xs
xsm
sm
md
lg

ปิยบุตรโป๊ะแตก เพจการเมืองชี้พิจารณากรณีหุ้นสื่อพิธา ใช้เวลา 63 วัน ไม่ใช่ 32 วัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจการเมืองตรวจสอบ ที่ปิยบุตรอ้างว่ากรณีพิธาถือหุ้นไอทีวี กกต.พิจารณารวดเร็วเพียง 32 วันนั้นไม่จริง เพราะเรืองไกรยื่นก่อนเลือกตั้ง แล้ว กกต.ตีตกแต่ขอทำเอง ก่อนที่เรืองไกรจะยื่นซ้ำ เพราะฉะนั้นถ้านับตั้งแต่ยื่นครั้งแรกต้องนับ 63 วัน ไม่ใช่ 32 วัน

วันนี้ (12 ก.ค.) จากกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว โจมตีการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพ ส.ส. ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) ประกอบมาตรา 101(6) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ว่านายพิธาถูกนิติสงครามกระทำซ้ำและทำลายสถิติการพิจารณาคำร้องของ กกต.อย่างรวดเร็ว

"หากพิจารณานับจากวันที่ เรืองไกร ยื่นคำร้องต่อ กกต.ซ้ำอีกครั้งในวันที่ 20 มิถุนายน ก็เท่ากับว่า กกต.ใช้เวลาพิจารณา 32 วันเท่านั้น" นายปิยบุตรระบุ

ปรากฏว่าเฟซบุ๊กเพจ "ซึ่งต้องพิสูจน์" ซึ่งเป็นเพจการเมือง ระบุว่า จากการตรวจสอบ กรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ร้อง กกต.ในประเด็นนายพิธากับหุ้นไอทีวี ระบุว่า นายเรืองไกรร้องครั้งเเรก 10 พ.ค. 66 ส่วนกรณีวันที่ 20 มิ.ย. 66 เป็นการยื่นซ้ำ ดังนั้น ถ้านับตั้งแต่ยื่นครั้งแรก 10 พ.ค. 66 ก็เท่ากับว่า กกต.ใช้เวลาพิจารณา 63 วัน


รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ก่อนหน้านี้นายเรืองไกรให้สัมภาษณ์ทางคลื่นวิทยุ 101 ว่า การตรวจสอบนายพิธาไม่ใช่ทฤษฎีสมคบคิดหรือเป็นการจัดฉาก เพราะตรวจสอบตามที่เห็นข้อมูลและค้นหาหลักฐานจากส่วนราชการประมาณ 3-4 วัน และได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ก่อนวันเลือกตั้ง ซึ่งไม่รู้ว่าใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะยังไม่นับคะแนน กระทั่งวันที่ 14 พ.ค.เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. กกต.มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องกรณีนายพิธา ตามที่นายเรืองไกรยื่นคำร้อง แต่มีมติรับเรื่องไว้พิจารณาตามมาตรา 151 เหตุรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแต่ยังฝืน โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนต่อไป ภายหลังวันที่ 20 มิ.ย. นายเรืองไกร ได้ส่งคำร้องทางไปรษณีย์ EMS ถึง กกต.ขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
กำลังโหลดความคิดเห็น