xs
xsm
sm
md
lg

ไขปริศนา ขยะภูกระดึงปีละกว่า 10 ตันไม่เหลือ “นำขึ้นไปเท่าไหร่ นำกลับมาเท่านั้น”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ไขปริศนา … ขยะจากการท่องเที่ยวปีละกว่า 10 ตัน ไม่เหลืออยู่บนภูกระดึง จังหวัดเลย ด้วยแนวทาง “นำขึ้นไปเท่าไหร่ นำกลับมาเท่านั้น”

รายงานพิเศษ

“พิชิตภูกระดึง” อาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของคนจำนวนหนึ่งที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ ด้วยเส้นทางขึ้นเขาลาดชันยาว 5.5 กิโลเมตร เดินต่อไปถึงจุดพักแรมอีก 3.5 กิโลเมตร และยังต้องเดินไปชมความงามของธรรมชาติตามจุดต่างๆอีกหลายกิโลเมตร จึงกลายเป็นความท้าทายของนักเดินทางที่หวังจารึกความพยายามของตัวเองให้สำเร็จให้ได้สักครั้ง

แต่ในทางกลับกัน ก็อาจมีคนอีกมากมายที่ต้องการไปสัมผัสความงดงามที่จุดชมวิวต่างๆบนภูกระดึงบ้างเช่นกัน แต่ไม่สามารถฝ่าเส้นทางสุดโหดขึ้นไปได้ จึงทำให้แนวคิด “กระเช้าขึ้นภูกระดึง” ถูกนำเสนอมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้เพราะมีทั้งเสียงสนับสนุนและต่อต้าน

แต่ .. ไม่ว่าจะมีกระเช้าหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่สำคัญก็คือ นักท่องเที่ยวจำนวนมากยังคงเดินทางไปที่ภูกระดึงอย่างต่อเนื่อง แม้เส้นทางจะลาดชัน เพราะเหล่านักท่องเที่ยวก็สามารถเดินขึ้นภูตัวเปล่าได้ โดยมีกลุ่มชาวบ้านที่ทำงานเป็น “ลูกหาบ” รับจ้างขนสัมภาระต่างๆขึ้นไปบนจุดสูงสุดของภูแทนผู้มาเยือน

เมื่อมีคนมาก ก็มี “ขยะ” มากตามไปด้วย ... และเมื่อนำขึ้นไปยาก การนำกลับลงมาก็น่า “ยาก” เช่นกัน ... แต่ที่ภูกระดึง “ทำได้”

ยกข้อถกเถียงว่าควรมี “กระเช้าขึ้นภูกระดึงหรือไม่” ออกไปก่อน ... เรามาดูกันก่อนว่า ที่ผ่านมา “ภูกระดึง” จัดการกับ “ขยะ” ที่เกิดจากการท่องเที่ยวได้อย่างไร?

อดิสร เหมทานนท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
“ภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสความงดงาม 8 เดือนต่อปีครับ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง พฤษภาคมของปีถัดไป เรามีค่าเฉลี่ยของขยะที่เกิดขึ้นจากการเที่ยวภูกระดึงปีละกว่า 10 ตันครับ”

อดิสร เหมทานนท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง กล่าวถึงปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวภูกระดึง ซึ่งปริมาณ 10 กว่าตันต่อปีที่ถูกบันทึกไว้ คือส่วนที่ถูกนำลงมาภูโดยกลไกของทางอุทยานฯเอง ยังไม่รวมบางส่วนที่ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆนำลงมาเอง โดยการจัดการที่เป็นรูปธรรมเริ่มขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ผ่านนโยบายหลักคือ “นำขึ้นไปแค่นั้น ก็ให้นำลงมาแค่นั้น”

“ไม้ให้มีขยะตกค้างอยู่ข้างบนครับ ยกเว้นพวกขยะเปียก เศษอาหารเราก็ทำบ่อขยะเปียก ทำบ่อดักไขมันที่ร้านค้า ทำระบบบำบัดน้ำเสียอยู่ข้างบน พวกนี้ย่อยสลายได้”

“ส่วนขยะอื่นๆ เรามีนโยบายลดขยะตั้งแต่ทางขึ้น ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ประกอบกับการดำเนินตาม “โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง” ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะแจกถุงตาข่ายเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่จะลงจากภูนำขยะกลับลงมาเพื่อชั่งน้ำหนักแลกกับการได้ใบประกาศเกียรติคุณว่ามีส่วนในการอนุรักษ์ภูกระดึง จากนั้นก็นำขยะเหล่านั้นไปขายให้กับกล่มธุรกิจรีไซเคิลเพื่อลดปริมาณขยะไปในตัว”

การจัดการปัญหาขยะของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ยังมีแนวทางอื่นๆอีกด้วย คือ “โครงการมัดจำบรรจุภัณฑ์” ให้นักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการแสดงบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ต่างๆต่อเจ้าหน้าที่ เช่น ซองขนมที่จะนำขึ้นไปบริโภคบนภู เพื่อจ่ายค่ามัดจำซองไว้ก่อน และสามารถมารับเงินคืนได้เมื่อนำบรรจุภัณฑ์นั่นกลับลงมา หรือในส่วนของผู้ประกอบการ ก็มีกำหนดอยู่ในเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตให้ประกอบการ ที่ ผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้องนำขยะลงมาจัดการไม่น้อยกว่า 50 กิโลกรัมต่อปี รวมไปถึงยังมีมาตรการ “ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟม ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง กล่องบรรจุอาหารพลาสติกแบบบาง หลอดพลาสติก ช้อน ส้อมพลาสติก เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึงด้วย”


สำหรับปริมาณขยะจากการท่องเที่ยวภูกระดึงในฤดูกาลท่องเที่ยวล่าสุด คือ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566 เป็นระยะเวลา 8 เดือน (อีก 4 เดือนปิดรับนักท่องเที่ยวในฤดูฝน) โดยเก็บสถิติจากนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึงรวม 13,249 คน พบว่ามีขยะรวมกันประมาณ 13 ตัน หรือ 13,305 กิโลกรัม แยกเป็นขยะจากนักท่องเที่ยว 2,864 กิโลกรัม ขยะจากร้านค้า 4,175 กิโลกรัม ขยะจากกลุ่มลูกหาบ 6,266 กิโลกรัม

จากตัวเลขที่ปรากฎ หัวหน้าอดิสร อธิบายเพิ่มเติมโดยชี้ให้เห็นว่า ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น “ระหว่างทาง” จากกลุ่มลูกหาบ และนักท่องเที่ยวที่เดินขึ้นลง ก็เป็นจุดสำคัญ เพราะในอดีตมีจุดที่ต้องพักระหว่างทางหลายจุดซึ่งอาจมีขวดน้ำ ขวดเกลือแร่ที่ถูกทิ้งไว้เนื่องจากเป็นภาระในการถือระหว่างเดินทาง จึงได้จัดให้มีถังขยะอยู่ระหว่างทางเพิ่มมากขึ้นด้วย และยังคงต้องมีกระบวนการในการนำลงมาจัดการที่ด้านล่าง

“เนื่องจากเราพบว่า แม้จะมีจุดพักที่มีร้านค้าระหว่างทางขึ้นซึ่งสามารถจัดเก็บขยะได้อยู่ แต่ก็ยังมีการทิ้งขยะตามทางในจุดอื่นๆ อยู่บ้าง เพราะมีจุดพักอีกหลายจุดที่ทั้งลูกหาบหรือนักท่องเที่ยวจะดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่กัน และไม่มีที่ทิ้งขยะจึงแอบวางไว้ตามทาง เราจึงนำถังขยะไปวางไว้ระหว่างทางให้สามารถทิ้งได้ แต่ก็แน่นอนว่า เราก็ยังต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ไปนำขยะจากถังเหล่านั้นลงมาจัดการที่ด้านล่าง หรือบางครั้งเราก็ขอความร่วมมือจากกลุ่มลูกหาบที่เดินลงมาตัวเปล่า ให้ช่วยนำขยะจากถังระหว่างกลับลงมาได้โดยไม่ได้เสียค่าจ้าง แต่ให้ “คิวรับงานเพิ่ม” เป็นแรงจูงใจ”

“เมื่อสร้างกระบวนการเช่นนี้ แม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาที่ภูกระดึงมากขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นภูกระดึง เพราะขยะทั้งหมดถูกนำลงมาข้างล่าง และนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลครับ”

“การประชาสัมพันธ์อย่างหนักมีผลอย่างมากครับ การที่เจ้าหน้าที่พยายามพูดเรื่องการจัดการขยะอยู่ตลอด ก็ช่วยให้นักท่องเที่ยวเกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะเป็นเหมือนความรับผิดชอบร่วมกันที่ต้องช่วยกันทำ โครงการต่างๆที่เราทำขึ้นมามันจึงได้ผลดีครับ” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึงกล่าว

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

โครงการอาสาสมัครพิทักษ์ภูกระดึง

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

การจัดการขยะด้านบน

ถังขยะระหว่างทาง

ถังขยะระหว่างทาง

ถังขยะระหว่างทาง
กำลังโหลดความคิดเห็น