xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ เพื่อการขับเคลื่อนสังคม กองทุนพัฒนาสื่อฯ เดินหน้าโครงการเสวนา 5 ภูมิภาค สัญจรครั้งที่ 5 จังหวัด อุบลราชธานี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าผนึกกำลังสร้างความเข้มแข็งร่วมกับภาคีเครือข่าย ในโครงการเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ นำโดย ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และประธานอนุกรรมการ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม และรองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ลงพื้นที่รับฟังข้อคิดเห็นด้านงานเฝ้าระวังสื่อจากภาคีเครือข่าย ล่าสุดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ภูมิภาคสุดท้ายที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมเดินทางลงพื้นที่พบเครือข่ายที่ศูนย์การเรียนรู้ เฮือน ฮ่วม แฮง และ มูลนิธิสื่อสร้างสุข จังหวัดอุบลราชธานี
(16 ธันวาคม 2566) เวทีเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค โดย ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และประธานอนุกรรมการ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม และรองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, ผศ. ภญ. ดร.สุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและอนุกรรมการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, ดร.ตรี บุญเจือ อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, นายอัมพร วาภพ ประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเฮือนฮ่วมแฮง, คุณนพภา พันธุ์เพ็ง กรรมการ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และประธานกรรมการมูลนิธิสื่อสร้างสุข, ผศ. ดร.อุดมเดช ทาระหอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู ผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 ผู้แทนนักกฎหมาย เข้าร่วมงานเมื่อวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราอุบล จ.อุบลราชธานี

ดร. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีภารกิจสำคัญในการหนุนเสริมภาคีเครือข่ายทั่วทุกภูมิภาค ในการผลิตสื่อและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 พร้อมคณะอนุกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อเชื่อมประสานภารกิจภายใต้ข้อกำจัดของแต่ละพื้นที่ใน 5 ภูมิภาค โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในพื้นที่ รู้จัก รู้ใช้ รู้เท่าทันสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้และส่งต่อให้คนในชุมชน จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ ให้เกิดความเข้มแข็งโดยทำการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ใน 4 มิติ ได้แก่ 1. คำพูดที่ใช้กันรุนแรงในโลกออนไลน์ (Hate Speech) 2. ข่าวลวง ข่าวบิดเบือน (Fake News) 3. การกลั่นแกล้งให้ร้ายล้อเลียน ระรานบนโลกอินเทอร์เน็ต (Cyber Bullying) 4. มิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ (Scammer) เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกช่วงวัย ได้เข้าใจและรู้ใช้ประโยชน์จากสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ในการจัดโครงการเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค บรรยากาศภายในงาน เริ่มด้วยการเปิดลงทะเบียนให้กับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จากนั้นได้เปิดฉากงานด้วยการเสวนาการเฝ้าระวังสื่อ ที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ หัวข้อ “ภัยหลอกลวงทางออนไลน์” โดยผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ นายพีรพน พิสณุพงศ์, นายอัมพร วาภพ, คุณนพภา พันธุ์เพ็ง, ผศ.ดร.อุดมเดช ทาระหอม, พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู จากนั้นตัวแทนเครือข่ายแต่ละภาคส่วนยังได้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop "สร้างแนวร่วม สานพลังเครือข่าย เฝ้าระวังสื่อ ด้วยกระบวนการ ELTC: (Experiential Learning Theory Cycle) วงจรการเรียนรู้จาก ประสบการณ์” กระบวนการ “รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ” โดย ผศ.ดร.กรุณา แดงสุวรรณ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, ผศ. ดร.ก้องกิดากร บุญช่วย อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากสื่อหรือต้องการใช้สื่อเพื่อเป็น เครื่องมือแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวัง ในช่วงบ่ายได้มีการนำเสนอร่างมาตรการ ส่งเสริมพัฒนาและสร้างทักษะ ในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมโดย ดร.ตรี บุญเจือ อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัย และไม่สร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอบคุณตัวแทนจากเครือข่ายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสื่อท้องถิ่น ตัวแทนจากนักวิชาการ เป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร และหน่วยงานองค์กร ภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนชาวอุบลราชธานีทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้การประชุมเสวนาในครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จ






















กำลังโหลดความคิดเห็น