xs
xsm
sm
md
lg

“หมอมนูญ” เผย “ องค์กรอนามัยโลก” เชื่อทุกเรื่องไม่ได้ หลังวิเคราะห์ข้อมูลโควิดผิดพลาด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



”หมอมนูญ” แพทย์จากโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ชี้ บางข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกเชื่อถือไม่ได้ทุกเรื่อง หลังพบหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาดเกี่ยวกับโควิดแพร่กระจายทางอากาศ

วันนี้ (26 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” หรือ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ออกมาโพสต์ข้อความชี้ องค์กรอนามัยโลกเชื่อทุกเรื่องไม่ได้ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ลาออก เหตุ ให้ข้อมูลผิดพลาด โควิดแพร่กระจายได้ทางใช้เวลานาน ทั้งนี้ “หมอมนูญ” ได้ระบุข้อความว่า

“เชื่อองค์การอนามัยโลกทุกเรื่องไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก ออกมายอมรับความผิดพลาดที่กว่าจะให้ข้อมูลเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศใช้เวลานานมาก ตอนนี้ได้ขอลาออกจากองค์การอนามัยโลกแล้ว

คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าองค์การระดับโลกให้ข้อมูลถูกต้องทุกเรื่อง ต่างจากแพทย์ในประเทศตะวันตกเขาให้ความเชื่อถือองค์การนี้ไม่มาก เพราะทราบดีว่าองค์การอนามัยโลกปกติจะตั้งมาตรฐานสาธารณสุขของประเทศที่ยากจนต่ำกว่าประเทศที่ร่ำรวย เนื่องจากงบประมาณด้านสาธารณสุขของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน

แต่ที่น่าแปลกที่องค์การอนามัยโลกตั้งมาตรฐานปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ที่ระดับต่ำมาก ขนาดประเทศที่ร่ำรวยอย่างสหรัฐอเมริกายังปฏิบัติตามไม่ได้ และองค์การอนามัยโลกไม่ได้ให้งบประมาณช่วยเหลือประเทศที่ยากจนในการแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น แต่ใช้วิธีทำให้คนตื่นตระหนกด้วยการให้ข้อมูลว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้คนในประเทศเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อย่างประเทศไทยเสียชีวิตปีละ 5 หมื่นคนจากมลพิษทางอากาศ เท่ากับการสูบบุหรี่ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้

อีกเรื่องที่น่าแปลก คือองค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญของการนอนหลับน้อยมาก ทั้งๆที่การนอนหลับให้เพียงพอ ช่วยความจำ การเรียนรู้ ทำให้เด็กฉลาดและตัวสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานและการขับขี่ดีขึ้น องค์การอนามัยโลกพูดถึงเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากการอดนอน นอนไม่เพียงพอ ขับขี่แล้วเกิดง่วงหลับในน้อยมาก

การรณรงค์นอนหลับให้เพียงพอ และเตือนภัยเรื่องง่วงหลับในขณะขับขี่นั้นคุ้มค่า เพราะจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเกิดจากง่วงหลับในมากถึงร้อยละ 20-30”
กำลังโหลดความคิดเห็น