โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมจัดการแข่งขันและประกวดออกแบบนวัตกรรมที่ท้าทายภายใต้ชื่อ “CUD Hackathon 2023” เป็นครั้งแรก โดยคัดเลือกทีมนักเรียนระดับมัธยมศึกษากว่า 150 ทีมจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ มีทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจำนวน 30 ทีม การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 28-วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการแข่งขัน พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พรพรหม ชัยฉัตรพรสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม อาจารย์วราเดช กัลยาณมิตร ประธานจัดการแข่งขัน คุณกนิษฐ์ สารสิน นายกสมาคมนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาฯ คุณกำพล โชติปทุมวรรณ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และคุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอล มีเดีย จำกัด
ตลอดระยะเวลา 2 วันของการแข่งขัน ทีมผู้เข้าแข่งขันได้ระดมความคิดเพื่อเรียนรู้ จากการสนุกคิดและมิตรภาพที่ดี ผ่านกิจกรรม Workshop การเสวนาและการบรรยายที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้พัฒนานวัตกรรม เช่น IoT, AI, Robotics, Software on Devices หรือ Application Software ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนางานจนเกิดเป็นนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Innovation for good health & well-being)
ทั้งนี้ ทีมชนะเลิศจะได้รับโล่และเหรียญรางวัลพร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัลรวมกันกว่ามูลค่า 50,000 บาท และรางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุนอีกมากมาย
ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า...
>> ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม Narcolepsycue (Inno19) จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพฯ ภายใต้ผลงานประเภท Application&Product “แก้ไขปัญหาการหลับในบนท้องถนน” โดยสมาชิกได้แก่ น.ส.ปริณ จุลนวล, น.ส.ชุติรดา ศานติวรพงษ์, นายวีรวิน ไวฑูรเกียรติ และนายยสินทร ปุญญวานิช
>>ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม RECiSE (Inno09) จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ผลงานประเภท Application&Product “แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่องส่องดูตาเพื่อการตรวจสอบโรคต้อกระจกตาในผู้สูงอายุด้วยปัญญาประดิษฐ์” โดยสมาชิกได้แก่ นายณัฐวัฒน์ ฝันดีกรเกียรติ, นายปัณณวัฒน์ ทองปรอน, นายคมเนตร นามพรม และนายคุณานนต์ อินทรพล
>> ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม Hedthong (Inno15) จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้ผลงานประเภท Application “แอปพลิเคชันเพื่อสังคมผู้สูงอายุ...shine..sky” โดยสมาชิกได้แก่ นายฐิติพันธ์ุ รักษ์ม่วงศรี, น.ส.พิณญาภา เเช่ฉั่ว, น.ส.ณัชชา สิงหะผลิน และ น.ส.พิชชาพร ตั๊นเจริญ
>> ทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยมี 3 ทีม ซึ่งได้รับรางวัลพิเศษชุดฝึกการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบสมองกลฝังตัวด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ mikrorover Robot Kit Standard Version จากบริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ (INEX) จำกัด ได้แก่
- รางวัลชมเชยทีมที่ 1 ได้แก่ทีม Stand up (Inno03) จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง ภายใต้ผลงาน “เครื่องช่วยลดการออกแรงบริเวณหัวเข่าที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อ”
- รางวัลชมเชยทีมที่ 2 ได้แก่ทีม EIPCA (Inno 08) จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ผลงาน “โปรแกรมเพื่อช่วยวิเคราะห์โรคหัวใจและหลอดเลือดผ่านกราฟของคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยปัญญาประดิษฐ์”
- รางวัลชมเชยทีมที่ 3 ได้แก่ทีม Wbrain (Inno 18) จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพฯ ภายใต้ผลงาน “การแก้ปัญหาโรคสมองเสื่อมและโรคสมาธิสั้นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี