xs
xsm
sm
md
lg

อักษร สนับสนุนครูไทย เน้นการสอนแบบ Active Learning ต้องมีหลากหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่สมรรถนะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ระยะนี้แวดวงการศึกษาพูดถึงการเรียนแบบเชิงรุก หรือ Active Learning อยู่บ่อยครั้ง สืบเนื่องจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีที่เน้นย้ำเรื่องการพัฒนาครู และนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะ เพื่อให้เด็กได้พร้อมกับโลกในศตวรรษที่ 21 

ส่งผลให้นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเร่งเดินหน้าปฏิรูปการศึกษาปูพรมอบรมครูทั่วประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ จัดประชุมและชี้แจงนโยบายลงไปถึงศึกษานิเทศก์ทั้ง 245 เขต ส่งเสริมเรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนผนึกกำลังร่วมกัน อันหวังว่าจะนำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จนนำไปสู่การเกิดสมรรถนะ และรักที่จะเรียนรู้ไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

Active Learning คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ
​การจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning คือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ และลงมือทำ หัวใจสำคัญของ Active Learning จำเป็นต้องมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านการคิดขั้นสูง (Thinking Based Learning) เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by doing) เรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน (Cooperative Learning) และเรียนรู้จากการสำรวจค้นหา (Inquiry Based Learning) รูปแบบการเรียนรู้แบบนี้จะสามารถทำให้ผู้เรียนรักษาผลการเรียนรู้ได้อยู่คงทน และเก็บเป็นระบบความจำในระยะยาว การเรียนรู้จะเป็นไปอย่างมีความหมายโดยเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างครูกับผู้เรียน ส่งผลให้เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี อันจะนำไปสู่การเกิดสมรรถนะที่สำคัญตามเป้าหมายของแต่ละวิชา

ใช้การสอน Active Learning แบบไหนให้สอดคล้องเป้าหมาย และเกิดสมรรถนะ
​ทฤษฎีของการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Active Learning ถูกคิดค้นและมีมานานกว่าร้อยปี และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย หากเราเปรียบเทียบการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นยานพาหนะก็คงต้องบอกว่ามีได้หลายแบบ ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถบรรทุก รถตู้ รถกระบะ รถโดยสารสาธารณะ และอื่นๆ อีกมาก จะเลือกใช้ยานพาหนะแบบใดนั้นก็คงต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน การเรียนรู้แบบ Active Learning เองก็เช่นกัน หากครูผู้สอนต้องการเน้นให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา รับมือกับปัญหาได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะที่สุด แต่หากครูต้องการให้ผู้เรียนคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เน้นการมีส่วนร่วมและสร้างผลงาน การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PrBL) ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี หรือหากครูต้องการให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์ สืบค้น จนสามารถหาข้อสรุป และเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ในรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ก็ดูจะเป็นรูปแบบที่ตรงกับวัตถุประสงค์มากที่สุด นอกจากนี้ รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ยังมีอีกมาก เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon Based Learning : PheBL) การใช้กรณีศึกษา (Case Study Method) การใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning : GBL) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามธรรมชาติวิชาคืออะไร เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบไหน ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนมากที่สุด

Active Learning สอนอย่างไร? ในห้องเรียนจริง
​รูปแบบการเรียนรู้ที่กำลังจะเปลี่ยนไปโดยเน้นที่ “กระบวนการเรียนรู้” มากกว่า “เนื้อหาวิชา” และปรับบทบาทของครูให้มาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ส่งผลให้บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ ประกาศขานรับนโยบายจากภาครัฐเป็นการเร่งด่วน สนับสนุนครูด้วยการจัดอบรมเรื่องการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตลอดทั้งปีแบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งในรูปแบบ onsite และ online เพื่อสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมศักยภาพครู ซึ่งในขณะนี้มีครูเข้าร่วมแล้วมากกว่า 10,000 ท่าน รองรับทุกกลุ่มสาระฯ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษา และจะดำเนินการอบรมอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ นอกจากนั้น อักษร เอ็ดดูเคชั่น ยังได้จัดทำสื่อฯ ตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะ เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการสอนในห้องเรียนได้จริง ทั้งนี้ สื่อฯ ดังกล่าวถูกออกแบบมาอย่างครบกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผนเพื่อให้เห็นแนวทางการสอน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ที่หลากหลาย เหมาะสมกับบริบทของเป้าหมายตามธรรมชาติของวิชา และเรื่องที่เรียน พร้อมระบุขั้นตอนวิธีการนำไปใช้อย่างละเอียด มาพร้อมตัวอย่างกิจกรรมสมรรถนะย่อยที่ช่วยครูเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมประเมินสมรรถนะหลัก และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ระบุเฉพาะเป็นรายกิจกรรม ตอบโจทย์ทั้งตัวชี้วัด และสมรรถนะผู้เรียน ทั้งหมดนี้พร้อมให้ครูสามารถดาวน์โหลดไปใช้ฟรีได้ผ่านทางเว็บไซต์อักษร เอ็ดดูเคชั่น อีกทั้งยังได้พัฒนาสื่อฯ ในรูปแบบดิจิทัลที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กในโลกยุคใหม่ ครูใช้งานง่าย นักเรียนเรียนสนุก เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับดิจิทัลแพลตฟอร์ม Aksorn On-Learn ที่สรุปเนื้อหาสำคัญในแต่ละบทเรียนเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ และเปลี่ยนรูปแบบของหนังสือเรียนให้มาเป็นรูปแบบของ e-Book พร้อมที่สุดในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะมีทั้งสื่อฯ ดิจิทัลระดับพรีเมียมกว่า 10,000 ชิ้นในแพลตฟอร์มเดียว ทั้งภาพแอนิเมชัน 3D สร้างความสนุกสนาน และตื่นตาตื่นใจ พร้อมทดลองฟัง และออกเสียงภาษาอังกฤษแบบสำเนียงจากเจ้าของภาษาผ่านสื่อ Audio ยังมีแบบฝึกหัดกว่า 6,000 ชุดที่สอดแทรกตลอดบทเรียน พร้อมให้ฝึกคิด วิเคราะห์ และทำจนเกิดความชำนาญ ทั้งหมดนี้สามารถสอบถามและชมรายละเอียดได้ที่ www.aksorn.com หรือ โทร. 0-2622-2999

​Active Learning อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องผลักดันให้เกิดขึ้น การสร้างความรู้ความเข้าใจโดยเฉพาะในบุคลากรทางด้านการศึกษา จึงถือเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนจากทุกหน่วยงาน เพราะเป้าหมายสำคัญของเราถือเป็นเป้าหมายเดียวกัน คือ เราต้องการให้เด็กของเราในวันนี้เติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ที่คิดเป็น แก้ปัญหาได้ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศชาติของเราให้ก้าวหน้า และกลายเป็นพลเมืองของชาติที่สมบูรณ์ต่อไป












กำลังโหลดความคิดเห็น