วันที่ 4 ธันวาคม 2566, กรุงเทพมหานคร – สำหรับกิจกรรมวันเบาหวานโลกปี 2023 P&G Health ยังคงสานต่อความพยายามในการสร้างความตระหนักรู้ด้วยแคมเปญใหม่ #KnowtheSigns เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานและภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน กับโรคปลายประสาทอักเสบและการขาดวิตามินบี เพื่อให้มีตรวจพบและรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อีกทั้งทางบริษัทได้มีการนำเสนอข้อมูลใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าประชากรไทยมากถึง 46% มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ
รู้หรือไม่?
-โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของโรคปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน8
-ในปี 2021 ความชุกของโรคเบาหวานในประเทศไทยอยู่ที่ 9.7% หรือประมาณ 6.1 ล้านคน (International Diabetes Federation, IDF)9.
-สาเหตุอื่นๆ ที่ก่อโรคปลายประสาทอักเสบ ได้แก่ การใช้ยาเบาหวาน ยารักษาโรคกระเพาะ การรับประทานอาหารมังสวิรัติ และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ10-12
-เช็กอาการง่าย ๆ ด้วยแบบประเมินตัวเองhttps://bit.ly/3SwNXvV
โรคปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย1 อาการของโรค ได้แก่ ชา ซู่ซ่าเหมือนเหน็บ แปลบปลาบคล้ายเข็มตำ เป็นต้น การขาดวิตามินบีและอายุที่มากขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมกับโรคเบาหวานที่นำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาทส่วนปลาย โดยสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาโรคให้ดียิ้งขึ้นคือการเพิ่มความตระหนักรู้ทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์2
อาล็อก อากราวัล (Aalok Agrawal) รองประธานอาวุโสของ P&G Health ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (AMA) กล่าวว่า “ในฐานะพันธมิตรของสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (IDF) P&G Health มุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโรคปลายประสาทอักเสบและภาวะขาดวิตามินบี ประมาณ 1 ใน 2 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน3 และ 1 ใน 10 ของผู้ป่วยภาวะก่อนเบาหวาน4 คาดว่าจะเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ ในขณะที่การขาดวิตามินบีส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประมาณ 19% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด5,6 ซึ่งปัญหาสำคัญเกิดจากการที่ผู้ป่วยมักไม่ตระหนักถึงอาการของตนเอง ส่งผลให้อาการแย่ลง ได้รับการรักษาล่าช้า และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตต่อไป”
คาโอริ มัตซึอุระ ผู้จัดการทั่วไปของ P&G ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีสำหรับคนไทย เราเข้าใจดีว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางครั้งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อความเสียหายของเส้นประสาทและโรคปลายประสาทอักเสบ ภารกิจของเราคือการช่วยให้คนไทยดูแลตนเองและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เราเชื่อว่าด้วยการสร้างความตระหนักรู้และการให้ความรู้ที่จำเป็น จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อชีวิตของผู้คนนับไม่ถ้วนได้”
ฮาริช โกปาล ผู้จัดการทั่วไปของ P&G Health ประเทศไทย กล่าวว่า “มีผู้คนจำนวนไม่มากที่ทราบว่าการวินิจฉัยโรคปลายประสาทอักเสบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้มีผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีจากการที่เส้นประสาทถูกทำลายกลับมาซ่อมแซมได้ ส่วนหนึ่งในกิจกรรมของแคมเปญ #KnowtheSigns ในประเทศไทย คือการดำเนินโครงการด้านการศึกษาและแคมเปญสร้างความตระหนักรู้ต่าง ๆ โดยมุ่งเป้าไปที่บุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไป เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ในการวินิจฉัยโรคปลายประสาทอักเสบได้ทันท่วงที ทำให้มีผลการรักษาที่ดีและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย”
ภก. อรรถพร ไศลวรากุล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการแพทย์ ของ P&G Health ประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านการดูแลโรคทางระบบประสาท เป้าหมายของบริษัทคือการพัฒนาวิธีเพิ่มผลการรักษาและคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 บริษัท P&G Health ได้สนับสนุนงานวิจัยจากประเทศไทยจนได้รับการนำเสนอและตีพิมพ์ในการประชุม EASD ในเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าประชากรไทยมากถึง 46% มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ7 สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่านั้นคือ เกือบ 45% ของผู้ที่มีความเสี่ยงอยู่ในช่วงอายุ 35 ถึง 44 ปี โดยอาการที่พบบ่อยคือ ซู่ซ่าเหมือนเหน็บ แปลบปลายคล้ายเข็มตำและอาการชา ความชุกของโรคปลายประสาทอักเสบดังกล่าว เป็นแรงบันดาลใจให้เราดำเนินการและมุ่งมั่นที่จะนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการคัดกรองเบื้องต้นและการดูแลรักษาภาวะนี้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการเพิ่มสุขภาวะที่ดีของคนไทย”
กิจกรรมจากบริษัท P&G Health ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องกับบุคลากรทางการแพทย์ องค์กรด้านการแพทย์ บุคคลทั่วไปและผู้ป่วยเพื่อสร้างความตระหนักรู้ผ่านกิจกรรมหลากหลายช่องทางในการตรวจประเมินเบื้องต้นเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
ข้อมูลเพิ่มเติม:
อ่านบทความ เรื่อง Digital platform for awareness and screening peripheral neuropathy in Thailand: transformation on diabetes management.
https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s00125-023-05969-6.pdf
เช็กอาการหากคุณมีความเสี่ยง https://bit.ly/3SwNXvV