xs
xsm
sm
md
lg

‘ต่อพงศ์’ ยกทีมลงพื้นที่ ลุยยกระดับ USO NET อวดต้นแบบพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กสทช. ต่อพงศ์ พร้อมคณะฯ ลุยลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มอบรางวัลชนะเลิศโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) หวังพัฒนาสู่ต้นแบบการพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน หลังดึงศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โซน C และโซน C+ เข้าร่วมประกวดกว่า 2,187 ศูนย์ทั่วประเทศ เสนอแนวคิดการต่อยอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

นายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า การจัดโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) เป็นการนำเสนอผลงานของศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ภายใต้โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) และโครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล (Zone C) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมประกวดจำนวนทั้งสิ้น 2,187 ศูนย์ทั่วประเทศ 

การจัดการประกวดโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) เพื่อเป็นเวทีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมการใช้งานศูนย์ USO Net มายกระดับการให้บริการของศูนย์ฯ และสร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ครู นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญและได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นกับการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ USO Net และ USO Wrap

ด้านนายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง และเพื่อสังคม กล่าวว่า เราแบ่งพื้นที่ตามโซน อย่างโซน A และ B เป็นโซนที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและมีผู้ประกอบการดำเนินกิจการอยู่แล้วก็จะไม่นำโครงการเหล่านี้เข้าไป ขณะที่โซน C และโซน C+ ไม่มีศักยภาพหรือมีความเหลื่อมล้ำตามคอนเซ็ปต์ของ USO จึงเป็นที่มาของโครงการการให้บริการอินเทอร์เน็ตใน 5 ประเภท แบ่งเป็น ไวไฟหมู่บ้าน ไวไฟ รพสต. ไวไฟโรงเรียน ไวไฟศูนย์ USO NET ซึ่งจะมีให้ทั้งสิ่งปลูกสร้างและคอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ต และศูนย์ USO Wrap ที่ใช้การตกแต่งห้องเรียนใหม่ พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และผู้ดูแลศูนย์ให้ครบ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะดำเนินการด้วยแผนระยะเวลา 5 ปี

โครงการที่ส่งเข้ามาประกวด ส่วนใหญ่ที่ส่งเข้ามาจะเป็นเพียงแนวคิดของการสร้างสรรค์ชุมชนผ่านศูนย์ว่าอย่างไร มีแนวคิดในการซัปพอร์ตชุมชนอย่างไร เช่นโรงเรียนบ้านดอนยู ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ก็มีการส่งเสริมด้านการแข่งขันอีสปอร์ต ในช่วงการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียน และด้วยการจัดสรรการวัดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจนของแต่ละโครงการที่โรงเรียนบ้านดอนยูได้คิดขึ้น ก็ทำให้ศูนย์แห่งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ

นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมกับมูลนิธิร้อยพลังและ สพฐ.ที่มีการเซ็น MOU แล้ว ในการถ่ายทอดติวเตอร์ไปยังศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ในต่างจังหวัด ลดช่องว่างในการเข้าถึงติวเตอร์ที่นักเรียนในเมืองสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีการส่งผลการดำเนินงานมาได้สักระยะหนึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดี หลังจากนั้นก็จะมีการต่อยอดตรงนี้เข้าไปอีก และโครงการอื่นๆ ของ USO เรายังมีความร่วมมือกับโรงเรียนจ่าอากาศ ซึ่งตอนนี้ยังไม่แล้วเสร็จ โดยอาจจะส่งเสริมการเรียนการสอนของโรงเรียนจ่าอากาศให้ประชาชนส่วนต่างๆ ต่อ่ไป

ด้านนายจักรกฤษดิ์ ฤทธิ์เดช เจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์ USO Wrap โรงเรียนบ้านดอนยู ศูนย์ชนะเลิศโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) กล่าวว่า ด้วยวัตถุประสงค์ของศูนย์แห่งนี้ ที่ต้องการสนับสนุนชุมชนเพื่อให้ระบบการศึกษามีความก้าวหน้าที่ดียิ่งขึ้น และต่อยอดให้ชุมชนมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น จากการอบรมผ่านศูนย์ USO Wrap เพื่อสร้างอาชีพและรายได้นำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืนในชุมชนต่อไป ที่ผ่านมาศูนย์ USO Wrap แห่งนี้ได้ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนหมู่บ้านให้เป็นที่เรียนออนไลน์ในช่วงวันหยุด และที่เรียนพิเศษในช่วงวันหยุด และพัฒนาให้เป็นจุดรับสิ่งของบริจาคให้กับหมู่บ้านและโรงเรียน และยังเป็นจุดรับ-ส่งพัสดุ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่แชุมชน และมีการทำงานร่วมกับชุมชน อีกทั้งที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมกีฬาสี ทำให้ศูนย์ได้เพิ่มกีฬาอีสปอร์ตเข้าไปในการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียน

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช.ได้ดำเนินโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) จำนวน 3,920 หมู่บ้าน และโครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล (Zone C) จำนวน 15,732 หมู่บ้าน ให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมในระดับหมู่บ้านของประเทศไทย โดยบริการโทรคมนาคมภายใต้การดำเนินงานของสำนักงาน กสทช.มี 5 ประเภทบริการ ได้แก่ 1) Wi-Fi หมู่บ้าน 18,558 แห่ง 2) ศูนย์ USO Net 663 แห่ง 3) ห้อง USO Wrap 1,524 แห่ง 4) Wi-Fi โรงเรียน 4,126 แห่ง 5) Wi-Fi โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) จำนวน 180 แห่ง พร้อมสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการให้บริการตลอดระยะเวลา 5 ปี

โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) ให้กับห้อง USO Wrap ณ โรงเรียนบ้านดอนยู ตำบลนาดี อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ที่ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการส่งเสริมการใช้งาน














กำลังโหลดความคิดเห็น