หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ Solar D หนึ่งในผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่โดดเด่นในกลุ่มบริษัทโซลาร์ของไทย และขึ้นชื่อว่าเป็นผู้คร่ำหวอดในวงการนวัตกรรมและระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัยผ่านประสบการณ์ยาวนานกว่าทศวรรษ ภายใต้แนวคิดการสนับสนุนให้คนไทยมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานเพื่อใช้เอง มุ่งมั่นกระจายพลังงานธรรมชาติจากศูนย์กลางกระจายไปสู่มือทุกคน (Decentralization)
และวันนี้เราได้ นายสันติ ศรีชวาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โซลาร์ ดี คอปอเรชัน จำกัด ที่จะมาฉายภาพบทบาทของโซลาร์และทิศทางของ Solar D ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร
Solar D คัมแบค! รุกตลาดบ้านอีกครั้ง
หากจะเริ่มต้นทำความรู้จักกับ Solar D คงต้องย้อนกลับไปเมื่อราว ๆ 10 ปีก่อน เริ่มก่อตั้งธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นในปี 2013 รับให้คำปรึกษา ออกแบบและติดตั้งระบบโซลาร์สำหรับหลังคาทุกขนาด นอกจากนั้นยังพ่วงด้วยบริการซ่อมบำรุงและการดูแลแบบครบวงจร
ในช่วงแรก Solar D มองหากลุ่มลูกค้าครัวเรือน (Residential) เป็นหลัก ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ภาครัฐเปิดซื้อไฟฟ้าจากบ้านเรือน ใช้เวลาประมาณ 8-9 ปี ก่อนจะปรับโฟกัสไปที่กลุ่มอุตสาหกรรม (Commercial) อย่างโรงงาน สำนักงาน โรงเรียน โรงพยาบาล หรืออาคารพาณิชย์แทน
“ช่วงนั้นไม่ได้ทำบ้านเลย เพราะภาครัฐไม่ซื้อ มันมี Disconnect ชัดเจน ติดโซลาร์ไปไม่มีประโยชน์เพราะคนไม่อยู่บ้าน ราคาโซลาร์ก็ค่อย ๆ ทยอยลงมา และจะเห็นว่า ในตอนนั้นการใช้ประโยชน์จากโซลาร์ของครัวเรือนแทบไม่มีเลย ซึ่งการที่ครัวเรือนของเราติดน้อยมาก ไม่ใช่เพราะโซลาร์แพง แต่เพราะ Fundamental มันไม่เวิร์ค ติดไปไม่มีคนใช้ เพราะฉะนั้นเลยกลายเป็นว่า เราหันมาโฟกัสตลาดอุตสาหกรรม ซึ่งโตขึ้นเรื่อย ๆ และคิดว่า ตอนนี้ถึงเวลาที่จะกลับมาโฟกัสตลาดครัวเรือนอีกครั้ง”
“จริง ๆ ต้องบอกว่า แบคกราวน์ Solar D ไปทางครัวเรือนอยู่แล้ว เป็นตลาดที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว เรากลับมาโฟกัสใหม่เพราะอะไร อาจจะทำให้หลายคนสงสัย ไม่ใช่เพราะภาครัฐกลับมาเปิดซื้ออีกครั้ง แต่เพราะเรามองเห็นโอกาสอย่างการมีเทคโนโลยีแบตเตอรี่บ้านเกิดขึ้นมา ซึ่งใน 1-5 ปีนี้ เราจะมุ่งไปที่ตลาดครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งเรามองว่าในเชิงปริมาณน่าจะโตได้เร็วมาก”
อย่างไรก็ดี Solar D ยังคงมองหาโอกาสการเติบโตอย่างต่อเนื่องของทั้ง 2 ตลาดหลัก โดยนายสันติ มองว่า หนึ่งในเหตุผลที่จะทำให้ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ขยายการเติบโตในประเทศไทย แม้ด้วยราคาของผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างสูง แต่ด้วยคุณภาพ บริการและ “จุดคุ้มทุน” นั่นคงเป็นคำตอบของธุรกิจนี้ โดยเฉพาะตลาดอุตสาหกรรมที่ต้องยอมรับว่า โอกาสมันใหญ่เพราะ “ตัวเลข” นึกภาพโรงงานติดตั้งโซลาร์ ช่วยประหยัดค่าไฟ 50% จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 2 ปี รับประกัน 25 ปี ถ้าคุณมีพื้นที่หลังคาและมองภาพรวมธุรกิจ มันเกิน 2 ปีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นตลาดอุตสาหกรรมด้วยตัวเลขของมันใหญ่มากและขึ้นเร็ว ซึ่งปัจจุบันตัวเลขการติดโซลาร์ตามโรงงานหรือฝั่งอุตสาหกรรมในประเทศไทย อาจมากถึง 15-20% ซึ่งถือว่า เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง
ในขณะที่ตลาดครัวเรือนไม่ได้ใหญ่ด้วยตัวเลข แต่ใหญ่ด้วย “โอกาส” ปัจจุบันครัวเรือนในประเทศไทยติดตั้งโซลาร์ไปแล้วกว่า 47,000 หลังจาก 23 ล้านครัวเรือน เพราะฉะนั้นตลาดตรงนี้มันยังเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ เราสามารถติดตั้งแบตเตอรี่พร้อมโซลาร์ให้จุดคุ้มทุนอยู่ใน 8 - 10 ปี ซึ่งถ้ามันอยู่ใน 10 ปี แปลว่าคุณได้รีเทิร์น 10% ซึ่งถ้าเทียบกับการเอาเงินไปลงทุนในหุ้นก็ได้แค่ 4-5% แต่ถ้าติดโซลาร์จะได้ทั้งแบ็กอัปในบ้านฟรี ได้โซลาร์ รวมทั้งช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
‘Tesla Powerwall’ โซลูชันสำรองพลังงาน
จิ๊กซอว์ตัวสำคัญของ Solar D
ทั้งนี้ การกลับมาโฟกัสตลาดครัวเรือนในครั้งนี้ Solar D ก็ไม่ได้กลับมามือเปล่า ความน่าสนใจคือการพ่วงตำแหน่งตัวแทนติดตั้ง Tesla Powerwall อย่างเป็นทางการรายแรกและรายเดียวของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2022 ที่ผ่านมา ด้วยความไว้วางใจจากบริษัทระดับโลกอย่าง Tesla แน่นอนว่า ด้วยจุดเด่นด้านสินค้าซึ่งได้รับการยอมรับมาแล้วจากทั่วโลก ถือเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาเสริมทัพความแข็งแกร่งให้กับบริษัท
นายสันติ เล่าว่าในช่วงแรกของการพูดคุยไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลากว่าปีครึ่งเลยทีเดียว โดย Tesla เป็นบริษัทที่ใหญ่มากก็ต้องให้โอกาสทุกคนที่เข้าไปคุย ณ ตอนนั้น มีบริษัทเข้าไปคุยเกือบ 10 ราย ซึ่งกว่าจะผ่านแต่ละกระบวนการว่าคุณมีความพร้อมให้กับลูกค้าไหม เทียบเท่าการติดตั้งที่อเมริกาหรือประเทศอื่นหรือเปล่า พอใจกับสิทธิประโยชน์ไหม Qualify เสร็จก็เหลือประมาณ 5-6 ราย ซึ่ง Solar D ก็คือหนึ่งในนั้น
ด้วยศักยภาพการเติบโตและวิสัยทัศน์ตรงกัน รวมทั้งการออกแบบ (Design) ที่ทันสมัยควบคู่ไปกับการมอบประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภค (Customer experience) เช่นเดียวกับที่ Tesla ให้ความสำคัญ นั่นทำให้ Solar D กลายเป็นตัวแทนติดตั้ง Tesla Powerwall อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเปิดตัวที่ประเทศไทยในราคาเริ่มต้น 699,000 บาท ซึ่งในระยะอันใกล้ใน 1-2 ปีนี้ คาดว่า Tesla Powerwall จะสามารถเจาะตลาดแมส (Mass) ได้
ในขณะเดียวกัน อีกหนึ่งความน่าติดตามของ Solar D คือการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าทีม R&D พัฒนานวัตกรรม และพัฒนาระบบออโตเมชั่น ผ่านผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น EV charger, นวัตกรรมหุ่นยนต์ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาแทนแรงงานคน ร่วมกับมหาวิทยาลัยจุฬาฯ เพื่อลดการใช้แรงงานคน ซึ่งเร็วกว่า 5 เท่า ทั้งนี้ ไม่เพียงตอบโจทย์เรื่องการใช้งานจริงเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และลดความเสียหายของหลังคา แอปพลิเคชัน ‘My Solar D’ สำหรับใช้ในการตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ซึ่งเร็ว ๆ นี้ นายสันติ เสริมว่า บริษัทมีแผนจะปล่อย หุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงโซลาร์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์คนติดโซลาร์โดยเฉพาะ
“ปกติจากที่เป็นระบบ Manual โดยการใช้คน เปลี่ยนเป็นการใช้หุ่นยนต์แทน ประเภทอุตสาหกรรม (Commercial) ไซส์ใหญ่ ค่อนข้างหนัก เป็น Industrial Grade สามารถทิ้งไว้บนหลังคาได้เลย จะไม่มีการเอาขึ้นเอาลง มันก็จะทยอยล้างไปเรื่อย ๆ นึกภาพว่า เราติด 2,000 แผง ล้างวันละ 10-20 แผง ครบเซ็ตนี้ ค่อยล้างต่อ เรา Monitor performance มันได้อยู่”
“ส่วนที่ใช้กับประเภทครัวเรือน (Resident) เราพัฒนาเป็นน้ำหนักเบา โดยใช้โมเดลคล้ายโรบอทดูดฝุ่นในบ้านทั่วไป เราปิ๊งไอเดียจากประโยคที่ว่า ความยากของการทำงานบ้าน คือการนัดคนเข้าบ้าน เพราะฉะนั้นหุ่นยนต์ตัวนี้จะตอบโจทย์การทำความสะอาดโดยที่คุณไม่ต้องอยู่บ้านและเราไม่ต้องเข้าบ้านด้วยซ้ำ นำรถให้บริการไปจอดหน้าบ้านลูกค้า ใช้โดรนยก หน้าที่เรามีแค่ Translocation ยกหุ่นยนต์ไว้บนหลังคา โดยจะใช้เวลาล้างประมาณ 30-40 นาที เสร็จแล้วก็บินโดรนกลับไปรับ เราทำความสะอาดให้ลูกค้าเสร็จโดยไม่ต้อง Interact กับเขาเลย หลังจากนั้นก็ส่งรีพอร์ตตามไป ถือเป็นอีกหนึ่งโปรดักส์ที่เรากำลังทำ ตอนนี้ผมว่าอยู่ในเวอร์ชั่น 4 หรือ 5 ใกล้จะปล่อยมาก ๆ แล้ว”
หัวใจสำคัญคือนวัตกรรมต้องยืนหนึ่ง!
เมื่อถามถึงความแตกต่างของ Solar D กับผู้เล่นอื่นในตลาด เขาให้ความเห็นว่า นวัตกรรม (Innovation) คือหัวใจของ Solar D และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ให้บริษัทเติบโตขึ้น ในช่วงแรกเริ่มต้นยอดขาย 100-200 ล้านบาท ก้าวมาสู่ 1,000 ล้านบาท ไม่ใช่เพราะจ้างผู้รับเหมามากขึ้นหรือการขยายทีม แต่ย้ายมาโฟกัสที่นวัตกรรมที่เป็นหัวใจหลักเพื่อทำให้ลูกค้าได้รับคุณภาพที่ดีอยู่เสมอ
เรามองว่าในอนาคต สิ่งที่เป็นธงของเราคือทำเป็นหลังคาโซลาร์ (Solar Roof) ทุกวันนี้ต้องติดเมทัลชีทหรือหลังคากระเบื้องก่อนแล้วค่อยเอาโซลาร์มาทำต่อ ซึ่งตามหลักจริง ๆ แล้วไม่ต้อง คุณสามารถทำเป็นหลังคาโซลาร์ไปเลย เพราะฉะนั้นถ้าทำได้ก็จะสามารถขยายตลาดได้ในวงกว้าง ต่อไปจะไม่ใช่แค่ตลาดโซลาร์แต่จะเป็นตลาดหลังคา ซึ่งตรงนี้เป็นป้ายสุดท้ายที่อยากไปให้ถึง
“ถามว่า ความท้าทายในแง่ของธุรกิจคืออะไรใช่ไหมครับ” นายสันติทวนคำถาม
“มันท้าทายเพราะทุกคนทำโซลาร์เหมือนกันและทำเยอะมาก แต่ข้อดีคือเรามีจุดแตกต่างที่ชัดเจน ซึ่งลูกค้าที่ซื้อไป เขาซื้อเพราะ Vison ที่ตรงกันอย่าง ม.กรุงเทพ ที่เขาตัดสินใจติดตั้งกับเรา มันไม่ใช่แค่เรื่องราคา เพราะถ้าพูดกันตามจริง ราคามันต่างกันไม่เกิน 10% กับเจ้าอื่น แต่ที่เขาเลือกติดกับเราเพื่อที่จะเอาเทคโนโลยีไปใช้ในหลักสูตรการสอนของในมหาวิทยาลัย ได้ Supply ได้นวัตกรรมที่สามารถไปสอนหรือส่งต่อได้”
“ผมเชื่อว่า การพัฒนานวัตกรรม เมื่อไหร่ที่เราหยุดนั่นคือช่วงที่คนจะตามเราทัน”
ทั้งนี้ Solar D ตั้งเป้าระยะยาวแทรกตัวเข้าไปในตลาดหลังคาในปี 2026 -2027 ในขณะที่แผนระยะสั้นเตรียมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ตอบโจทย์และ Succes ได้เร็วกว่า
บทบาทของโซลาร์ในช่วงที่ผ่านมาจากสายตาผู้บริหาร
การมาของโซลาร์ถือเป็นทางรอดของการแก้ปัญหาค่าไฟแพงไหม? นั่นคือสิ่งที่เราตั้งคำถามต่อ
นายสันติ ให้ความเห็นว่า โซลาร์คือตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุดที่มี ณ เวลานี้
เหตุผลที่ CMO ไฟแรงคนนี้หยิบยกขึ้นมาอธิบายให้ฟังว่า ปัจจุบันพลังงานทดแทนในประเทศไทยมุ่งไปที่โซลาร์เป็นหลัก ส่วนกังหันลม (Wind turbin) มีแค่ 2-3 จังหวัดเท่านั้นที่สามารถติดได้เพราะแรงลมน้อยเนื่องจากข้อจำกัดทางพื้นที่แต่ละภูมิภาค แต่ทางเลือกอื่นอย่าง Biomass Biogas ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะ Positive เท่าโซลาร์ เพราะยังต้องใช้การเผาผลาญเพื่อมา Generate ไฟ แต่ถามว่ ดีกว่าถ่านหินไหม หรือดีกว่าการซื้อไฟฟ้าโดยปกติไหม มันดีกว่าอยู่แล้ว แต่ถ้าเลเวลที่ท็อปที่สุดและเข้ากับประเทศไทยที่สุดก็เป็นโซลาร์ ซึ่งข้อด้อยเดียวที่โซลาร์มีคือต้องการพื้นที่หลังคา
เขาขยายความเพิ่มว่า โซลาร์เริ่มมีบทบาทมากอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มันโตในเลเวลที่เร็วมากและปัจจัยที่ทำให้เติบโตนั้นเพราะคนเริ่มตระหนักมากขึ้น ตามมาด้วย Financial gain และสิ่งที่คนมองหาเรื่อย ๆ คือ Social Benefit หรือผลประโยชน์ทางสังคม ว่าด้วยการทำกิจกรรมในแต่ละวันจะทำอย่างไรให้สามารถมีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในภาพรวม ไม่ต้องเป็นภาระ ไม่ต้องซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้ทุกคนมีความตั้งใจในเรื่องนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีตัวเลือกก็เลยเป็นเรื่องที่คนพูดถึงน้อยเท่านั้นเอง
“ทุกวันนี้ดีไซเนอร์หรือสถาปนิกที่เข้ามาคุยกับเราก็บอกตลอดว่า เจ้าของบ้านเขาต้องการแบบ Sustainable Design มากที่สุด อันนี้เป็นความต้องการที่ผมเพิ่งได้ยินมาเหมือนกัน ไม่เกิน 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เป็นไลฟ์สไตล์เบสิคอย่างต้องการกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ แต่เพิ่งมาได้ยินว่า หลายคนมีความต้องการออกแบบบ้านให้พื้นที่หลังคาใหญ่ขึ้น เผื่อการติดแผงโซลาร์ ตอนนี้เทรนด์มันเป็นแบบนั้นไปแล้ว”
อีก 3 ปีเตรียมเข้า IPO
ภาพรวมรายได้ Solar D ตั้งเป้าของปีนี้ไว้ที่ 1,100 ล้านบาท อยู่ที่ประมาณ 300-500 หลัง จากปีที่แล้วที่มียอดขาย 500 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มครัวเรือน 30% และอีก 70% คือกลุ่มอุตสาหกรรม
ส่วนในปี 2024 ขยับขึ้นเป็น 1,500 หลัง หรือคิดเป็นตัวเลขราว ๆ 1,500 ล้านบาท ตามแนวโน้มการเติบโตของตลาดพลังงานทดแทน และในปีสำคัญปี 2025 มีการตั้งเป้ารายได้รวมไว้ที่ 2,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่บริษัทเดินหน้าเข้าสู่ตลาดหุ้น IPO ช่วงไตรมาสที่ 3-4
ซึ่ง Solar D เตรียมความพร้อมสร้างแพลตฟอร์มเพื่อตอบโจทย์การติดตั้งในสเกลใหญ่ขึ้น พร้อมวิจัยและขยายโซลูชั่นอื่น ๆ ต่อยอดการออกแบบรูปแบบใหม่ ๆ ตอบสนองการใช้งานที่มีความหลากหลายมากขึ้นในโลกอนาคต
และวันนี้เราได้ นายสันติ ศรีชวาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โซลาร์ ดี คอปอเรชัน จำกัด ที่จะมาฉายภาพบทบาทของโซลาร์และทิศทางของ Solar D ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร
Solar D คัมแบค! รุกตลาดบ้านอีกครั้ง
หากจะเริ่มต้นทำความรู้จักกับ Solar D คงต้องย้อนกลับไปเมื่อราว ๆ 10 ปีก่อน เริ่มก่อตั้งธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นในปี 2013 รับให้คำปรึกษา ออกแบบและติดตั้งระบบโซลาร์สำหรับหลังคาทุกขนาด นอกจากนั้นยังพ่วงด้วยบริการซ่อมบำรุงและการดูแลแบบครบวงจร
ในช่วงแรก Solar D มองหากลุ่มลูกค้าครัวเรือน (Residential) เป็นหลัก ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ภาครัฐเปิดซื้อไฟฟ้าจากบ้านเรือน ใช้เวลาประมาณ 8-9 ปี ก่อนจะปรับโฟกัสไปที่กลุ่มอุตสาหกรรม (Commercial) อย่างโรงงาน สำนักงาน โรงเรียน โรงพยาบาล หรืออาคารพาณิชย์แทน
“ช่วงนั้นไม่ได้ทำบ้านเลย เพราะภาครัฐไม่ซื้อ มันมี Disconnect ชัดเจน ติดโซลาร์ไปไม่มีประโยชน์เพราะคนไม่อยู่บ้าน ราคาโซลาร์ก็ค่อย ๆ ทยอยลงมา และจะเห็นว่า ในตอนนั้นการใช้ประโยชน์จากโซลาร์ของครัวเรือนแทบไม่มีเลย ซึ่งการที่ครัวเรือนของเราติดน้อยมาก ไม่ใช่เพราะโซลาร์แพง แต่เพราะ Fundamental มันไม่เวิร์ค ติดไปไม่มีคนใช้ เพราะฉะนั้นเลยกลายเป็นว่า เราหันมาโฟกัสตลาดอุตสาหกรรม ซึ่งโตขึ้นเรื่อย ๆ และคิดว่า ตอนนี้ถึงเวลาที่จะกลับมาโฟกัสตลาดครัวเรือนอีกครั้ง”
“จริง ๆ ต้องบอกว่า แบคกราวน์ Solar D ไปทางครัวเรือนอยู่แล้ว เป็นตลาดที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว เรากลับมาโฟกัสใหม่เพราะอะไร อาจจะทำให้หลายคนสงสัย ไม่ใช่เพราะภาครัฐกลับมาเปิดซื้ออีกครั้ง แต่เพราะเรามองเห็นโอกาสอย่างการมีเทคโนโลยีแบตเตอรี่บ้านเกิดขึ้นมา ซึ่งใน 1-5 ปีนี้ เราจะมุ่งไปที่ตลาดครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งเรามองว่าในเชิงปริมาณน่าจะโตได้เร็วมาก”
อย่างไรก็ดี Solar D ยังคงมองหาโอกาสการเติบโตอย่างต่อเนื่องของทั้ง 2 ตลาดหลัก โดยนายสันติ มองว่า หนึ่งในเหตุผลที่จะทำให้ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ขยายการเติบโตในประเทศไทย แม้ด้วยราคาของผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างสูง แต่ด้วยคุณภาพ บริการและ “จุดคุ้มทุน” นั่นคงเป็นคำตอบของธุรกิจนี้ โดยเฉพาะตลาดอุตสาหกรรมที่ต้องยอมรับว่า โอกาสมันใหญ่เพราะ “ตัวเลข” นึกภาพโรงงานติดตั้งโซลาร์ ช่วยประหยัดค่าไฟ 50% จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 2 ปี รับประกัน 25 ปี ถ้าคุณมีพื้นที่หลังคาและมองภาพรวมธุรกิจ มันเกิน 2 ปีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นตลาดอุตสาหกรรมด้วยตัวเลขของมันใหญ่มากและขึ้นเร็ว ซึ่งปัจจุบันตัวเลขการติดโซลาร์ตามโรงงานหรือฝั่งอุตสาหกรรมในประเทศไทย อาจมากถึง 15-20% ซึ่งถือว่า เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง
ในขณะที่ตลาดครัวเรือนไม่ได้ใหญ่ด้วยตัวเลข แต่ใหญ่ด้วย “โอกาส” ปัจจุบันครัวเรือนในประเทศไทยติดตั้งโซลาร์ไปแล้วกว่า 47,000 หลังจาก 23 ล้านครัวเรือน เพราะฉะนั้นตลาดตรงนี้มันยังเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ เราสามารถติดตั้งแบตเตอรี่พร้อมโซลาร์ให้จุดคุ้มทุนอยู่ใน 8 - 10 ปี ซึ่งถ้ามันอยู่ใน 10 ปี แปลว่าคุณได้รีเทิร์น 10% ซึ่งถ้าเทียบกับการเอาเงินไปลงทุนในหุ้นก็ได้แค่ 4-5% แต่ถ้าติดโซลาร์จะได้ทั้งแบ็กอัปในบ้านฟรี ได้โซลาร์ รวมทั้งช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
‘Tesla Powerwall’ โซลูชันสำรองพลังงาน
จิ๊กซอว์ตัวสำคัญของ Solar D
ทั้งนี้ การกลับมาโฟกัสตลาดครัวเรือนในครั้งนี้ Solar D ก็ไม่ได้กลับมามือเปล่า ความน่าสนใจคือการพ่วงตำแหน่งตัวแทนติดตั้ง Tesla Powerwall อย่างเป็นทางการรายแรกและรายเดียวของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2022 ที่ผ่านมา ด้วยความไว้วางใจจากบริษัทระดับโลกอย่าง Tesla แน่นอนว่า ด้วยจุดเด่นด้านสินค้าซึ่งได้รับการยอมรับมาแล้วจากทั่วโลก ถือเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาเสริมทัพความแข็งแกร่งให้กับบริษัท
นายสันติ เล่าว่าในช่วงแรกของการพูดคุยไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลากว่าปีครึ่งเลยทีเดียว โดย Tesla เป็นบริษัทที่ใหญ่มากก็ต้องให้โอกาสทุกคนที่เข้าไปคุย ณ ตอนนั้น มีบริษัทเข้าไปคุยเกือบ 10 ราย ซึ่งกว่าจะผ่านแต่ละกระบวนการว่าคุณมีความพร้อมให้กับลูกค้าไหม เทียบเท่าการติดตั้งที่อเมริกาหรือประเทศอื่นหรือเปล่า พอใจกับสิทธิประโยชน์ไหม Qualify เสร็จก็เหลือประมาณ 5-6 ราย ซึ่ง Solar D ก็คือหนึ่งในนั้น
ด้วยศักยภาพการเติบโตและวิสัยทัศน์ตรงกัน รวมทั้งการออกแบบ (Design) ที่ทันสมัยควบคู่ไปกับการมอบประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภค (Customer experience) เช่นเดียวกับที่ Tesla ให้ความสำคัญ นั่นทำให้ Solar D กลายเป็นตัวแทนติดตั้ง Tesla Powerwall อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเปิดตัวที่ประเทศไทยในราคาเริ่มต้น 699,000 บาท ซึ่งในระยะอันใกล้ใน 1-2 ปีนี้ คาดว่า Tesla Powerwall จะสามารถเจาะตลาดแมส (Mass) ได้
ในขณะเดียวกัน อีกหนึ่งความน่าติดตามของ Solar D คือการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าทีม R&D พัฒนานวัตกรรม และพัฒนาระบบออโตเมชั่น ผ่านผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น EV charger, นวัตกรรมหุ่นยนต์ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาแทนแรงงานคน ร่วมกับมหาวิทยาลัยจุฬาฯ เพื่อลดการใช้แรงงานคน ซึ่งเร็วกว่า 5 เท่า ทั้งนี้ ไม่เพียงตอบโจทย์เรื่องการใช้งานจริงเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และลดความเสียหายของหลังคา แอปพลิเคชัน ‘My Solar D’ สำหรับใช้ในการตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ซึ่งเร็ว ๆ นี้ นายสันติ เสริมว่า บริษัทมีแผนจะปล่อย หุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงโซลาร์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์คนติดโซลาร์โดยเฉพาะ
“ปกติจากที่เป็นระบบ Manual โดยการใช้คน เปลี่ยนเป็นการใช้หุ่นยนต์แทน ประเภทอุตสาหกรรม (Commercial) ไซส์ใหญ่ ค่อนข้างหนัก เป็น Industrial Grade สามารถทิ้งไว้บนหลังคาได้เลย จะไม่มีการเอาขึ้นเอาลง มันก็จะทยอยล้างไปเรื่อย ๆ นึกภาพว่า เราติด 2,000 แผง ล้างวันละ 10-20 แผง ครบเซ็ตนี้ ค่อยล้างต่อ เรา Monitor performance มันได้อยู่”
“ส่วนที่ใช้กับประเภทครัวเรือน (Resident) เราพัฒนาเป็นน้ำหนักเบา โดยใช้โมเดลคล้ายโรบอทดูดฝุ่นในบ้านทั่วไป เราปิ๊งไอเดียจากประโยคที่ว่า ความยากของการทำงานบ้าน คือการนัดคนเข้าบ้าน เพราะฉะนั้นหุ่นยนต์ตัวนี้จะตอบโจทย์การทำความสะอาดโดยที่คุณไม่ต้องอยู่บ้านและเราไม่ต้องเข้าบ้านด้วยซ้ำ นำรถให้บริการไปจอดหน้าบ้านลูกค้า ใช้โดรนยก หน้าที่เรามีแค่ Translocation ยกหุ่นยนต์ไว้บนหลังคา โดยจะใช้เวลาล้างประมาณ 30-40 นาที เสร็จแล้วก็บินโดรนกลับไปรับ เราทำความสะอาดให้ลูกค้าเสร็จโดยไม่ต้อง Interact กับเขาเลย หลังจากนั้นก็ส่งรีพอร์ตตามไป ถือเป็นอีกหนึ่งโปรดักส์ที่เรากำลังทำ ตอนนี้ผมว่าอยู่ในเวอร์ชั่น 4 หรือ 5 ใกล้จะปล่อยมาก ๆ แล้ว”
หัวใจสำคัญคือนวัตกรรมต้องยืนหนึ่ง!
เมื่อถามถึงความแตกต่างของ Solar D กับผู้เล่นอื่นในตลาด เขาให้ความเห็นว่า นวัตกรรม (Innovation) คือหัวใจของ Solar D และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ให้บริษัทเติบโตขึ้น ในช่วงแรกเริ่มต้นยอดขาย 100-200 ล้านบาท ก้าวมาสู่ 1,000 ล้านบาท ไม่ใช่เพราะจ้างผู้รับเหมามากขึ้นหรือการขยายทีม แต่ย้ายมาโฟกัสที่นวัตกรรมที่เป็นหัวใจหลักเพื่อทำให้ลูกค้าได้รับคุณภาพที่ดีอยู่เสมอ
เรามองว่าในอนาคต สิ่งที่เป็นธงของเราคือทำเป็นหลังคาโซลาร์ (Solar Roof) ทุกวันนี้ต้องติดเมทัลชีทหรือหลังคากระเบื้องก่อนแล้วค่อยเอาโซลาร์มาทำต่อ ซึ่งตามหลักจริง ๆ แล้วไม่ต้อง คุณสามารถทำเป็นหลังคาโซลาร์ไปเลย เพราะฉะนั้นถ้าทำได้ก็จะสามารถขยายตลาดได้ในวงกว้าง ต่อไปจะไม่ใช่แค่ตลาดโซลาร์แต่จะเป็นตลาดหลังคา ซึ่งตรงนี้เป็นป้ายสุดท้ายที่อยากไปให้ถึง
“ถามว่า ความท้าทายในแง่ของธุรกิจคืออะไรใช่ไหมครับ” นายสันติทวนคำถาม
“มันท้าทายเพราะทุกคนทำโซลาร์เหมือนกันและทำเยอะมาก แต่ข้อดีคือเรามีจุดแตกต่างที่ชัดเจน ซึ่งลูกค้าที่ซื้อไป เขาซื้อเพราะ Vison ที่ตรงกันอย่าง ม.กรุงเทพ ที่เขาตัดสินใจติดตั้งกับเรา มันไม่ใช่แค่เรื่องราคา เพราะถ้าพูดกันตามจริง ราคามันต่างกันไม่เกิน 10% กับเจ้าอื่น แต่ที่เขาเลือกติดกับเราเพื่อที่จะเอาเทคโนโลยีไปใช้ในหลักสูตรการสอนของในมหาวิทยาลัย ได้ Supply ได้นวัตกรรมที่สามารถไปสอนหรือส่งต่อได้”
“ผมเชื่อว่า การพัฒนานวัตกรรม เมื่อไหร่ที่เราหยุดนั่นคือช่วงที่คนจะตามเราทัน”
ทั้งนี้ Solar D ตั้งเป้าระยะยาวแทรกตัวเข้าไปในตลาดหลังคาในปี 2026 -2027 ในขณะที่แผนระยะสั้นเตรียมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ตอบโจทย์และ Succes ได้เร็วกว่า
บทบาทของโซลาร์ในช่วงที่ผ่านมาจากสายตาผู้บริหาร
การมาของโซลาร์ถือเป็นทางรอดของการแก้ปัญหาค่าไฟแพงไหม? นั่นคือสิ่งที่เราตั้งคำถามต่อ
นายสันติ ให้ความเห็นว่า โซลาร์คือตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุดที่มี ณ เวลานี้
เหตุผลที่ CMO ไฟแรงคนนี้หยิบยกขึ้นมาอธิบายให้ฟังว่า ปัจจุบันพลังงานทดแทนในประเทศไทยมุ่งไปที่โซลาร์เป็นหลัก ส่วนกังหันลม (Wind turbin) มีแค่ 2-3 จังหวัดเท่านั้นที่สามารถติดได้เพราะแรงลมน้อยเนื่องจากข้อจำกัดทางพื้นที่แต่ละภูมิภาค แต่ทางเลือกอื่นอย่าง Biomass Biogas ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะ Positive เท่าโซลาร์ เพราะยังต้องใช้การเผาผลาญเพื่อมา Generate ไฟ แต่ถามว่ ดีกว่าถ่านหินไหม หรือดีกว่าการซื้อไฟฟ้าโดยปกติไหม มันดีกว่าอยู่แล้ว แต่ถ้าเลเวลที่ท็อปที่สุดและเข้ากับประเทศไทยที่สุดก็เป็นโซลาร์ ซึ่งข้อด้อยเดียวที่โซลาร์มีคือต้องการพื้นที่หลังคา
เขาขยายความเพิ่มว่า โซลาร์เริ่มมีบทบาทมากอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มันโตในเลเวลที่เร็วมากและปัจจัยที่ทำให้เติบโตนั้นเพราะคนเริ่มตระหนักมากขึ้น ตามมาด้วย Financial gain และสิ่งที่คนมองหาเรื่อย ๆ คือ Social Benefit หรือผลประโยชน์ทางสังคม ว่าด้วยการทำกิจกรรมในแต่ละวันจะทำอย่างไรให้สามารถมีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในภาพรวม ไม่ต้องเป็นภาระ ไม่ต้องซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้ทุกคนมีความตั้งใจในเรื่องนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีตัวเลือกก็เลยเป็นเรื่องที่คนพูดถึงน้อยเท่านั้นเอง
“ทุกวันนี้ดีไซเนอร์หรือสถาปนิกที่เข้ามาคุยกับเราก็บอกตลอดว่า เจ้าของบ้านเขาต้องการแบบ Sustainable Design มากที่สุด อันนี้เป็นความต้องการที่ผมเพิ่งได้ยินมาเหมือนกัน ไม่เกิน 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เป็นไลฟ์สไตล์เบสิคอย่างต้องการกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ แต่เพิ่งมาได้ยินว่า หลายคนมีความต้องการออกแบบบ้านให้พื้นที่หลังคาใหญ่ขึ้น เผื่อการติดแผงโซลาร์ ตอนนี้เทรนด์มันเป็นแบบนั้นไปแล้ว”
อีก 3 ปีเตรียมเข้า IPO
ภาพรวมรายได้ Solar D ตั้งเป้าของปีนี้ไว้ที่ 1,100 ล้านบาท อยู่ที่ประมาณ 300-500 หลัง จากปีที่แล้วที่มียอดขาย 500 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มครัวเรือน 30% และอีก 70% คือกลุ่มอุตสาหกรรม
ส่วนในปี 2024 ขยับขึ้นเป็น 1,500 หลัง หรือคิดเป็นตัวเลขราว ๆ 1,500 ล้านบาท ตามแนวโน้มการเติบโตของตลาดพลังงานทดแทน และในปีสำคัญปี 2025 มีการตั้งเป้ารายได้รวมไว้ที่ 2,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่บริษัทเดินหน้าเข้าสู่ตลาดหุ้น IPO ช่วงไตรมาสที่ 3-4
ซึ่ง Solar D เตรียมความพร้อมสร้างแพลตฟอร์มเพื่อตอบโจทย์การติดตั้งในสเกลใหญ่ขึ้น พร้อมวิจัยและขยายโซลูชั่นอื่น ๆ ต่อยอดการออกแบบรูปแบบใหม่ ๆ ตอบสนองการใช้งานที่มีความหลากหลายมากขึ้นในโลกอนาคต