xs
xsm
sm
md
lg

รัสเซียรับตำแหน่งประธานกลุ่ม BRICS สร้างความสัมพันธ์พหุภาคียุคใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รัสเซียชี้การขยายตัวของประเทศสมาชิก BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจในโลกเพิ่มเป็น 35% สูงกว่ากลุ่มประเทศ G7 เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์พหุภาคียุคใหม่ โดยเฉพาะในด้านความร่วมมือทางกลยุทธ์ และระบบการเงินระหว่างประเทศ

นายเยฟกินี โทมิคิน (Evgeny Tomikhin) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย ระบุว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ตำแหน่งประธานของ BRICS ได้เปลี่ยนจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ไปเป็นสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อจากนี้ประเทศรัสเซียจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ความร่วมมือให้เป็นไปตามฉันทามติและความต่อเนื่องในการสร้างบทบาทขององค์กร BRICS ในระดับโลก นั่นคือการสะท้อนให้เห็นถึงคำกล่าวของรัสเซียในบทบาทของประธาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในความสัมพันธ์พหุภาคีในการพัฒนาและการสร้างความมั่นคงในระดับโลก


BRICS คือเวทีความร่วมมือระหว่างรัฐบาล โดยองค์กรได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2549 แต่เดิมเป็นกลุ่มประเทศที่นำโดยบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน เป็นที่มาของชื่อเดิมคือ BRIC ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น BRICS เนื่องจากเพิ่มสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2553 จากนั้นประเทศอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เริ่มเป็นสมาชิกเต็มตัวของ BRICS ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

การประชุมสุดยอด BRICS ได้จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2552 ที่เมืองเยคาเตรินเบิร์ก ประเทศรัสเซีย นับตั้งแต่นั้นมา BRICS ได้พัฒนาไปไกลจากที่แต่เดิมเป็นความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการโดยมีไว้เพื่อแบ่งปันความคิดเห็นในประเด็นเฉพาะเรื่องด้านการต่างประเทศเท่านั้น ต่อมาได้พัฒนาความร่วมมือและกลไกการเจรจาที่กว้างขวางและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ครอบคลุมหลักการสำคัญขององค์กร ได้แก่ นโยบายด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ เงินตราแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมและด้านมนุษยธรรม

BRICS เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อด้านนวัตกรรมใหม่ๆ มากกว่าการมีรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของรัฐกับรัฐ โดยความร่วมมือนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคทางด้านอธิปไตย เคารพแนวทางการพัฒนาตัวเองของแต่ละรัฐโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันในภาพรวม 

ในเวลาเดียวกัน BRICS ก็ไม่ได้มีแนวทางที่จะต่อต้านใคร มุ่งสร้างความร่วมมือที่เท่าเทียมและเป็นประโยชน์ร่วมกันบนเวทีระหว่างประเทศ วิธีการรูปแบบนี้ดึงดูดความสนใจเข้าร่วมในแนวทางความร่วมมือของรัฐหลายรัฐในโลก โดยแนวคิดนี้ได้ส่งผลชัดเจนในการประชุมสุดยอดที่นครโจฮันเนสเบิร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ระหว่างวันที่ 22 – 24 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ในงานได้มีการประชุมร่วมกันกว่า 30 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ที่ซึ่งมีความเต็มใจที่จะเข้าร่วมกับ BRICS โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน

การขยายตัวของประเทศสมาชิกของ BRICS จัดได้ว่ามีการเติบโตที่รวดเร็วมากและได้ขยายสัดส่วนเศรษฐกิจในกลุ่มบริษัทต่างๆ ในโลกโดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 31% ไปสู่ 35% เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา โดยพิจารณาทางด้านกำลังซื้อตัวเลขเหล่านี้บอกว่ามีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มประเทศ G7

หลายๆ รัฐมองว่า BRICS เป็นผู้นำของตลาดเกิดใหม่และประเทศที่กำลังพัฒนาในโลก และเป็นส่วนสำคัญของภูมิศาสตร์การเมืองในปัจจุบัน เป็นเครื่องมือในการสร้างระเบียบโลกใหม่ที่มีความยุติธรรมและเป็นพหุภาคีมากขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ มีการสนับสนุนรัฐต่างๆ ในกลุ่มซีกโลกใต้มากขึ้น ครอบคลุม มีส่วนร่วม และเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

BRICS เป็นมากกว่าการจัดตั้งสมาคมของรัฐแต่ละรัฐ แต่คือการรวมวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่อนาคตโดยมีความเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น เป็นวิสัยทัศน์ที่ไม่ได้ต่อต้านตะวันตกและก็ไม่ใช่ตะวันตก เพื่อสะท้อนความต้องการของคนส่วนใหญ่ในโลก โดยมีจุดแข็งที่มาจากความหลากหลาย ความไม่แบ่งแยก และค่านิยมร่วมกัน


ระเบียบโลกอนาคตควรกำหนดร่วมกันเพื่อความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และแนวทางการทำงานแบบเดียวกันกลุ่ม BRICS นั้นได้เปิดกว้าง มีความสามัคคี ความเสมอภาค ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และความยุติธรรม ไม่เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว โดยมีความปรารถนาให้โลกนั้นมีความปลอดภัย มั่นคง และเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น

BRICS จะก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ แบบที่เราได้เห็นแล้วในการประชุมสุดยอดที่นครโจฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา จากนี้ต่อไป ประเทศสมาชิกจะยังต้องทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะในด้านระบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อให้มีความคล่องตัวและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น .


* เอกอัครราชทูตรัสเซีย นายเยฟกินี โทมิคิน ขอขอบคุณเอกอัครราชทูตจากบราซิล จีน อียิปต์ อินเดีย อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สำหรับความร่วมมือในการจัดเตรียมบทความฉบับนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น