ภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) มีประชากรกว่า 670 ล้านคน ถือเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของภูมิภาค ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจต่าง ๆ แวะเวียนเข้ามามากมายอยู่เสมอ โดยธุรกิจกลุ่มนี้เป็นพันธมิตรทางการค้าที่สำคัญของฮ่องกง และมีความสัมพันธ์อันดีมาเนิ่นนาน รวมไปถึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ของฮ่องกง นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นพันธมิตรที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนร่วมกันทั้งสามฝ่าย จากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง โดยเฉพาะภายใต้นโยบายเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative)
ประเทศไทยเป็นตลาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ตั้งอยู่บนตำแหน่งศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการพัฒนาธุรกิจ นักธุรกิจจำนวนมากจึงมองประเทศไทยเป็นประตูสู่ตลาดอาเซียน ที่สามารถสร้างโอกาสทางการค้าได้มากมายในภูมิภาคนี้
นโยบายส่งเสริมการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย
เนื่องจากนโยบายของประเทศไทยที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน หรือความหลากหลายทางวัฒนธรรม นอกจากนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนแล้ว ประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบในด้านของตำแหน่งที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่สำคัญของเอเชีย ข้อได้เปรียบเหล่านี้ ล้วนดึงดูดให้บริษัทระดับโลกหลายแห่งเริ่มเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนและเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่ามกลางความท้าทายจากโรคระบาด ประเทศไทยก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อสถานการณ์โรคระบาดฟื้นตัวขึ้น ประเทศไทยจึงเร่งเดินหน้าดำเนินนโยบายต่างต่อ ๆ เพื่อดึงดูดและกระตุ้นการลงทุนใหม่ ๆ ภายในประเทศ
ประเทศไทยกำลังพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมภายในประเทศด้วยนวัตกรรม นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแรงจูงใจในการลงทุนและสนับสนุนนักลงทุน
จุดเด่นของฮ่องกงสามารถจุดประกายโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน
ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศที่โดดเด่นในภูมิภาค ทั้งความรู้ ประสบการณ์ และสายสัมพันธ์มากมาย จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครเหล่านี้ ช่วยให้นักลงทุนต่างชาติและเจ้าของโครงการ สามารถระดมทุนและคว้าโอกาสการพัฒนาในตลาดเดิมและขยายสู่ตลาดใหม่ ยิ่งบริษัทในไทยมีการขยายธุรกิจออกไปนอกอาเซียนมากขึ้น ความต้องการทางการเงินก็จะเพิ่มขึ้น การดำเนินการตามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement: RCEP) ในเดือนมกราคมปีที่แล้ว ระบุว่า ฮ่องกงสามารถอำนวยความสะดวกให้บริษัทไทยเข้าถึงเครือข่ายที่กว้างขึ้นของนักลงทุนต่างชาติและจีนแผ่นดินใหญ่ที่สนใจลงทุนในภูมิภาคอาเซียน
นอกเหนือจากการให้บริการทางการเงินแล้ว ฮ่องกงยังส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีมาอย่างยาวนานกับประเทศไทย ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน ในปีที่แล้ว ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของฮ่องกง และเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่ากว่า 19,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 12% ของการค้าระหว่างฮ่องกงและอาเซียนในปีนั้น การบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีฮ่องกง-อาเซียน และส่วนที่เกี่ยวข้องกับไทยของข้อตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนในปี 2562 ช่วยเพิ่มการคุ้มครองทางกฎหมายและการเข้าถึงตลาด และนำไปสู่กระแสการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นระหว่างไทยและฮ่องกง ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังกระตุ้นกระตุ้นความร่วมมือระหว่างเศรษฐกิจในด้านการผลิตและการบริการ ปัจจุบันมีบริษัทจากฮ่องกงที่มาดำเนินธุรกิจภายในประเทศอย่างหลากหลายและครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การเงิน โลจิสติกส์ อสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี การดูแลสุขภาพ และสินค้าอุปโภคบริโภค
เปิดโอกาสสู่ความร่วมมือระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่-ไทย-ฮ่องกง
ภายใต้นโยบายที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง “หนึ่งประเทศสองระบบ” ฮ่องกงได้รับผลประโยชน์จากการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของจีนแผ่นดินใหญ่ และยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่กว้างขวางทั่วโลกไว้ได้ นโยบายนี้ทำให้เมืองมีการเติบโตในระยะยาวและมั่นคง ขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศที่สำคัญสำหรับโครงการริเริ่มต่าง ๆ เช่น โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (the Belt and Road Initiative: BRI) และเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area: GBA) ทำให้เห็นว่าจีนแผ่นดินใหญ่เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของไทย และซัพพลายเออร์นำเข้ารายใหญ่ที่สุด ทั้งสองประเทศได้เสริมสร้างความร่วมมือเชิงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และยังคงส่งเสริมการดำเนินโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ในเวลาเดียวกัน
ฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในการเป็นแพลตฟอร์มที่จะเชื่อมโยงจีนแผ่นดินใหญ่ ไทยและอาเซียน รวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการจับมือของไตรภาคีระหว่างธุรกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่ ไทย และฮ่องกง ในการระดมทุน การค้าและความพยายามในการทำให้เป็นสากล
HKTDC ช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในอาเซียน
องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) เดินหน้าสนับสนุนธุรกิจของฮ่องกงในการคว้าโอกาสภายในอาเซียน ผ่านกิจกรรมและแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างเต็มที่ โดยมีสำนักงานในประเทศไทยเป็นกำลังสนับสนุนสำคัญ ผ่านการจัดกิจกรรมทางการตลาด นอกจากนั้นทาง HKTDC ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลทางการตลาด ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับรัฐบาลท้องถิ่นและภาคธุรกิจ และเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสในพื้นที่ท้องถิ่น
จากความสำเร็จของพันธกิจทางธุรกิจ ภายในเดือนพฤศจิกายนปี 2565 HKTDC ได้เปิดตัวแคมเปญ Think Business, Think Hong Kong ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 13 และ 14 กรกฎาคม 2566 นี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือไตรภาคีระหว่างประเทศไทย จีนแผ่นดินใหญ่ และฮ่องกง ซึ่งใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของอุตสาหกรรมบริการของฮ่องกง ผสมผสานโอกาสด้านเงินทุน โอกาสทางวิชาชีพ และโครงการของเขตเศรษฐกิจทั้ง 3 แห่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
ผู้ประกอบการจากฮ่องกงและประเทศไทยจะมาร่วมกันเพื่อค้นหาโอกาสทางธุรกิจผ่านงานแสดงสินค้า งานสัมมนา และกิจกรรมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ โดยภายในงานแสดงสินค้าจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมคุณภาพสูงและบริการระดับมืออาชีพจากฮ่องกง ในขณะที่ช่วง Trade Talk จะแนะนำผู้ประกอบการไทยให้รู้จักกับข้อได้เปรียบของฮ่องกงในฐานะศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ และงานเลี้ยงต้อนรับ Hong Kong Night ที่จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างบริษัทฮ่องกงกับบริษัทคู่ค้าในไทยและอาเซียนสามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่นขึ้น นอกจากนี้ แคมเปญดังกล่าวได้ร่วมมือกับร้านอาหารสไตล์ฮ่องกงและร้านค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมฮ่องกงและการมีส่วนร่วมกับคนท้องถิ่นด้วยเรื่องราวของคนในท้องถิ่นเอง
นอกเหนือจากกิจกรรมส่งเสริมการค้าขายในสเกลขนาดใหญ่แล้ว HKTDC ยังคงช่วยเหลือบริษัทฮ่องกงขยายธุรกิจสู่ตลาดใหม่ ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ กว่า 30 งานที่ HKTDC จัดงานแสดงสินค้าและการประชุมระดับโลกในทุกๆ ปี รวมไปถึงเสนอบริการจับคู่ธุรกิจที่ครอบคลุม นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทฮ่องกงได้มีส่วนร่วมในการแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอาเซียน ขณะเดียวกัน ก็เปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยได้มีส่วนร่วมในงานแสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติของ HKTDC ที่จัดขึ้นที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างไทยและฮ่องกง ตลอดจนสนับสนุนให้ฮ่องกงเป็นเวทีทางธุรกิจ อาทิเช่น การประชุมโครงการเส้นทางสายไหม เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา HKTDC ได้เชิญบริษัทไทยเข้าร่วมการประชุมโครงการเส้นทางสายไหมและจัดการประชุมจับคู่โครงการที่เหมาะสมให้แก่บริษัทบริษัทที่เข้าร่วม
เนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศเพื่อติดต่อธุรกิจกำลังเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง HKTDC จึงคาดการณ์ว่างาน Think Business, Think Hong Kong นี้ จะสามารถสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการฮ่องกง ได้พบปะและมีโอกาสในการขยายธุรกิจในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนได้
ในอนาคต HKTDC จะเดินหน้าแสดงจุดเด่นของธุรกิจภาคส่วนต่าง ๆ ของฮ่องกงแก่ทั่วโลกผ่านหลากหลายช่องทาง เพื่อผลักดันธุรกิจจากฮ่องกงเข้าสู่ตลาดไทยและอาเซียน รวมไปถึงยืนหยัดบทบาทของฮ่องกงในฐานะศูนย์กลางทางการเงิน เศรษฐกิจ และการค้าในภูมิภาค ทั้งยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาการค้า นอกจากนี้ HKTDC จะยังคงเดินหน้าส่งเสริมการค้าขายในไทยและอาเซียนผ่านช่องทางของฮ่องกง และร่วมมือกับธุรกิจในฮ่องกง เพื่อขยายธุรกิจสู่ตลาดในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่และต่างประเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรา กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.hktdc.com/aboutus
ติดตามเราได้ที่ Twitter @hktdc และ LinkedIn
p