ชะลอม เป็นเครื่องจักสานอย่างหนึ่งของไทยที่ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่สิ่งของในการเดินทางมาแต่โบราณ พงศาวดารเหนือกล่าวถึงพระร่วงส่งส่วยน้ำให้ขอมไว้ว่า ทรงสานชะลอมใส่น้ำแทนตุ่มซึ่งเป็นของหนัก แต่ชะลอมเป็นภาชนะโปร่งรอบด้าน ไม่ใช่ของที่จะใส่น้ำได้ เรื่องนี้จึงเป็นตำนานแสดงถึงวาจาสิทธิ์ของพระร่วงที่สั่งไม่ให้น้ำไหลออกมาได้ ความจริงอาจเป็นภาชนะจักรสานที่ยาชันกันน้ำก็ได้ เรื่องนี้จึงทำให้เรารู้ว่ามีการใช้ “ชะลอม” มาแต่โบราณกาล
จากนั้นในยามที่ยังไม่มีถุงพลาสติกเกลื่อนอย่างในวันนี้ คนไทยก็ตัดไม้ไผ่ที่มีอยู่ทั่วไปมาสานเป็นชะลอมอย่างง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน จะเล็กใหญ่แค่ไหนก็ตามที่จะใช้ หากใส่ของเล็กที่จะหลุดร่วงออกมาจากช่องชะลอมได้ก็เอาใบตองกรุไว้ และยังกันการบอบช้ำได้ด้วย ชะลอมจึงเป็นของยอดนิยมเหมือนการใช้ถุงพลาสติในยุคนี้ ใช้ใส่ของในการเดินทาง หรือใส่ของฝากของขวัญให้กัน ในภาพยนตร์เรื่อง “บ้านทรายทอง” ที่โด่งดังนั้น พจมาน สว่างวงศ์ ก็หิ้วชะลอมใส่ของเข้าบ้านทรายทอง
ภาพที่สะดุดตาอีกภาพหนึ่งในปี ๒๕๐๐ ก็คือภาพข่าวที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักประพันธ์ชื่อดังเจ้าของนามปากกา “ศรีบูรพา” ได้รับการปล่อยตัวพ้นคดี “กบฏสันติภาพ” เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ก็หิ้วชะลอมใส่ของใช้ออกจาก “บ้านทรายทองของกรมราชทัณฑ์” เหมือนกัน
ชะลอมถูกลืมๆกันไปแล้วในยุคถุงพลาสติก แต่วันนี้ชะลอมโผล่หน้าออกมาให้ปลื้มใจในวาระสำคัญของชาติ ถูกเลือกให้ชนะการประกวดเป็นสัญลักษณ์ของการประชุมเอเปค ๒๐๐๒ จากความคิดและออกแบบของ ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สื่อถึงประเพณีและวิถีชีวิตไทย สะท้อนความคิดถึงการสานพลังกันเป็นชะลอม ๒๑ ช่องของเขตเศรษฐกิจเอเปค สอดประสานทั้งความเข้มแข็งและยืดหยุ่น ร่วมสร้างภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เข้มแข็ง โอบอุ้มให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อีกทั้งชะลอมยังสะท้อนถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางค้าขาย
แต่ก่อนเมื่อพูดถึงประเทศไทย คนต่างชาติจะนึกถึง ต้มยำกุ้ง ผัดไทย รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ แต่วันนี้จะมี “ชะลอม” อีกอย่างที่เป็นภูมิปัญญาไทยอย่างเรียบง่าย มีความหมายลึกซึ้งสื่อถึงการค้าที่เปิดกว้าง สานสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับรูปแบบเศรษฐกิจแบบ BCG ที่ไทยเป็นผู้เสนอให้เป็นวาระสำคัญในการประชุมเอเปคครั้งนี้ ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าที่มาจากทรัพยากรและวัตถุดิบที่ใช้ไม่มีวันหมด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยการวางแผนตั้งแต่การออกแบบระบบโดยให้ความสำคัญกับการลดขยะและมลพิษ พยายามใช้วัตถุดิบซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มีความรับผิดชอบต่อแนวคิดเศรษฐกิจยั่งยืน สร้างผลกำไรควบคู่ไปกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการขานรับและสำเร็จอย่างงดงามในการประชุมเอเปค ๒๐๐๒ และบัดนี้ไทยได้ส่งต่อชะลอมใบนี้ให้แก่สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีหน้า
ที่สำคัญ ชะลอมใบนี้จะเป็นสัญลักษณ์ Soft Power ของประเทศไทย ที่ดึงดูดให้คนทั่วโลกหันมาสนใจเป็นพิเศษกับประเทศนี้
จากนั้นในยามที่ยังไม่มีถุงพลาสติกเกลื่อนอย่างในวันนี้ คนไทยก็ตัดไม้ไผ่ที่มีอยู่ทั่วไปมาสานเป็นชะลอมอย่างง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน จะเล็กใหญ่แค่ไหนก็ตามที่จะใช้ หากใส่ของเล็กที่จะหลุดร่วงออกมาจากช่องชะลอมได้ก็เอาใบตองกรุไว้ และยังกันการบอบช้ำได้ด้วย ชะลอมจึงเป็นของยอดนิยมเหมือนการใช้ถุงพลาสติในยุคนี้ ใช้ใส่ของในการเดินทาง หรือใส่ของฝากของขวัญให้กัน ในภาพยนตร์เรื่อง “บ้านทรายทอง” ที่โด่งดังนั้น พจมาน สว่างวงศ์ ก็หิ้วชะลอมใส่ของเข้าบ้านทรายทอง
ภาพที่สะดุดตาอีกภาพหนึ่งในปี ๒๕๐๐ ก็คือภาพข่าวที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักประพันธ์ชื่อดังเจ้าของนามปากกา “ศรีบูรพา” ได้รับการปล่อยตัวพ้นคดี “กบฏสันติภาพ” เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ก็หิ้วชะลอมใส่ของใช้ออกจาก “บ้านทรายทองของกรมราชทัณฑ์” เหมือนกัน
ชะลอมถูกลืมๆกันไปแล้วในยุคถุงพลาสติก แต่วันนี้ชะลอมโผล่หน้าออกมาให้ปลื้มใจในวาระสำคัญของชาติ ถูกเลือกให้ชนะการประกวดเป็นสัญลักษณ์ของการประชุมเอเปค ๒๐๐๒ จากความคิดและออกแบบของ ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สื่อถึงประเพณีและวิถีชีวิตไทย สะท้อนความคิดถึงการสานพลังกันเป็นชะลอม ๒๑ ช่องของเขตเศรษฐกิจเอเปค สอดประสานทั้งความเข้มแข็งและยืดหยุ่น ร่วมสร้างภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เข้มแข็ง โอบอุ้มให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อีกทั้งชะลอมยังสะท้อนถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางค้าขาย
แต่ก่อนเมื่อพูดถึงประเทศไทย คนต่างชาติจะนึกถึง ต้มยำกุ้ง ผัดไทย รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ แต่วันนี้จะมี “ชะลอม” อีกอย่างที่เป็นภูมิปัญญาไทยอย่างเรียบง่าย มีความหมายลึกซึ้งสื่อถึงการค้าที่เปิดกว้าง สานสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับรูปแบบเศรษฐกิจแบบ BCG ที่ไทยเป็นผู้เสนอให้เป็นวาระสำคัญในการประชุมเอเปคครั้งนี้ ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าที่มาจากทรัพยากรและวัตถุดิบที่ใช้ไม่มีวันหมด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยการวางแผนตั้งแต่การออกแบบระบบโดยให้ความสำคัญกับการลดขยะและมลพิษ พยายามใช้วัตถุดิบซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มีความรับผิดชอบต่อแนวคิดเศรษฐกิจยั่งยืน สร้างผลกำไรควบคู่ไปกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการขานรับและสำเร็จอย่างงดงามในการประชุมเอเปค ๒๐๐๒ และบัดนี้ไทยได้ส่งต่อชะลอมใบนี้ให้แก่สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีหน้า
ที่สำคัญ ชะลอมใบนี้จะเป็นสัญลักษณ์ Soft Power ของประเทศไทย ที่ดึงดูดให้คนทั่วโลกหันมาสนใจเป็นพิเศษกับประเทศนี้