หลังจากสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลง โรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนได้กลับมาจัดงานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทยครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ซึ่งได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม และในปีนี้ โรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนได้กำหนดจัด “งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทย ประจำปี 2566” (2023 Taiwan-Thailand Smart Healthcare Conference) อีกครั้ง ในวันที่ 11 กันยายน 2566 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร โดยงานประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่เทคนิคการใช้ AI ในการแพทย์แม่นยำ เซลล์บำบัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม
ภายในงานได้เชิญบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันมาบรรยายและแบ่งปันประสบการณ์ และยังได้เชิญผู้ประกอบการด้านธุรกิจการแพทย์อัจฉริยะเพื่อการรักษาแบบแม่นยำและเซลล์บำบัดจากไต้หวันกว่า 20 บริษัทมาร่วมงาน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การใช้ AI ในการแพทย์ความแม่นยำ และเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม พร้อมกับสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ให้ชมภายในงาน
งานประชุมครั้งนี้ได้เชิญ นายแพทย์กู่เทียนสง ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนา AI ของโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนมาแนะนำการพัฒนาโมเดล AI ของโรงพยาบาล การนำ AI มาใช้ดูแลผู้ป่วยและคาดคะเนพยาธิสภาพของโรค และได้เชิญ นายแพทย์หวงกั๋วหยาง จากแผนกโรคทรวงอก มาแชร์ประสบการณ์จากเคสจริง การประยุกต์ใช้ AI คาดคะเนเวลาที่ดีที่สุดในการดึงท่อออกจากผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเนื้อหาการบรรยายที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการแพทย์แม่นยำได้กลายเป็นแนวโน้มหลักในโลกปัจจุบันแล้ว ประเทศไทยได้มุ่งมั่นผลักดันการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในชีวิตประจำวัน สร้างเมืองอัจฉริยะขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การแพทย์อัจฉริยะ การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และบิ๊กดาต้า ก็เป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ “ไทยแลนด์ 4.0” และโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งหัวข้อหลักของงานประชุมในครั้งนี้ตรงกับแนวทางพัฒนาหลักของไทย นั่นคือ การแพทย์แม่นยำและเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม ทางผู้จัดงานจึงหวังว่าการแบ่งปันประสบการณ์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการแพทย์อัจฉริยะ
การแสดงสินค้าของผู้ประกอบการอุปกรณ์การแพทย์จากไต้หวันในครั้งนี้ จะสามารถส่งเสริมนโยบายการแพทย์อัจฉริยะของไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยในวันที่ 11 กันยายน ปีนี้ โรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนได้จัด “งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทย ประจำปี 2566” (2023 Taiwan-Thailand Smart Healthcare Conference) ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร ภายใต้หัวข้อ “เทรนด์ปัจจุบันของเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการแพทย์แม่นยำและเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม” ภายในงานได้เชิญกองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์, โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์, สภาส่งเสริมการค้า ฯ ไต้หวัน (TAITRA) และสถาบันส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมการแพทย์ไต้หวัน (IBMI) มาร่วมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลกัน
นอกจากการบรรยายแล้ว ภายในงานยังได้เชิญผู้ประกอบการด้านธุรกิจการแพทย์อัจฉริยะเพื่อการรักษาแบบแม่นยำและเซลล์บำบัดจากไต้หวันกว่า 20 บริษัทสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น การใช้ AI ตรวจภาวะโรคกระดูกพรุน ตรวจมะเร็งปอด ตรวจพันธุกรรม และเซลล์บำบัด เป็นต้น ให้ประเทศไทยสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการวางแผนใช้ AI อีกทั้งช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ของไต้หวันให้เติบโตในตลาดไทย และบรรลุเป้าหมายความร่วมมือทางการค้าระหว่างไต้หวันและไทย
p