ตลอดระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จํากัด (มหาชน) หรือ DMT ได้ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการดําเนินงานควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคมมาโดยตลอด ด้วยความตั้งใจที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างสังคมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG คือ การดูแลสิ่งแวดล้อม การตอบแทนสังคมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการกำกับดูแลองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล จึงได้มีการกำหนดแผนงานกิจกรรมเพื่อสังคมที่สอดคล้องกับนโยบายไว้ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่
- Tollway Smart Way ยกระดับการศึกษา
- Tollway Healthy Way ยกระดับสุขภาพที่ดีของสังคม
- Tollway Safety Way ยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนน
- Tollway Better Way ยกระดับคุณภาพชีวิตสังคม
- Tollway Green Way ยกระดับสิ่งแวดล้อม
โครงการ ปั้น ปลูก คิด(ส์) เป็นหนึ่งในแผนงานกิจกรรม Tollway Green Way ยกระดับสิ่งแวดล้อม และเฟ้นหาเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ((Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 12 คือสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เกิดภาคีสมาชิกด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเมื่อพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าประเด็นที่ทุกคนน่าจะนึกถึงกันเป็นลำดับต้นๆ น่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับขยะ โดยที่ผ่านมาเราต่างพยายามจะปลูกฝัง สร้างองค์ความรู้ ตลอดจนรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะมาเป็นเวลานาน แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างแท้จริง
คุณอัจฉรา เจริญพร ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร กล่าวว่า “ในปีนี้โครงการปั้น ปลูก คิด(ส์) ยังคงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสานต่อวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ขององค์กรในการปั้นเจตนารมย์ดีๆของเยาวชน และปลูกความรู้ความสามารถของคนรุ่นใหม่งอกงามเติบโตขึ้นเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้สังคมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ DMT มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันผลงานที่ได้รับการคัดเลือกถูกนำไปต่อยอด และนำไปปรับใช้ในชุมชนต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน และอยากฝากให้ทุกท่านติดตามผลงานดีๆ จากน้องๆ ด้วย”
คุณนพพล โพธิ์ขี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน กล่าวเสริมว่า “โครงการนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เนื่องจากปีที่แล้วผลงานจากผู้ชนะโครงการ “ปั้น ปลูก คิด(ส์) ได้ถูกพัฒนาและต่อยอดนำไปสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย‘วิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย’ นับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง และเรามีความภูมิใจที่โครงการนี้ได้สร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองโก หมู่ที่ 3 ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 120 ครัวเรือน แต่ละคนมีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 40,000 บาท และตลอด 1 ปีที่ผ่านมา จากต้นกล้าต้นเล็กๆ ที่ได้รับการปั้นและปลูกมาเป็นอย่างดี ‘วิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย’ ยังชนะรางวัลที่ 2 ในการประกวดชุมชนเข้มแข็งของอำเภอบรบือ ซึ่งจัดโดยท่านนายอำเภอบรบือ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 15 ตำบล และน้องสมาชิกได้เป็นเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้กับหน่วยงานต่างๆ ใกล้เคียง อาทิ อบต.แกดำ อบต.แวงน่าน และตามโรงเรียนต่าง ๆ รวมถึงเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมต่อไป
สำหรับโครงการปั้น ปลูก คิด (ส์) ปี 2 นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากน้องๆ นักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าประกวด โดยได้ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 10 ทีมสุดท้ายได้แก่
1. ทีมเนมมาเอาชัย ผลงาน การพัฒนาถ่านชีวภาพ จากเหง้าต้นสำปะหลังและกากกาแฟ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดสตูล
2. ทีม Yolo ผลงาน เปลือกหอยสร้างบ้าน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
3. ทีม RU OK ผลงาน นวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนไร้ขยะ (ปิล็อกสโลว์ไลฟ์ ไร้ขยะ) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนาถ กรุงเทพมหานคร
4. ทีม EnviE ผลงาน Wastewater Treatment Efficiency using Thin Biofilm Filter Form Kombucha for oil Removal from food Restaurant Effluent จากสถาบัน KOSEN มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร
5. ทีม Pilleus gang ผลงาน เพาะเห็ดนางฟ้าจากขี้เลื่อยกิ่งผลไม้เมืองจันท์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
6. ทีม The Remedy ผลงาน ถุงดูดซับทรายน้ำมันจากกากกาแฟ ที่เสริมประสิทธิภาพด้วยน้ำหมักคีเฟอร์น้ำผลไม้ท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาคราบน้ำมันปนเปื้อนในโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
7. ทีม ACR ผลงาน กาวจากน้ำมันหอมระเหยมะกรูดและโฟม จากโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จังหวัดระยอง
8. ทีม 3 สหายคล้ายจะเป็นลม ผลงาน ฟองน้ำจากเส้นใยธรรมชาติ รักษาความชื้นและลดความเค็มในดินสำหรับการเพาะปลูก จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรี
9. ทีมโครงงานโครงใจ สู่การพัฒนา ผลงาน อิฐ (รักษ์โลก) จากพลาสติก PET และกากมะพร้าวเหลือทิ้ง จากโรงเรียนดารุสสาลาม จังหวัดนราธิวาส
10. ทีม Lollypop ผลงาน ไบโอโฟมจากเส้นใยเปลือกข้าวโพดจากโรงเรียนดารุสสาลาม จังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้รอบตัดสินจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566 โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษา 30,000 บาท พร้อมรับทุนสำหรับพัฒนาชุมชน มูลค่าถึง 100,000 บาท พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับทุนการศึกษา 20,000 บาท พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับทุนการศึกษา 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ และรางวัล Best Popular Vote 1 รางวัล รับทุนการศึกษา 5,000 บาท