สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ริเริ่มโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพไทย ให้มีความพร้อมต่อการรับการลงทุน ต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 4 ภายใต้โครงการชื่อว่า “Growth Program” โดยปีนี้ได้ใช้ชื่อ “Growth 4 Program” และได้เชิญนักลงทุนจากหลากหลายหน่วยงานเข้าร่วมมากกว่า 30 ราย ในวัน Demo Day เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ Bitkub M Social ห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นประธานในงาน และได้กล่าวขอบคุณนักลงทุนกว่า 30 รายที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ พร้อมทั้งได้กล่าวถึงกลไกการให้การสนับสนุนเหล่าสตาร์ทอัพ ที่กำลังมีขึ้นเร็วๆนี้ โดยจะใช้ชื่อ TED Matching Fund ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง NIA และ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund
ต่อมา นายพิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลและ ผู้อำนวยการโครงการ Growth 4 ได้พาสตาร์ทอัพไทยที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะในโครงการ จำนวน 13 ทีม ขึ้นนำเสนอผลงานต่อสายตานักลงทุนบนเวที โดยทั้งหมดล้วนเป็นสตาร์ทอัพที่ได้ออกสู่ตลาดและทำรายได้แล้วตั้งแต่ 1 ล้าน ถึง 100 ล้านบาท
สตาร์ทอัพทั้ง 13 ทีม ที่ขึ้นนำเสนอผลงานประกอบด้วย :
Bigbang Theory: ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานใน Metaverse สร้างโลกเสมือนได้ด้วยตัวเอง
Dietz: ระบบการแพทย์ทางไกลครบวงจรสำหรับสถานพยาบาล
Minimonster: อาหารสัตว์เลี้ยงปรุงสุกสดใหม่จากวัตถุดิบเกรดคนรับประทาน ที่ Customized Package ให้เหมาะกับสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวได้
YVR: ผู้พัฒนาเทคโนโลยี VR ที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบการสร้างทักษะของบุคลากรในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
24 Carfix: แพลตฟอร์มบริการซ่อมรถฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศไทย
Gideon One: ครบและจบในที่เดียวสำหรับการทำคาร์บอนฟุตปริ๊นในองค์กร กับแพลตฟอร์ม CarbonCal
Shout: แพลตฟอร์มในการทำการตลาดและสร้างยอดขายผ่านอินฟลูเอนเซอร์ครบวงจร
Wirtual: แอปพลิเคชั่นที่เปลี่ยนผลการออกกำลังกายให้เป็นรางวัลได้
Tambaan: ระบบจ้างงานผู้รับเหมาเพื่อแก้ปัญหาการโกงในงานก่อสร้าง
Casheers: บริการจองบัตรและระบบใช้จ่ายภายในงานอีเวนต์
Pettinee: แพลตฟอร์มให้บริการคำปรึกษาสัตว์เลี้ยงออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง
Fooddee: แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่อาหารที่ปัจจุบันให้บริการอื่นๆ หลากหลาย อาทิ จองโรงแรมและเรียกรถ
CERO: กระเป๋าเครดิตคาร์บอนส่วนบุคคลที่ช่วยให้เป็นที่ยอมรับสำหรับกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมขนาดเล็ก
ทั้งนี้ ภายหลังการนำเสนอผลงานทั้งสตาร์ทอัพและนักลงทุนได้มีโอกาสถ่ายรูปร่วมกันและพูดคุยเพื่อขอคำแนะนำและติดต่อประสานงานเพื่อรับการลงทุนต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลในงานและข้อมูลจาก Growth 4 Program