“สนธิ” มองศึกยิว-ฮามาส อิสราเอลยังไม่กล้าบุกเข้าโจมตีฉนวนกาซาแบบเต็มตัว เพราะชาติอาหรับเตรียมจับมือกันเข้ามารุม ขณะกระแสประท้วงเห็นใจชาวปาเลสไตน์เกิดขึ้นทั่วโลก สถานการณ์วันนี้ไม่เหมือนสงคราม 6 วันเมื่อ 56 ปีก่อน แต่สหรัฐฯ ยังต้องการให้เกิดสงคราม เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินดอลลาร์ พลังงาน และกระตุ้นธุรกิจอาวุธ แนะนักลงทุนซื้อทองเก็บแม้ราคาสูง เชื่อสงครามขยายวงยืดเยื้อแน่
ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและนักรบปาเลสไตน์ในนามกลุ่มฮามาสที่ปะทุขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น และอาจจะลุกลามไปสู่สถานการณ์สงครามครั้งใหญ่ที่กลายเป็นวิกฤตของทั้งภูมิภาค และกลายเป็น “สงครามโลก” ได้ง่าย ๆ เมื่อชาวมุสลิมในหลายๆ ประเทศรวมตัวกันชุมนุมใหญ่ประท้วงอิสราเอล และสนับสนุนปาเลสไตน์ โดยแม้แต่ นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกฯ มาเลเซีย ยังต้องเข้าร่วมด้วย
เหตุการณ์บุกจู่โจมอิสราเอลแบบฉับพลันของกองกำลังฮามาสแบบ“ช็อกโลก”เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น มีผู้นำไปเปรียบเทียบกับ เหตุการณ์ช็อกชาวอเมริกันอย่าง 9/11 หรือ เหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยายน 2544 ที่กลุ่มอัลกออิดะห์ก่อการบนผืนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา
เช่นเดียวกัน มีคนชี้ให้เห็นว่า ผลกระทบของ 9/11 เมื่อ 22 ปีที่แล้ว เปลี่ยนแปลงโลก และส่งผลกระทบต่อความเสื่อมสลายของดุลอำนาจของอเมริกัน ณ วันนี้ ฉันใด เหตุการณ์ 9/11 ของชาวอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา และสงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลต่อโลกไปอีกนับสิบ ๆ ปีเช่นเดียวกัน
นาย ฟีโอดอร์ ลูเคียนอฟ (Fyodor Lukyanov) บรรณาธิการและนักข่าวผู้เชี่ยวชาญเรื่องต่างประเทศชาวรัสเซีย วิเคราะห์ว่า การลุกขึ้นของกลุ่มฮามาสเข้าจู่โจมอิสราเอล ซึ่งเหนือกว่าในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาวุธ กำลังการทหาร การเงิน ถึงขั้นเป็นมหาอำนาจทางการทหารของภูมิภาค โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงผู้สนับสนุนเบื้องหลังอิสราเอล คือมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาหากพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วก็เหมือน “การฆ่าตัวตายของกลุ่มฮามาส”
แต่เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ก็สะท้อนให้เห็นว่า การดำรงอยู่ของมหาอำนาจของภูมิภาคของอิสราเอล หรือ มหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐฯ ไม่สามารถหยุดยั้งการเติบโตของเจตจำนงเสรี (Free Will) ของกลุ่ม หรือ รัฐอื่นๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหรือรัฐที่มีขนาดใหญ่ กลาง หรือ เล็กเท่าใดก็ตาม
ทั้งนี้ นายลูเคียนอฟ ทิ้งประเด็นที่น่าสนใจไว้ว่าช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นว่า “อาการสั่นคลอนของสหรัฐฯ” ไม่เพียงเกิดขึ้นเฉพาะเหตุเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2544 แต่เป็นผลกระทบระยะยาวจากนโยบาย และการตอบโต้ของสหรัฐฯ ภายหลังจากเกิดการ 9/11 อันนำมาสู่ความถดถอย และเสื่อมทรุด ของจักรวรรดิอเมริกา
และเช่นกัน เหตุการณ์ 9/11 ของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมาก็อาจจะนำมาสู่ ความโหดร้ายคือ การสิ้นสุดยุคสมัยของการเป็นเจ้าโลกของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาเช่นกัน!
นายสนธิ กล่าวว่า ในสงครามไม่มีความเป็นกลาง มีแต่ต้องเลือกข้าง และตอนนี้ก็ชัดเจนว่าประชาชนในหลากหลายประเทศทั่วโลก ได้เลือกข้างแล้ว คือ “ไม่เอาอิสราเอล” การประท้วงในประเทศต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณเตือนว่าภูมิรัฐศาสตร์โลกกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
การลุกฮือของกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อสนับสนุนอิสรภาพของชาวปาเลสไตน์ จากการกดขี่ และแย่งชิงดินแดนของอิสราเอล สะท้อนถึงความเป็นอิสระของหน่วยต่าง ๆ ประเทศต่างๆ ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ไม่ต้องฟังใคร ไม่ต้องกลัวใคร เพราะนักเลงโตอเมริกาคุมใครไม่ได้อีกแล้ว
อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องชี้ให้เห็นก็คือ สหรัฐอเมริกา พยายามเป็นตัวเชื่อมให้เกิดสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างซาอุดิอาระเบีย กับ อิสราเอล แต่สถานการณ์ ณ วันนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สนธิสัญญาสันติภาพดังกล่าวไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ และล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
วันที่ 12 ตุลาคม 2566 ทางการซาอุดีอาระเบียรายงานว่า เจ้าชายโมฮัมมัด บิน ซัลมาน (หรือ MBS) มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย ได้รับโทรศัพท์จากประธานาธิบดีอิบราฮิม ไรซี ของอิหร่าน Ffp และได้หารือกันเรื่องสถานการณ์ทางทหารปัจจุบันในกาซา และพื้นที่โดยรอบ มกุฎราชกุมารตรัสว่า ซาอุดีอาระเบียกำลังหารือกับทุกฝ่ายทั้งระดับภูมิภาคและสากลเพื่อยุติสถานการณ์ที่กำลังทวีความรุนแรง และทรงย้ำจุดยืนที่หนักแน่นของซาอุดีอาระเบียเรื่องสนับสนุนเหตุผลของปาเลสไตน์
ส่วนพรรคการเมืองใหญ่ที่สุดของปากีสถานพร้อมที่จะร่วมรบกับฮามาส เพียงแค่ขอให้ประเทศในอาหรับเปิดทางให้กองทัพของปากีสถานเข้าร่วม
นอกจากนี้ก็มีข่าวลือว่อนไปทั่วว่า “รัฐบาลกาตาร์” ซึ่งสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ ก็เปรยกับ EU ว่าถ้าชาติใดใน EU สนับสนุนอิสราเอล กาตาร์จะดำเนินการระงับการส่งก๊าซ โดยหลังจากสงครามยูเครน เกิดการแซงก์ชันรัสเซีย ยุโรปก็หันมาพึ่งพาก๊าซจากกาตาร์ และสหรัฐฯ เพื่อชดเชยก๊าซจากรัสเซีย
สงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งที่ทำให้โลกเปลี่ยนขั้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน พิสูจน์ให้เห็นว่าปัจจุบันอิสราเอลไม่ได้แข็งแกร่งอย่างที่คิดกัน โดยสาเหตุที่อิสราเอลชะลอการการบุกฉนวนกาซ่าออกไป เพราะกลัวว่าจะเกิดสงครามที่ขยายวงกว้าง หรือสงครามใหญ่ เพราะหากอิสราเอลเข้าไปในกาซ่า ก็มีโอกาสสูงมากที่อิหร่าน หรือ กลุ่มฮิซบัลเลาะห์จะเข้าร่วมสงครามอย่างเต็มตัว
ปฏิบัติการของฮามาสที่ใช้วิธียิงระดมจรวด 5,000 ลูกภายใน 20 นาทีเข้าไปในอิสราเอล จนสามารถเจาะทะลุระบบป้องกันขีปนาวุธโดมเหล็ก หรือ Iron Dome ของอิสราเอลได้ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าระบบนี้ไม่ได้ไร้เทียมทาน และน่าจะถูกทดสอบอีกในเร็ววันนี้ แม้ว่าสหรัฐฯ จะพยายามนำจรวด และระบบเข้ามาเติมเต็มช่องว่างแล้วก็ตาม โดยประเด็นที่ทั้งสหรัฐฯ และอิสราเอลกำลังกลัวก็คือ การกระโดดลงมาร่วมสงครามครั้งนี้อย่างเต็มตัวของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งมีกำลังรบที่แข็งแกร่งกว่าฮามาส และว่ากันว่ามีจรวดอยู่ในคลังแสงมากถึง 150,000 ลูก
เพราะฉะนั้น สงครามครั้งนี้ กับ สงครามหกวัน หรือ สงครามอาหรับ–อิสราเอลเมื่อวันที่ 5-10 มิถุนายน 2510 เมื่อ 56 ปีที่แล้ว อันเป็นสงครามระหว่าง อิสราเอล กับจอร์แดน ซีเรียและอียิปต์ นั้นมีบริบทที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าอิสราเอลไม่ได้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าชาติอาหรับอีกแล้ว นอกจากนี้นักรบชาติอาหรับไม่ว่าจะเป็น กลุ่มฮามาสในกาซ่า หรือ กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ก็ได้รับแรงหนุนจากทางโลกอาหรับอย่างมาก ทั้งอิหร่านและเลบานอน
อาวุธของอิสราเอลไม่ได้มีมากมายเหมือนที่คิดกันไว้ แต่ในตะวันออกกลางสหรัฐฯ เก็บ อิสราเอลเอาไว้เป็นตัวป่วนในตะวันออกกลาง ด้วยการส่งงบประมาณ ส่งอาวุธ ส่งกองหนุนเข้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมสหรัฐฯ ต้องส่งเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าไปสนับสนุนอิสราเอลมากถึง 2 ลำ คือ USS Dwight D. Eisenhower และ USS Gerald R. Ford เพื่อกันท่าไม่ให้อิสราเอลถูกรุมกินโต๊ะจากชาติอาหรับ
อย่างไรก็ดี นายฮอสเซน อามีร์ อับดอลลาเฮียน รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ได้กล่าวเตือนผ่านสำนักข่าวอัลจาซีราห์ ส่งสารถึงอิสราเอลว่า ถ้าพวกเขาไม่หยุดการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนในกาซา อิหร่านก็ไม่อาจยืนดูอยู่เฉยๆ
"ถ้าขอบเขตของสงครามขยายวงกว้าง ความเสียหายหนักหน่วงจะเกิดขึ้นกับอเมริกาด้วยเช่นกัน"
นายสนธิกล่าวว่า ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 ได้เคยเตือนเอาไว้แล้วในตอนที่พูดถึงเรื่อง “เปโตรดอลลาร์” กำลังล่มสลายว่าสหรัฐอเมริกาอาจจะแก้เกมนี้ด้วยการก่อสงคราม ด้วยเหตุผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจยามสงคราม (War Economy)
เนื่องจาก สหรัฐอเมริกาต้องการได้ประโยชน์ยิ่งกว่าเดิม ความหมายคือ เมื่อโลกแบ่งข้างชัดเจนการซื้อน้ำมันปิโตรเลียม-ก๊าซจากตะวันออกกลางจะยากขึ้น สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งน้ำมันและก๊าซรายใหญ่เช่นกันก็จะสามารถขายสินค้าพลังงานได้ในราคาที่สูงยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก
ล่าสุดแม้แต่ กองทัพปลดแอกประชาชนของจีนยังต้องส่งเรือรบจำนวน 6 ลำ (แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ลำ ประกอบไปด้วย เรือพิฆาต (Destroyer) 1 ลำ, เรือฟริเกต 1 ลำ และเรือเสบียงอีก 1 ลำ) เข้าไปในภูมิภาคตะวันออกกลาง เพื่อคุ้มครองเรือขนส่งน้ำมัน และเรือสินค้าของจีนเอง ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสงครามในตะวันออกกลาง
กลุ่มแรก –“เรือจื่อโป๋”ซึ่งเป็นเรือพิฆาต (Destroyer) ติดขีปนาวุธนำวิถี Type 052D,เรือฟริเกต “จิงโจว”, และเรือเสบียงบูรณาการ “เชียนเต่าหู”
กลุ่มที่สอง – ซึ่งถูกส่งมาเสริมนั้นมาจากกองบัญชาการ Northern Theatre ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ประกอบด้วยเรือพิฆาต“อุรุมชี”,เรือฟริเกต“หลินอี้”, และเรือเสบียง“ตงผิงหู”
แต่ไม่ได้เข้าไปใกล้พื้นที่ขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” เพียงป้วนเปี้ยนอยู่แถวอ่าวเปอร์เซียแถว “คูเวต” และ “โอมาน”(ดูแผนที่)
ทั้งนี้ทั้งนั้น องค์กรที่เชื่อว่ามีบทบาทในการเดินหมากเรื่องสงครามในตะวันออกลางครั้งนี้ คือสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือ CFR (Council On Foreign Relations) องค์กรที่พวกยิวไซออนิสต์ก่อตั้งขึ้น และเป็นผู้กำหนดนโยบาย คล้ายกับเป็นผู้ปกครองตัวจริงของโลกนี้ เพราะ นักการเมืองจริง ๆ ก็คือ คนที่เลือกตั้งมาแล้วก็ออกไป แต่คนที่กำหนดนโยบายใน CFR นั้นเป็นผู้กำหนดทิศทางทางการเงินการธนาคาร การคลัง สื่อมวลชน พลังงาน อาวุธ ซึ่งจากการก่อสงครามรอบใหม่นี้ ผู้ที่กุมผลประโยชน์เหล่านี้สามารถกอบโกยผลประโยชน์ได้ครบทุกด้าน คือ
1.ราคาปิโตรเลียมทั้งน้ำมัน และก๊าซ จะถีบตัวสูงขึ้น
2.การที่ราคาปิโตรเลียมสูงขึ้น ทำให้เงินดอลลาร์ยังสามารถครองสัดส่วนมูลค่าของสกุลเงินในการซื้อขายพลังงานเอาไว้ได้อยู่
3.ธุรกิจอาวุธสงครามที่จะเฟื่องฟูขึ้นจากสงคราม ความขัดแย้ง ความวุ่นวาย และ ความไม่สงบ ที่ขยายวงไปสู่ประเทศอื่น ๆ ทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และภูมิภาคอื่นๆ ของโลก
ราคาหุ้นบริษัทผู้ผลิตอาวุธทั่วโลกพุ่ง หลังเหตุฮามาสโจมตีอิสราเอล
ภายหลังจากที่ “กลุ่มฮามาส” บุกโจมตีอิสราเอล เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 และสงครามในตะวันออกกลางปะทุขึ้น ราคาหุ้นของบริษัทผู้ผลิตอาวุธทั่วโลกก็ปรับตัวสูงขึ้นทันทียกตัวอย่างเช่น
หุ้นของ Lockheed Martin ยักษ์ใหญ่ด้านกลาโหมของอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าตลาด 110,000 ล้านดอลลาร์ และผู้ผลิตเครื่องบิน F-35 และ F-16 เพิ่มขึ้น 8.6% ในตลาดนิวยอร์กในช่วงห้าวัน
หุ้นของ Raytheon ซึ่งผลิตระบบเรดาร์ และขีปนาวุธ รวมถึงขีปนาวุธสกัดกั้น Iron Dome ซึ่งมีมูลค่า 106,000 ล้านดอลลาร์ ราคาก็เพิ่มขึ้น 4.7%
Northrop Grumman ซึ่งเชี่ยวชาญด้านระบบอากาศและเรดาร์ หุ้นก็ขึ้น 8.1% ทำให้บริษัทมีมูลค่ารวมเพิ่มเป็น 71,000 ล้านดอลลาร์
ในยุโรป บริษัท BAE Systems บริษัทอังกฤษผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดในยุโรป หุ้นก็เพิ่มขึ้น 2.5%
ในขณะที่ Dassault Aviation ผู้ผลิตเครื่องบินรบมิราจและ Thales ผู้ผลิตยุทโธปกรณ์ของฝรั่งเศส หุ้นเพิ่มขึ้น 3% ต่อหน่วย
Rheinmetall ผู้ผลิตปืนใหญ่ ยานพาหะ และรถถังแพนเธอร์ ของเยอรมนี หุ้นก็เพิ่มขึ้น 2%
เหล่านี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มยิวไซออนิสต์ทุกประการ
อย่างไรก็ตาม สงครามวันนี้ ไม่เหมือนสงคราม 6 วันเมื่อปี 2510 แล้ว ทั้งเรื่องของเทคโนโลยียุทโธปกรณ์ และพันธมิตรที่สนับสนุนฮามาส
ปัจจัยที่เป็นตัวชี้ขาด คือเทคโนโลยี สมัยก่อนใครกล้ามใหญ่คนนั้นชนะ ตอนนี้ทุกคนมีกล้าม และกล้ามจีนก็ใหญ่มาก
หัวเว่ยบริษัทเดียว สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งโลก เพราะเทคโนโลยีคือการยึดประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ
เมื่อระเบียบโลกเก่าถูกดิสรับ ตอนนี้อเมริกากำลังสูญเสียรายได้มหาศาล ทั้งเรื่องดอลลาร์ พลังงาน น้ำมัน อาวุธ ดังนั้นอเมริกาอยากให้เกิดสงครามตะวันออกกลาง เพราะจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องดอลลาร์ พลังงาน น้ำมัน อาวุธ ได้ทั้งหมด ที่ผ่านมาอเมริกาก็ทำแบบนี้
ในสถานการณ์สงคราม จะลงทุนอะไรดี?
หากย้อนดูตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นมา ราคาทองคําแท่งในประเทศชนิด 96.5% ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
โดยราคาทองคำต่ำสุด เดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ 29,650 บาท ก่อนจะค่อยๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เป็น 30,000 เป็น 31,000 เป็น 32,000 บาท จนกระทั่งปัจจุบันเดือนตุลาคม ราคาทองคำสูงสุดอยู่ที่ 34,250 บาท โดยเฉพาะนับตั้งแต่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอล ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาแล้ว 6%
ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวนอย่างนี้ หุ้นบางวันำก็ตกไปต่ำว่า 1,400 จุด ค่าเงินบาทก็ผันผวน ควรเอาเงินลงทุนอะไรดี
แม้ราคาทองจะพุ่งขึ้นแรงมาก โดยตอนนี้ลดลงมาหน่อยแล้ว แต่ก็ยังยืนยันว่าควรซื้อทองเก็บ ถือยาวๆ
แต่ไม่สนับสนุนการลงทุนอะไรที่เป็น “แผ่นกระดาษ” หมายความว่า หากจะซื้อทองก็ซื้อเป็นทองแท่งหรือทองรูปพรรณไปเลย แต่ต้องมีที่เก็บที่ปลอดภัย ส่วนพวก “กองทุนทองคำ” หรือ “หุ้นทองคำ” หลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยง เพราะมีความเสี่ยงสูง และไม่ได้ถือครองทองจริง
อย่างไรก็ตาม ถ้าถือยาว ๆ ระหว่างทางราคาทองก็อาจจะมีขึ้นมีลงบ้าง อย่าไปสนใจเพราะสุดท้ายสถานการณ์โลก และความเปลี่ยนแปลงของดุลอำนาจในโลกนั้นจะผลักดันให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นไปกว่านี้อีก