xs
xsm
sm
md
lg

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลใหม่ ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ให้รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ในวันงดสูบบุหรี่โลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในวันงดสูบบุหรี่โลกประจำปี 2566 เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า (ECST) ร่อนจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลใหม่รักษาสัญญาในการนำ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ขึ้นมาควบคุมบนดินให้ถูกกฎหมาย หลังประเทศไทยแบนบุหรี่ไฟฟ้ามานานกว่า 8 ปี เชื่อรัฐบาลใหม่จะฟังเสียงประชาชนและให้ความชัดเจนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน เพิ่มโอกาสด้านภาษี และสิทธิที่จะมีทางเลือกของผู้สูบบุหรี่กว่า 9.9 ล้านคน พร้อมเน้นย้ำปัจจุบันนานาประเทศยอมรับว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน

กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ENDs Cigarette Smoke Thailand) Facebook Page “ECST บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งปี 66 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป โดยร้องขอให้พรรคร่วมรัฐบาลใหม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้ในช่วงหาเสียงก่อนการเลือกตั้งว่าจะ ‘ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย’

โดยทางกลุ่มตัวแทนได้ระบุว่า ประเด็นการแบนบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหามายาวนานกว่า 8 ปี และเสียงของผู้สูบบุหรี่และผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่เคยได้รับการตอบรับจากรัฐบาลก่อนหน้ามาตลอดระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่ถูกปิดกั้นสิทธิในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดอันตราย เกิดตลาดใต้ดินซึ่งไม่สามารถควบคุมการเข้าถึงของเด็กและเยาวชนได้ รวมถึงเปิดช่องทางทุจริตรีดไถประชาชนจากเจ้าหน้าที่

“8 ปีที่แล้ว หรือในปี 2557 รัฐบาล คสช. ได้ออกกฎหมายมาสองฉบับเพื่อแบนบุหรี่ไฟฟ้าในไทย ในเวลานั้นบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นของใหม่ และ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ฉบับเก่า) ยังไม่มีอำนาจในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เวลา 8 ปีที่ผ่านไป เทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ผลการศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพของบุหรี่ไฟฟ้ามีมากขึ้น ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ จากเกือบ 200 ประเทศในโลกมีเพียง 35 ประเทศที่แบนบุหรี่ไฟฟ้าเช่นเดียวกับไทย ประเทศที่มีความน่าเชื่อถือด้านการสาธารณสุข เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ แคนาดา สหภาพยุโรป ล้วนอนุญาตให้มีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า โดยมีมาตรการควบคุมแตกต่างกันไป ขอย้ำว่าเราไม่เคยและจะไม่มีทางสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าเสรี ทุกอย่างต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมายเท่านั้น โดยเฉพาะการป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน”

เนื้อความจดหมายเปิดผนึกยังระบุอีกว่า มีคนไทยกว่า 70,000 คนต้องเสียชีวิตจากควันพิษบุหรี่ทุกปี และประเทศไทยต้องสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 220,461 ล้านบาท รวมถึงรายได้ภาษีหลายหมื่นล้านบาท และทางกลุ่มเครือข่ายมองว่าการมีมาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าที่เหมาะสมจะทำให้เกิดความโปร่งใส ควบคุมดูแล และตรวจสอบได้เช่นเดียวกับสินค้าชนิดอื่น

“ได้เวลาเลิกแบนทิพย์ที่มาจากอคติของคนกลุ่มเดียว ถึงเวลาที่ประเทศไทยเลิกดัดจริต คิดใหม่ทำใหม่ สร้างสังคมไทยให้ดีขึ้น เราเริ่มรู้สึกได้ถึงสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง ถึงเวลาแล้วที่พรรคร่วมรัฐบาลที่เคยบอกกับพี่น้องประชาชนว่าเห็นด้วยกับ “การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย” ได้โปรดทำตามที่ได้สัญญาไว้”






กำลังโหลดความคิดเห็น