xs
xsm
sm
md
lg

เผยมุมมอง 2 คนขับแกร็บ ที่มีต่อ "โอกาสของคนพิการ" ในฐานะผู้ให้และผู้รับ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บางครั้งอุปสรรคของคนพิการไม่ได้เกิดจากความทุพพลภาพหรือความบกพร่องทางร่างกาย แต่กลับมาจากการถูกมองข้ามหรือด้อยค่าจากผู้คนในสังคมที่ตัดสินความสามารถของพวกเขาจากสภาพภายนอก การเปิดใจและ
ให้ “โอกาส” พร้อมที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจพวกเขาถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมได้ “อย่างเท่าเทียม”  

เนื่องในโอกาสวันคนพิการสากลซึ่งตรงกับวันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ ซึ่งรวมถึง แกร็บ ประเทศไทย จึงได้จัดเทศกาล ‘BANGKOK For ALL #กรุงเทพฯเพื่อทุกคน’ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนพิการในสังคม เช่นเดียวกับเรื่องราวสองมุมของพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บกับ  “คุณฐา-ฐาปนา เย็นรักษา” ไรเดอร์หนุ่มแขนพิการที่ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา ไขว่คว้าหาโอกาสจนสามารถสร้างรายได้มาจุนเจือครอบครัวด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง และ “คุณต่าย - วิลาสินี โรจน์ธรรมรัตน์” ที่เลือกให้บริการแกร็บแอสซิสท์ (GrabAssist) บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชันที่รับ-ส่งผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อสร้างอิสระในการเดินทางให้กับพวกเขา


ทุกชีวิตล้วนต้องการ "โอกาส" เพื่อแสดงศักยภาพที่ซุกซ่อนอยู่ฐาปนา เย็นรักษา หรือ คุณฐา ชายหนุ่มวัย 30 ปี ที่แขนขวาพิการตั้งแต่กำเนิด หากไม่นับข้อจำกัดด้านร่างกาย คุณฐามีเป้าหมายเหมือนคนทั่วไปที่อยากมีครอบครัวที่สมบูรณ์ เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี สามารถส่งเสียลูกสาว
วัย 12 ขวบให้มีอนาคตที่สดใส หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านการตลาด คุณฐาได้เข้าทำงานเหมือนคนทั่วไป 
แม้ในช่วงแรกจะต้องใช้เวลาหางานที่ให้โอกาสคนพิการ แต่เขาได้พิสูจน์ว่าเขามีศักยภาพในการทำงานไม่ต่างจากคนปกติ แต่ชีวิตของเขาต้องเจอกับจุดพลิกผันเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด

“จริงๆ ผมสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่คนส่วนใหญ่จะตัดสินไปแล้วว่าเราทำอะไรไม่ได้จากสิ่งที่เขาเห็น ทำให้คนพิการไม่ได้มีแม้แต่โอกาสที่จะได้โชว์ความสามารถของพวกเขา โอกาสในการหางานของคนพิการน้อยกว่าคนปกติ ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนมาตรฐานของบริษัทที่เปิดรับคนพิการเข้าทำงานจะอยู่ที่คนพิการ 1 คนต่อคนปกติ 100 คน ตอนช่วงโควิดระบาดรอบแรก บริษัทที่ผมเคยทำอยู่ลดเวลาทำงานจนเราอยู่ไม่ได้ ผมเลยตัดสินใจออกจากงาน ซึ่งการจะสมัครงานที่ใหม่ก็ยากมากสำหรับผม เพราะหลายบริษัทจะเลือกพิจารณาคนที่ครบ 32 ก่อน ผมเลยลองมาสมัครขับแกร็บเพื่อส่งอาหาร เพราะแกร็บเปิดโอกาสให้คนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งผมมีใบขับขี่ และมีรถมอเตอร์ไซค์ที่ดัดแปลงระบบให้ใช้มือซ้ายขับได้อยู่แล้ว ทุกอย่างเลยไม่มีปัญหา จึงทำให้การขับแกร็บกลายเป็นรายได้หลักของผมในช่วงนั้น”


“พอมาขับแกร็บชีวิตก็ค่อยๆ ดีขึ้น ผมมีรายได้มากพอสำหรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ตอนนั้นผมขับแกร็บส่งอาหารและพัสดุอยู่ประมาณ 5 เดือนก็ได้งานประจำใหม่ แต่ผมก็ยังขับเป็นพาร์ทไทม์ต่อ เพราะอยากเก็บเงินเป็นทุนการศึกษาให้ลูกด้วย เชื่อไหมว่าพอผมมาขับแกร็บ มีลูกค้าและเพื่อนๆ ไรเดอร์คนอื่นๆ มาคุยกับผมเยอะมากว่าผมมาขับได้ยังไง แกร็บเขารับคนแบบผมด้วยเหรอ ผมเลยใช้โอกาสนี้เล่าเรื่องราวของผมให้พวกเขาฟัง และส่งกำลังใจให้คนที่กำลังท้อแท้หรือเจอกับปัญหาอยู่ด้วย คนที่ได้ฟังเรื่องราวของผมเขาจะได้คิดทบทวนว่าขนาดผมที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ยังมีแรงสู้ต่อได้เลย แล้วทำไมเขาถึงจะไม่สู้”

“เพราะผมเชื่อเสมอว่า ต่อให้เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตให้มีคุณค่าได้ และแกร็บเองก็มองเห็นคุณค่าในตัวของคนพิการโดยไม่ได้มองที่ความแตกต่าง เพราะสิ่งที่พวกเราต้องการมากที่สุด คือ ‘โอกาส’ ในการได้พิสูจน์ตัวเองว่า เราก็มีศักยภาพที่สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ แค่เพียงเปิดโอกาสให้เราได้ลองทำดู” คุณฐา พูดทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้มแห่งความภูมิใจ


คุณค่าของชีวิต คือการได้ส่งมอบ "โอกาส" ให้กับผู้ที่ต้องการ วิลาสินี โรจน์ธรรมรัตน์ หรือ คุณต่าย พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บวัย 52 ปีที่เลือกเกษียณอายุงานก่อนกำหนด และเข้าสู่เส้นทางอาชีพคนขับรถรับ-ส่ง ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในกลุ่มพาร์ทเนอร์คนขับที่เลือกเข้ารับการอบรมเพื่อให้บริการ GrabAssist ซึ่งเป็นบริการพิเศษที่แกร็บริเริ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในกลุ่มที่เป็นผู้พิการและผู้สูงอายุ

“ตอนแรกที่เริ่มมาขับแกร็บ ตรงกับช่วงที่มีการเปิดอบรมการให้บริการ GrabAssist โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก สสส.
มาสอนเรื่องการให้บริการ ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการพอดี เรามองว่าเป็นโครงการที่ดีมาก และยังมีคนที่มีความรู้เรื่องนี้จริงๆ น้อย เลยตอบรับเข้าอบรม พอได้เข้ามาให้บริการ GrabAssist เลยรู้ว่ามีคนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษในการเดินทางอยู่เยอะมาก แต่คนขับส่วนใหญ่มองว่ามันเสียเวลา เลยมีคนขับให้บริการไม่มากนัก เคยมีผู้โดยสารเรียกรถแล้วกว่าเราจะไปถึงต้องใช้เวลาครึ่งชั่วโมง เราถามผู้โดยสารว่าจะรอไหม เขาบอกว่ารอ เราก็ยอมขับไปรับเขานะ เพราะเรามองว่าความลำบากเพียงเล็กน้อยของเราคือการให้ความช่วยเหลือและมอบโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับคนอื่น”






กำลังโหลดความคิดเห็น