่งมั่นในระยะยาวของเราในการทำให้บริการทางการเงินมีมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น

p
กำลังโหลดความคิดเห็น