xs
xsm
sm
md
lg

ซีอีโอสาวเก่ง 'กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา' ฝ่าดราม่า เดินหน้าปฎิรูประบบขนส่งเพื่อคนกรุง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นับตั้งแต่ที่ ไทย สมายล์ บัส ได้เปิดตัวธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นอีกทางเลือกให้หับผู้ใช้บริการทั้งรถเมล์ หรือ เรือโดยสารสาธารณะบนแม่น้ำเจ้าพระยา ในรูปลักษณ์ที่ตอบโจทย์ให้กับทั้งแวดล้อมและยุคสมัย ซึ่งมองในมุมหนึ่ง ก็นับได้ว่าเป็นการยกระดับให้กับระบบขนส่งสาธารณะในเมืองหลวงนั้น มีความทันสมัยและเพิ่มระดับขึ้นมาก็ไม่ผิดนัก

แม้ว่าในระยะหลัง ทางไทย สมายล์ บัส อาจจะเผชิญปัญหาดราม่าต่างๆ นาๆ ทั้งจากการใช้บริการจากประชาชน หรือ จากสังคมออนไลน์ แต่ “กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ก็ยังมองว่าในภาพรวมว่า สิ่งที่ทางบริษัททำนั้น ถือว่าเป็นการปฎิรูประบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

สถานการณ์การเดินรถโดยภาพรวมของทาง ไทย สมายล์ บัส ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้างครับ

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเราต้องบอกอย่างนี้ก่อนว่า เราก็ค่อนข้างที่จะหนักหน่วง เพราะเนื่องมาจากสถานการณ์หลายๆอย่าง จากการที่เราได้ไปมีพันธมิตร ซึ่งพวกเขาก็อาจจะมีในเรื่องของกฎเกณฑ์เยอะแยะ อย่างเช่นในเรื่องของรถเก่า ซึ่งจะมีปัญหาในเรื่องของไม่ได้คุณภาพ แล้วพอทางเราตรวจสอบ ทางเราก็ได้ทำการออกรถมาใหม่ ซึ่งถ้าทุกคนสังเกตก็จะเห็นว่า ทางไทยสมายล์ บัสจะเป็นรถใหม่เกือบทั้งหมด ในทั้ง 22 สาขา เราจะมีรถแบบ NGV อยู่ประมาณ 400 คัน แต่ที่เราไม่ได้ใช้ เพราะว่า หนึ่ง จะเป็นเรื่องของค่าเชื้อเพลิง ซึ่งในส่วนนี้ทางเรามองว่า ต่อให้เราเก็บค่าโดยสารในราคา 15-25 บาท ก็ไม่ได้ทำให้ธุรกิจนี้ดีขึ้น ซึ่งทางเราเองก็ได้เล็งเห็นว่าในอนาคตเราควรจะยกระดับในระยะยาว แต่ในระยะสั้นก็ต้องลงทุน ที่นี้ใน 123 เส้นทางแล้วบวกกับที่ทางเราได้เพิ่มมาอีก 71 เส้นทาง บวกกับทางพันธมิตรด้วย ทางเราก็ทำการเร่งออกรถ พูดง่ายๆ ก็คือเราได้สั่งทำการผลิตรถที่เมืองไทย แล้วก็ไปเอารถออกมาจากฝีมือคนไทย

แล้วทีนี้มันก็จะมีความยุ่งยากก็คือ เรื่องโปรแกรม เรื่อง feed Management เรื่อง Hop On hopcard ซึ่งก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่ว่า ทำไมไม่ใช้บัตรแบบนั้นแบบนี้ ซึ่งไม่ใช่ทางเราไม่ใช้นะแต่เราได้ทำการคิดมาก่อนแล้วถ้าเราอยากจะใช้เป็นแบบบัตรเงินสด ซึ่งในบัตรลักษณะอย่างนี้ก็จะมีความปลอดภัยทั้งในเรื่องของโควิด ที่จะช่วยลดปัญหาว่าไม่อยากให้ไปจับเงินเพราะอาจจะมีเชื้อโรคปะปนอยู่ในนั้น สอง จะช่วยลดในเรื่องของการที่ไม่ต้องไปนั่งรับเหรียญ ทำให้เสียเวลา ซึ่งวิธีการบริหารของทางเราก็เล็งเห็นว่าเราควรจะมีการพัฒนาในเรื่องการจัดการบริหาร หรือจะเป็นในเรื่องของการนำรถเพิ่มออกมาให้ประชาชน ที่พวกเขาได้มีการร้องเรียนว่าอยากได้รถที่มันเพิ่มขึ้น ถี่ขึ้น ซึ่งทางเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ นับตั้งแต่ที่เราได้จดทะเบียนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ปีถัดมาเราก็มีรถประมาณ 120 คัน ซึ่งเราก็ให้รถในการบริการส่วนทางเราก็จะควบคุมในเรื่องการใช้สมองที่คอยจัดการควบคุมให้กับเขา จนมาท้ายสุดเราก็มาบริหารเอง ก็มีสายเดินรถไปของตัวเอง และมาช่วยกัน


แต่ประเด็นสำคัญก็คือ ใน 123 เส้นทางนั้น มันก็มีการทับซ้อนเส้นทางกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางเราเรียกร้อง คือต้องการแค่ว่าทางเรามีใบอนุญาต เราก็ต้องเดินรถบนถนน ไม่ใช่ว่าให้มาเดินตามข้อกำหนด หนึ่ง สอง สาม สี่ ซึ่งตอนที่เขาให้เรามาเราก็มีความกังวล เช่น หน้าที่เรามีหน้าที่ให้เอารถออกมา แล้วเดินรถให้ครบ 180 วัน มีมาตรฐานในข้อต่างๆ เหมือนที่เราไปขอทำคำร้อง คือเรายื่นอะไรไปเราก็ทำให้หมด แต่ด้วยความที่เราเป็นเอกชน เราลงทุนไป 20,000 ล้านบาท อีกทั้งเราก็ยังมีรถลักษณะ รถผี รถคนอื่น และยังซับซ้อนเส้นทาง โดยที่ไม่มีใครมาหารือและเคลียร์ให้เรา พอเราทำการร้องขอ อย่างในกรณีเรื่องของรถสีส้ม ตอนช่วงวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางเราได้เปิดตัวรถสีส้ม คือทางเราได้ฝากพี่ๆนักข่าวให้ช่วยประชาสัมพันธ์ ว่าจริงๆแล้วรถคันนี้เป็นของเอกชน ขอให้ช่วยสนับสนุน ซึ่งในบางครั้งเนี่ยประชาชนก็มีความสับสนนะ เพราะจากที่เราเคยไปยืนตามป้ายรถเมล์ ประชาชนเขาก็อยากที่จะขึ้นรถใหม่ และอยากขึ้นรถปรับอากาศ ไม่มีใครเขาอยากขึ้นรถร้อน และอยากขึ้นในอากาศที่ไม่ถ่ายเท เขาก็อยากที่จะมีชีวิตที่ดี

ที่นี้มันก็มีกระแสอีกด้านหนึ่งบอกว่า สิ่งที่ทางเราเรียกร้องนั้น มันทำไม่ได้หรอกเพราะ มันยังมีคนที่ยึดติดอยู่ เราก็เลยบอกว่ามันไม่มีนะ เพราะเราก็ลงไปนั่งรถเมล์ด้วยในบางครั้ง ซึ่งเราเชื่อว่าคนไทยโดยส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกว่าการใช้รถสาธารณะมันยังไม่มีความปลอดภัย แต่ถามว่าทำไมคนไทยไปต่างประเทศเขาถึงยอมใช้รถสาธารณะในบ้านเขา แม้ว่าจะถึงขั้นแบกกระเป๋าไป 2-3 ใบก็ตาม นี่แหละคือความรู้สึกที่แตกต่างกัน คือเราก็ไม่ได้เป็นลักษณะที่ว่าหิวแสงหรอกนะ ที่จะไปพูดแบบนั้น แต่เรามีความรู้สึกว่าอยากให้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ได้ที่มีอำนาจในประเทศไทย เราก็เป็นประชาชนอีกคนหนึ่งของประเทศนี้ เราก็ถือว่าเราเป็นคนเสียสละแล้ว อยากให้ประชาชนช่วยประชาชน เพราะทุกคนก็มีการจ่ายภาษีหมดนะ เราไม่ได้ขอให้เขามาช่วยจ่ายภาษีให้เรานะ แต่เราขอแค่เป็นคนที่เปิดทางแล้วเอากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขนส่งก็ทำให้มันถูกต้อง ว่าใครจะวิ่งอะไรยังไง อย่าทับเส้นทาง กำหนดให้รถสีนี้ประกาศเป็นรถแอร์

หรืออย่างกรณีรถร้อน ลองไปถามใครดูก็ได้ ต่อให้เราไม่ได้จบทางด้านวิศวกรรม ลองไปถามคนอื่นดูก็ได้ว่า รถไฟฟ้าเป็นรถร้อน ทั้งๆที่ระบบไฟฟ้ามันต้องใช้ความเย็น แล้วจะให้เอาระบบนี้ไปไว้ตรงไหน ให้เอาระบบความเย็นไปเป่าแบตเตอรี่แต่ให้คนที่ใช้บริการนั่งร้อน แล้วดันมาบอกว่าคนเอาพัดลมเป่าแทน ถามหน่อยสิว่ามันถูกต้องหรือเปล่า


คือเราต้องมองก่อนว่าประเทศเรา มันคล้ายๆ บริษัท เวลาที่เราลงทุนอะไรไปอย่างหนึ่ง แต่เหมือนกับว่าไม่มีใครไปต่อยอดกับสิ่งนั้นได้ เหมือนกับว่าลงทุนไปแล้วทิ้ง แล้วเราก็ต้องไปไขว่คว้าหาเงินมาอีกเพื่อจะมาทำให้มันเท่ากัน คิดว่ามันเสียเวลาไหม มันเสียเวลาเลยนะ เราพูดกันตรงๆว่า เราอดทนมา 2 ปี ซึ่งถ้าวันนี้เราไม่ได้สื่อสารออกไป ก็เท่ากับว่าเราได้ทำลายชีวิตลูกน้องของเราเกือบ 6,000 คนเลยนะ เพราะสิ่งที่ทางเราให้เขาอย่างเช่นตำแหน่งกัปตันและบัสโฮสเตสสมาร์ท มันก็จะกลับมาเป็นเช้าชามเย็น แล้วมันอาจจะกลับไปสู่สภาพสังคมของพวกเขาแบบดั้งเดิม ลูกน้องส่วนตรงนี้ก็อาจจะไม่มีเงินเอาไปให้ลูกหลานเพื่อไปเรียนหนังสือ มันอาจจะไม่มีเพราะว่าถูกมองไปแล้วว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ซึ่งคือเราอย่าไปเห็นว่ามันแก้ไขไม่ได้ ถ้าจะปฏิรูปต้องทำมันอย่างจริงจัง อย่าทำแค่เขียนอย่างเดียว

อย่างเวลาที่ใครมาถามเราก็ตอบแบบนี้หมด เพราะว่าการบริหารงานมันเหมือนกับถอยหลังนะ เพราะเรามีรถแอร์ประมาณ 1,900 กว่าคัน แล้วเราต้องออกรถอยู่ที่ 2,200 คัน แต่ในจำนวนที่ว่านี้ต้องตัดออก 60 คัน เพราะว่าเป็นรถร้อน เพราะว่าพนักงานของเราก็ไม่อยากขับรถร้อนนะ ซึ่งระบบการจัดการเดินรถของเรา เราไม่ได้ลดต้นทุนอะไรเลยนะ แต่ก็มีมาบังคับให้เราต้องทำ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องตรงนี้มันก็สามารถเปลี่ยนได้นะ ไม่ใช่ยังใช้กฎหมายที่ออกมาตั้งแต่ 2520 ซึ่งส่วนตัวเรายังไม่เกิดเลยแต่ก็ยังเอามาใช้พูดและทำในปัจจุบันอยู่ ในยุคที่มีเทคโนโลยีและ Call Center สามารถโทรมาหลอกคนได้ ซึ่งโดยส่วนตัวเราก็คิดว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนกฎหมายนะ


จากที่คุณว่ามามันค่อนข้างที่จะเป็นเส้นขนานกัน อารมณ์ประมาณว่า ในการเดินรถมันยังมีการลังเลอยู่ สวนทางกับประชาชนที่เรียกร้องตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เราก็พยายามหาความสมดุลด้วยมั้ย

ไม่ค่ะ เราขอพูดแทนผู้บริโภคนะ ตอนแรกสุดเราก็มีความคิดแบบนั้นแต่ ในบางเสาร์อาทิตย์ เราเคยไม่ขับรถแต่ไปนั่งรถเมล์ ขึ้นรถลงเรือ เดินทางแบบประชาชนปกติ จนได้รับความรู้สึกตรงนี้ แล้วโดยส่วนตัวเราก็ไม่เคยทำตัวแบบว่าลูกน้องไม่สามารถเข้าถึงได้ เผลอๆ อย่างลูกน้องบางคนที่ทำงานอยู่บนรถเขาอาจจะไม่รู้ก็ได้ว่าเราคือเจ้านายของเขานะ พอเราใช้ชีวิตอย่างนี้ก็ได้รู้ว่า จริงๆผู้โดยสารบางคน เขาอยากจะใช้บริการรถเมล์ที่ทางเราให้บริการ แต่เขาไม่รู้ว่าถ้าขึ้นมาแล้วค่าบริการแพงหรือเปล่า แล้วเราก็เคยแอบถามพวกเขาเหมือนกันนะว่า ค่าบริการที่เราตั้งไว้มันแพงไปหรือเปล่า ซึ่งเราก็มีการบริการในรูปแบบบัตรที่ชื่อว่า Hop Card ซึ่งจะตอบโจทย์ในการใช้บริการที่ดีขึ้น

สมมุติว่าเราเติมเงินเข้าไปแล้วไปตามระยะทางที่เคยไปในราคา 15 บาท ซึ่งบัตรตัวนี้มันต้องมีการแตะขึ้นแตะลง แล้วถ้าเกิดอยากจะไปธุระที่อื่นต่อ ต้องนั่งในเส้นทางอื่นเพิ่มในราคา 25 บาท ก็ใส่เพิ่มรวมกันเป็น 40 บาท แต่ขากลับก็สามารถใช้ฟรีได้แล้วนะ เพราะว่ามันเป็นระบบเหมาจ่ายค่าโดยสารไม่เกิน 40 บาทต่อวัน แต่วิธีการในส่วนตรงนี้ก็ต้องให้ระบบ AI ทำความรู้จักผู้ใช้บริการแต่ละคนก่อน ให้มันทำการแตะขึ้นแตะลง ซึ่งพอทำวิธีการตรงนี้เสร็จ ตัวบัตรก็จะมีการบันทึกไว้ว่าบัตรเลขนี้ ถ้ามีการใช้งานเกิน 40 บาทในแต่ละวันก็จะทำการตัดออกไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วราคาที่เราให้บริการมันไม่ถูกต่างกว่า 10 บาทยังไง ซึ่งขนาดเราเป็นส่วนเอกชนนะเรายังคิดได้ขนาดนี้เลย ซึ่งรถร้อนเนี่ยเราอย่าไปบอกว่าคนจนต้องขึ้นแค่รถร้อนเท่านั้นนะ เราว่าอย่างคุณลุงคุณป้า เขาก็อยากสัมผัสความรู้สึกในการนั่งรถแอร์เหมือนกันนะ 

ซึ่งจากระบบบัตรที่เราได้คิดค้นขึ้นมา มันสามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปไหนมาไหนได้รอบกรุงเทพและปริมณฑลตามเส้นทางการเดินรถที่เรามีให้บริการเลย และสามารถเชื่อมต่อครอบคลุมทุกระบบบริการเริ่มต้นแค่ 50 บาท ซึ่งทางเราได้วางระบบครอบคลุมตรงนี้เพื่อที่จะกระตุ้นช่วยเหลือแบ่งเบา กับประชาชนผู้ที่ใช้บริการ ซึ่งผ่านมา 1 ปีล่าสุดรถของเราก็ต้องรับลมจากข้างนอกเข้ามาสู่ตัวรถจากนโยบายที่เขาวางไว้ แต่เรายังมีความโลกสวยอยู่นะว่าเดี๋ยวประชาชนก็น่าจะรู้จัก Thai Smile bus นะ ซึ่งทางเราก็พยายามวางแผนการตลาด อย่างเช่นโปรโมทในสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ ซึ่งเราก็แอบหวังเล็กๆว่าอาจจะมีอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยเราได้ แต่ก็มาเกิดกรณีรถเมล์สีส้ม

ลองถามกลับไปดูว่า ครั้งล่าสุดที่สัมผัสรถเมล์แบบใหม่เลยนะ ถ้าไม่นับในปัจจุบันคิดว่ามันนานแค่ไหนแล้ว ซึ่งเราก็บอกแล้วนะว่าไม่จำเป็นจะต้องไปบริหารอะไรที่มากมายก่ายกองขนาดนั้นหรอก เอาแค่เรื่องง่ายๆก่อน ไม่ต้องเอามาอนุมัติในครม ให้มันยุ่งยาก เอาที่ทำอยู่ไปต่อยอด ไม่ต้องมองว่าจะเอาใครไปเป็นส่วนไหน ซึ่งโดยส่วนตัวเราก็ไม่ได้อะไรกับการเมืองนะ เราก็แค่เป็นประชาชนอีกคนหนึ่ง แต่เราจะต้องเอาประโยชน์มาทำเพื่อประชาชนจริงๆ ซึ่งวันนี้มันไม่ใช่ไง เรามองว่าแต่ละคนก็ต้องมีการเสียสละคนละนิดละหน่อย ซึ่งในช่วงโควิดที่ผ่านมาทำไมเรามีการบริจาคช่วยเหลือกันได้ คือจริงๆคนไทยมีความเมตตาและใจดีนะ แต่เราก็อยากให้สิ่งที่เราทำอยู่ในตอนนี้มันเกิดขึ้นจริงๆ

เราไม่อยากให้ช้างเหล็กพาหนะที่เรามีอยู่มันผุพังไปตามกาลเวลา ซึ่งวันนี้มันก็ยังมีสัมปทานเหลือ ทุกสิ่งทุกอย่างมันยังรื้อฟื้นได้ แล้วถามว่าเราจะปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนี้ได้เหรอ มันคล้ายๆกับการทำงานบริษัทนะที่แบบบางช่วง จะมีความรู้สึกว่าทำไปแล้วยังไม่เห็นหนทางที่ดีต่อไปเลย แบบเดียวกันเลย ลองถามกลับกันหน่อยว่า หน่วยงานเอกชนที่ลงทุนขนาดนี้ยังมีไหม มีใครที่จะใจกล้าใจป้ำพอ มันก็ยากนะ แต่เรื่องนี้เราก็ไม่ได้โลกสวยถึงขนาดที่ว่า เรามีการทำจิตอาสาเพื่อเป็นการแลกเนื้อมันก็ไม่ใช่ คือทุกคนมันทำธุรกิจ แต่มันต้องอยู่ด้วยความพอดี มันก็ต้องแบบทั้งเราและประชาชนได้ทั้งคู่ มันก็จะทำให้ประเทศของเรามีหน้ามีตาเองไปด้วย แต่สิ่งที่เราประสบในตอนนี้ก็คือความว่างเปล่า คือรถเราก็มีผ่านการออกแบบทั้งภายนอกและข้างใน ให้แบบขึ้นมาแล้วมีความรู้สึกโปร่ง แต่พอออกรถไปแล้ว ยังไม่ได้มีความรู้สึกว่าจะอยู่รอดหรือเปล่า


ผลตอบรับจากผู้ใช้บริการโดยรวมถือว่าน่าพอใจมั้ยครับ

อย่างที่บอกก็คือว่าผู้บริโภคเขาก็อยากใช้ตามที่เราบอก แต่ประเด็นมันมีความซับซ้อนตรงที่ว่าความชัดเจนมันไม่มี มันก็เลยทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ว่าสรุปแล้วเอายังไงกันแน่ เพราะถ้าขึ้นรถไปอาจจะทำให้เสียเวลา เนื่องจากมนุษย์ทุกคนตื่นเช้ามามันก็มีความรีบ ซึ่งถ้าขึ้นรถผิดสายมันก็จบ ซึ่งเรารู้สึกว่าคำว่าปฏิรูปก็คือเป็นไปตามคำจริงๆ แล้วก็อีกเรื่องก็คือคำว่าคนร้องเรียนเราต้องฟังเขา ยังก่อนหน้านี้ทางเราก็มีการรับเรื่องร้องเรียนเดือนนึงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-4 พันเรื่อง แต่ปัจจุบันนี้ลดลงเหลือแค่เดือนละพันเรื่อง แล้วในแต่ละวันเราก็จะนำปัญหาที่ได้รับร้องเรียนมา ดูว่าเป็นเรื่องอะไร ถ้าเป็นเรื่องพนักงานขับชิดเลนขวาไม่รับผู้โดยสาร หรือพนักงานของเราพูดจาไม่สุภาพ เราก็เรียกพนักงานมาสอบถาม คือรับเรื่องปุ๊บต้องมีการตอบสนองไม่ใช่เฉยเมย

การได้สัมปทานรถมาเพิ่มเติม ถือว่าเป็นการได้เปรียบให้กับองค์กรด้วยมั้ยครับ


ได้เปรียบเหรอ เราก็ต้องถามกลับเหมือนกันนะ เพราะทุกคนก็ชอบพูดประโยคนี้ให้เราฟัง ซึ่งคำว่าได้เปรียบนั้นหากเปรียบกับการปฏิรูปมันไม่ใช่เป็นครั้งแรกนะ มันเป็นก้าวที่ 2 ในการปฏิรูประบบขนส่ง ซึ่งในมุมมองเรา ก็ถือว่าทำได้นะ เรามีทั้งรถใหม่ ที่เป็นรถไฟฟ้าแล้วเป็นการเน้นพลังงาน มีการจัดการที่ดี มีระบบ gps รถทุกคันก็มีกล้อง CCTV มีตัวนับคนหมด คือพูดง่ายๆ ระบบความปลอดภัย เราก็มีใน platform ตรงนี้ คือเราก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญขนาดนั้น ว่าเราอยากจะได้สายดีๆ แต่จะเป็นแบบว่าทางไหนขอหมดเราก็ขอบ้าง แล้วบังเอิญมันก็ได้ไง พอได้มาหมดมันก็ต้องมีการต่อจิ๊กซอว์ เป็นแบบว่าให้แต่ละเจ้ามาอยู่ด้วยกันกับเรานะ จนกลายมาเป็น Single Network เพื่อที่ให้ผู้โดยสารกระโดดเหมือนกบตามบัตร hopcard ที่เรามี เพื่อไม่ให้มันขาดรอยต่ออันนี้คือคอนเซปต์ที่ทางเราคิด เรียกว่าเรามีการทำงานมากกว่า ซึ่งรถคันอื่นถามหน่อยเถอะว่ามีโมเดลที่ทำแบบนี้ไหม มันต้องเอาผลงานมาพูด เราอย่ามาพูดว่าใครได้เปรียบ เราต้องถามกลับว่าคำว่าปฏิรูปล่าสุดนั้นมีใครซื้อรถให้เราบ้าง

อย่างรถแอร์ที่เอามาให้บริการในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีอยู่ประมาณ 300 คัน ขสมก. ก็มีรถจำนวนนี้บางส่วน ซึ่งทางขสมกก็เป็นหน่วยงานรัฐ ซึ่งก็มีเอกชนเจ้าหนึ่งเข้าไปร่วม แต่พ่อเราเอามารื้อปรับปรุง ปรากฏว่ามันไม่ได้เป็นแบบที่เราคิดนะ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันถูกต้องหมดแล้ว เราก็แค่เดินตามรูปแบบที่เราที่ไป ซึ่งทุกวันนี้เราก็มีการเสริมรถให้ตามที่ได้รับคำชี้แจงมา ซึ่งเราก็ไม่ได้อยากจะแย่งธุรกิจของใครนะ แต่เรามองว่าประเทศของเรามันช้ำแล้ว เราควรที่จะมีอะไรมายึดเหนี่ยวสิ่งดีๆบ้าง ไม่ใช่ว่ามาแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนลืมคำว่าคุณธรรมไปเลยจริงๆ
เช่นเดียวกัน

แต่สิ่งที่เห็นในรถเมล์ทุกวันนี้มันก็เป็นเงินในภาคส่วนเอกชนนะ คือเราก็มีความรู้อยู่แก่ใจนะว่า ถ้าพูดถึงในเรื่องการลงทุนรถเมล์ ไม่ใช่ว่าในวันพรุ่งนี้หรือปี 2 ปีข้างหน้า แล้วเราจะได้เงินคืน ต้องรอเป็นเวลานานกว่านั้น แล้วในระหว่างทางรถก็มีเสื่อมคุณภาพไป มีอยู่บนความเสี่ยงตลอดเวลาแต่เรื่องพวกนี้มันก็ขึ้นอยู่กับการจัดการ เราไม่มีความท้อนะถ้าจะให้เกิดการทำงานหนัก ว่าจะนั่งคิดทุกวันว่าต้องบริหารงานยังไง เราจะทำยังไงให้พนักงานของเราต้องอยู่ได้ แล้วผู้บริโภคมีความสุขด้วย แล้วก็ต้องมาถูกใจผู้นำของประเทศอีก ซึ่งมันยากนะ ซึ่งการพัฒนาก็เป็นไปตามเทคโนโลยีที่พัฒนาตามขึ้นไปด้วยนะ แม้ว่ามันอาจจะดีบ้างไม่ดีบ้างแต่เราก็ยังทำอยู่


แล้วประเด็นล่าสุด เรื่องดราม่ารถสีส้มละครับ

อย่างที่ได้ยินกันในโลกออนไลน์นะ คือรถสีส้ม ถ้าถามใจเราจริงๆ ในรูปแบบที่เราทำมามันไม่มี เพราะว่าเราทำระบบขนส่งมาเพื่อจากที่จะยกระดับบริการของทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ ต้องเข้าใจก่อนนะว่าอากาศเมืองไทยมันร้อน เราขับรถทั้งวี่ทั้งวัน แล้วต้องมาใส่เครื่องแบบซึ่งมันดูดีนะแต่เหงื่อมันออกตลอดเวลา แล้วพอขึ้นรถมาต้องมาเจอรถติดอีก มันก็ยิ่งร้อนเข้าไปใหญ่ อีกทั้งสภาพจิตใจของพนักงาน ต่อให้ใครมาทำงานก็ตาม มันเหมือนเพิ่มแรงกดดันเข้าไปอีก สอง เราเชื่อว่าในฐานะผู้ให้บริการเขาไม่อยากให้บริการรถร้อนหรอก

แต่อีกด้านหนึ่งนั้นเขาบังคับให้เราทำรถร้อนขึ้นมา ไม่อย่างนั้นทางเราจะมีปัญหาในเรื่องของใบอนุญาต ซึ่งในใบอนุญาตนั้นเราก็ร่วมกับพันธมิตรของเราอยู่ 12 สาย แล้วข้อบังคับของเขาเนี่ยมันต้องมีจุดเล็กๆด้วยว่าต้องให้บริการรถธรรมดาด้วย ทั้งๆ ที่เราไม่ได้เสนอว่าให้บริการรถร้อนนะ เพราะเรามีจุดยืนว่าต้องการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ แล้วทีนี้การยกระดับนั้นมันต้องเริ่มติดกระดุมให้ถูกตั้งแต่เม็ดแรก เราก็เลยฝืนทำใจที่จะทำรถร้อนออกมา ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องเจอคำถามต่างๆ เราก็เลยให้คำตอบตามที่บอกไปเลยค่ะว่ามันเป็นอย่างนี้นะ และเราก็บอกว่ามันจำเป็นและเป็นคนที่คัดค้านด้วย ว่าต้องยกเลิกรถร้อน เพราะอย่าใช้คำว่าประชาชนอยากได้รถร้อน เคยมาถามและประชาวิจารณ์กับพวกเขาหรือเปล่าว่าพวกเขาอยากได้รถร้อนจริงๆ

แล้วคำถามต่อมาที่เจอก็คือ ประชาชนเขาไม่มีเงินจ่ายสูงถึง 25 บาท ซึ่งเราก็ตั้งเรทราคาตามที่บอก มันอาจจะมีแหละที่นั่งแค่ 3 ป้าย แต่ต้องจ่ายถึง 15 บาทซึ่งเราก็เข้าใจ หรือไม่เราก็ต้องไปคิดกลยุทธ์ใหม่ เพราะรัฐบาลยังมีเรื่องของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจุดนี้เงินลงทุนมันยังไม่ใหญ่เท่าก้อนอื่นๆเลย เราว่าประชาชนมันได้อย่างแท้จริงนะ ซึ่ง แบบอย่างหลังเราว่าน่าจะดีกว่าและจะช่วยยกระดับแพล็ทฟอร์มระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯทั้งระบบ คือเก่าโดยสรุปคือมันคล้ายกับมีเส้นผมบางๆบดบังเข้ามาปิด ซึ่งถ้าเราทำรถร้อนในราคา 50 บาท อันนี้แหละน่าคิด

ซึ่งเราเชื่อว่าประชาชนก็มีสิทธิ์เลือกได้นะ เราอย่าไปยัดเยียดความจนให้กับเขา คือบางคนเขาก็มีเงินแหละ แต่เขาอาจจะไม่ได้มีนิสัยฟุ้งเฟ้อก็ได้ แต่เราจะต้องจัดระบบจัดสรรให้เขาดีๆ อย่าไปยัดเยียดความเป็นอยู่แบบนั้นซึ่งเราคิดว่ามันไม่ถูกต้อง แล้วประเทศเรามีประมาณ 70 ล้านคนจะให้เขาคิดแบบเดียวกับเราทั้งหมดมันก็ไม่ได้ แต่เราจะต้องมองว่าภาพรวม ประเทศและประชาชนได้อะไร ไม่ใช่ว่าเอามาแค่ส่วนเดียวแล้วมาบอกว่าเป็นนโยบาย ซึ่งเรามองว่ามันไม่ใช่


แต่ว่าในการเดินรถอีวีของไทยสมายล์ มันเหมือนกับค่อยๆ ปฏิรูประบบขนส่งในกรุงเทพฯ ตรงนี้มันเหมือนกับว่าเราค่อยๆ ทำความเข้าใจไปกับยุคสมัยอย่างนั้นด้วยไหม

เราก็ค่อยๆ ทำสิ่งนี้มา 3 ปีแล้วนะ เดิมทีเริ่มต้นเรามีอยู่ประมาณ 120 คัน จากนั้นก็เริ่มค่อยๆ เปลี่ยน ถ้ายิงตามตัวเลขสถิติที่เรามีจะพบว่าเราจะมีการเปลี่ยนรถเดือนละประมาณ 250 คัน ในช่วงปีที่ผ่านมา แล้วมาครบ 1,500 คันในเดือนมีนาคมปี 2566 เรียกว่าวิ่งกันแบบเหมือนหนูถีบจั่นเลย ซึ่งถ้าเราทำไม่ได้คนอื่นก็น่าจะไม่ต่างกัน อย่างเรื่องของกระบอกของกระเป๋ารถเมล์อ่ะ ก่อนหน้านี้ถือว่าเป็นอุปกรณ์หลักของพนักงานเก็บค่าโดยสาร แล้วเคยมีคนสบประมาทว่ามันเปลี่ยนไม่ได้หรอก แล้วทุกวันนี้คือ มันสามารถจ่ายค่าโดยสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว ของเราจะเป็นเครื่องพีซี ที่บัสโฮสเตส ซึ่งสิ่งนี้เราก็เปลี่ยน เพราะเราอยากให้เขามาทำงานด้วยความภูมิใจ อยากจะมาทำงาน ผมเข้าต้องมีความสวยออกมาจากบ้าน แล้วเราก็บอกกับพนักงานว่าถ้าระบบ Electronic มันเสถียรก็ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องตกงาน เดี๋ยวเราหางานทำให้ คือเราก็มีธุรกิจหลายอย่างนะแต่ว่าก็ต้องเอาตรงนี้ให้รอดก่อน ซึ่งเครื่องมีอิเล็กทรอนิกส์มันก็ไม่ได้ง่ายเหมือนกันนะ ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็มีปัญหาแต่ว่าเราก็ต้องค่อยๆ พูดให้เขาเข้าใจว่า คุณจะไม่มีวันตกงาน

แล้วในรูปแบบเรือพลังงานไฟฟ้าโดยสารล่ะครับ


เรียกว่ามันเป็นความต่อเนื่องจากการโดยสารบนรถประจำทางดีกว่า เรียกว่าถ้ามีแค่ 40 บาทแล้วเดินทางทางเดียวเรามองว่ามันยังไม่ได้ โดยส่วนตัวเราอยากจะให้เป็นแบบฮ่องกงนะ ที่มีบัตรแบบขึ้นรถรางก็ได้นั่งรถไฟฟ้าใต้ดินก็ได้ แต่ว่าบังเอิญมันยังไปไม่ถึงมันก็เลยต้องได้แค่รถเมล์กับเรือก่อน ถ้าเกิดใครที่จะไปทางเรือ หรือลงเรือแล้ว 30 บาท ก็สามารถมาตอบก็ได้ ค่าโดยสารสูงสุดรวมกันก็อยู่ที่ 50 บาท ซึ่งทางเราก็มีเรืออยู่ประมาณ 20 ลำ และให้บริการเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเดียว ก็มีเส้นทางจากสาทรวิ่งไปนนทบุรี และจากสภาพระราม 7 วิ่งมาสาทร แล้วเรือของทางเรานั้นมีความสงบ แต่ก็มีลูกเล่นของทางเรือมาเป็นตัวเสริมด้วย แต่โดยส่วนตัวแล้วทางเราอยากจะให้ทางรถโดยสารประจำทางมีความนิ่งก่อน

คือเราจะบอกว่าเวลาที่เราทำธุรกิจในยุคนี้ เราก็ต้องดูภาพรวมบรรยากาศในปัจจุบันด้วยว่า ถ้าสังเกตหน่อยว่าสมัยนี้เด็กเขาไม่ขายของในร้านแล้ว เขาจะไปขายบนออนไลน์กัน ทางเราก็เช่นกัน เราทำธุรกิจเราก็ต้องมองภาพรวม เราก็มองว่าผู้โดยสารอยากจะขึ้นเรืออย่างปลอดภัย ไม่ต้องเอาพลาสติกมากาง แล้วหายใจไม่ออกอีก ขึ้นเรือแล้วมีความรู้สึกโปร่งเพราะว่าเป็นห้องแอร์ ยังไงมันก็เป็นเรือไฟฟ้า อย่างน้อยก็มีแอร์อยู่ในห้องโดยสาร และสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ และเรือของเรามีขนาดใหญ่เพราะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 250 คนต่อเที่ยว เรือมีความนิ่งเงียบไม่เสียงดัง


อีกมุมหนึ่ง การให้บริการของทาง ไทยสไมล์ ทั้งรถหรือเรือเอง ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปในตัวด้วย

ที่เราทำมาเราไม่ได้ต้องการที่จะโดดเด่น แต่เราอยากจะสร้างการเป็นต้นแบบซึ่งหากใครมาคุณจะต้องนำต้นแบบนี้มาทำ และอย่าต่ำกว่ามาตรฐานจากที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน มันจะต้องเท่าเทียมหรือดีกว่า เรียกว่าเรานำนวัตกรรมลักษณะนี้มาให้เห็น ไม่ต้องไปถึงเมืองนอกเพื่อที่จะไปดูงานบ้านอื่นเมืองอื่นเราเลยนำสิ่งนี้นี่แหละมาทำให้เห็นในบ้านเรา แต่ก็เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่งที่คนไทยมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนไทยด้วยกัน ซึ่งต่างจากคนต่างชาติที่มาบ้านเรา นี่คือแบบตั้งแตกต่างกันจริงๆ แต่เวลามีปัญหาเขากลับบ้านเขาทิ้งปัญหาให้กับเมืองไทย นี่คือข้อเท็จจริงที่เรารับรู้กันมา

ซึ่งบางครั้งเวลาที่คนไทยทำอะไรในแต่ละอย่าง คือขอแค่อย่าด้อยค่าผลงานด้วยกัน ขอแค่แบบว่าไม่โอเคก็แค่บอกกันดีๆ หรือความคิดที่ว่าเดี๋ยวเขาจะหาว่าเข้าข้างเอกชน แต่ทำไมเอกชนที่มาคอยรับผลประโยชน์โดยที่ไม่ทำอะไรเลยทำไมไม่พูดกันบ้าง ซึ่งมันก็เหมือนกับการหาบเร่ขายของ กว่าจะได้เงินแต่ละบาทก็ยากเย็นนะ ซึ่งถ้าภาครัฐมาช่วยเอกชนจริงๆ อาจจะถูกธุรกิจอื่นมาด่าแทน ซึ่งตรงนี้เราว่าประชาชนได้ผลประโยชน์หมดเลยนะ หรือว่าอยากจะเหมากิจการของเราไปเลยก็ได้นะเรายกให้ (หัวเราะ) แต่ต้องมาซื้อไปนะ เราก็มีความรู้สึกเหมือนกันที่ต้องไปรบรากับฝ่ายอื่นๆ แต่โดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของนี่แหละ เราแค่เป็นคนธรรมดาคนนึง

แผนการเดินรถทั้งเรือในอนาคตข้างหน้าของไทยสไมล์ คิดว่าจะไปในทิศทางใดต่อครับ


ตอนนี้ที่นำร่อง ยังมีการทับซ้อนเส้นทางอยู่ประมาณ 38 เส้นทาง แล้วเราก็ไปขอทางกรมการขนส่งทางบก มาจัดการเคลียร์ให้เรียบร้อยแล้ว 5 เส้นทาง ซึ่งในเส้นทางตรงนี้ เราก็คิดว่าจากแผนที่เราวางไว้คิดว่าเราก็ทำได้ดีประมาณนึงแล้ว ส่วนรถที่มีอยู่ประมาณ 2,200 คัน แต่เป้าหมายของเราก็คืออยากจะมีรถประมาณ 3,100 คัน เราอยากจะเติมรถให้ได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งทางเราก็คิดว่าน่าจะเพียงพอให้กับประชาชนที่ใช้งานได้แน่นอน ซึ่งใน 123 เส้นทางที่เรามีอยู่ แต่ให้คนไทยได้ใช้รถแบบใหม่ แค่นั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับเรานะ แต่ถามว่าอนาคตข้างหน้าจะมีการขยับขยายมั้ย มันก็แล้วแต่ว่าประชาชนต้องการแค่ไหน ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัวเราคิดว่ามันควรที่จะรวบรวมกันให้หมดนะ ไม่ว่าจะเป็นรถที่ให้บริการในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดเลยค่ะ

เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ธัชกร กิจไชยภณ



กำลังโหลดความคิดเห็น