xs
xsm
sm
md
lg

เผยอีกมุม “รถไฟมาเลเซีย” ถาม หรือเรากำลังถูกนักการเมืองปั่นหัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจข่าวสารเกี่ยวกับการขนส่งเปิดเผยข้อมูลอีกด้านของรถไฟประเทศมาเลเซีย ชี้ก่อนโควิดระบบรางแย่กว่าของประเทศไทย เผยเพราะเราขาดการพัฒนาไปนาน และเอางบไปพัฒนาถนน ฝากถามนักการเมืองเอารถไฟชั้น 3 ไทย ไปเปรียบกับชั้น 2 ของมาเลเซีย ผิดรุ่นหรือไม่ สงสัยเรากำลังโดนนักการเมืองปั่นหัวอยู่หรือไม่

จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้มีการโพสต์คลิปวิดีโอลงใน TikTok "timpita" คล้ายเป็นการเปรียบเทียบรถไฟของประเทศไทยชั้น 3 กับรถไฟติดแอร์ ชั้น 1 ของประเทศมาเลเซีย จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ คล้ายด้อยค่า ชังชาติ ประเทศของตนเองหรือไม่

ต่อมาเพจของสำนักสื่อออนไลน์แห่งหนึ่งออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับรถไฟของประเทศมาเลเซีย โดยได้เปิดเผยว่ารถไฟของประเทศมาเลเซียทุกชั้นเป็นรถแอร์ 100% ไร้รถร้อนมาเกือบ 20 ปี แอร์ไม่ใช่ Option ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่เป็นความสบายขั้นพื้นฐานของขนส่งมวลชนที่ทุกคนเข้าถึง

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 ก.ย. เพจ “Logistics & Development Thailand Forum ข่าวสารการขนส่งและการพัฒนา” ได้ออกมาโพสต์ข้อความ เผยมุมมองอีกมุมเกี่ยวกับรถไฟของประเทศมาเลเซีย ผ่านมุมมองของผู้โพสต์เอง โดยได้ระบุข้อความว่า

“บังเอิญได้เดินทางไปมาเลเซียก่อนการแพร่ระบาดของโควิด เลยได้ขึ้นรถไฟชั้น ๓ ของฝั่งซาร์บาร์ ที่รถไฟเขาแย่กว่าไทยมากๆ

เรียกได้ว่า อาจจะเป็นระบบขนส่งระบบรางที่แย่ที่สุดในภูมิภาคเลยก็ได้

๑ รางยังไม่ได้ปรับปรุง เด้งดึ๋งดั๋งมาก ตัวรถโคลงพอสมควร

๒ รถไฟ ก็เห็นในสภาพ รถปรับอากาศมีเป็นบางขบวนและเป็นส่วนน้อยของเส้นทางสายนี้

๓ ไร้การพัฒนา มากถึงมากที่สุด มีรถดีเซลรางแค่ชุดเดียวที่เป็นรถปรับอากาศ ส่วนขบวนปกติ ก็สภาพอย่างที่เห็น

แล้วกลับไปที่นักการเมือง ที่เขาเอารถไฟชั้น ๓ ของไทย ไปเทียบกับรถไฟชั้น ๒ ของมาเลเซีย เรียกว่าผิดฝาผิดตัวไหม? และรถไฟไทยก็ไม่ได้มีสภาพนั้นมาไม่นาน เราขาดการพัฒนามานาน แต่เราเอางบไปพัฒนาถนน ทางหลวงของมาเลเซีย นี่ต้องจ่ายเงินกันนะครับ และโครงข่ายยังไม่พัฒนาเท่าไทย และรถไฟมาเลเซียเพิ่งเร่งพัฒนาตัวเองมาไม่กี่สิบปีมานี้เอง ก่อนหน้านั้น สมัยก่อนเป็นทางคู่ ติดกระแสไฟฟ้า นี่คือสภาพเละเทะพอๆ กับรถไฟไทยนั่นแหละเผลอๆ แย่กว่าอีก รถเสียเวลากันมากกว่าของไทย แต่หลังจากสร้างทางคู่ และติดกระแสไฟฟ้า มาเลเซียก็ทำได้ดีขึ้น

ต้องถามว่าตอนนี้เราก็กำลังพัฒนาตรงนี้อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ก็รอหน่อย และรถไฟมาเลย์ที่ พิธา ขึ้นนั้น คือรถไฟชั้นไหน? ชั้น เดียวกับที่เอามาเปรียบเทียบหรือเปล่า

หรือคนที่บอกว่ารถไฟปรับอากาศคือพื้นฐานของการให้บริการของมาเลเซีย ไม่ใช่ทางเลือก คงต้องพิจารณากันว่าซาราวัก ซาร์บาร์ นี่คือ? ไม่ใช่มาเลเซียหรือเปล่า เป็นคนละประเทศหรือ? แบบนี้เรียกว่าความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาครับ ฝั่งที่ติดชายฝั่งทะเลตะวันตก พัฒนาก้าวล้ำกว่าชาวบ้าน แต่ส่วนที่เหลือ อย่างฝั่งซาร์บาร์ หรือซาลาวัก โครงสร้างพื้นฐานแย่กว่าอีกฝั่ง หรือแย่กว่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอีก

ส่วนในรูปคือ แอดมิน และคณะ เดินทางไปเที่ยวมาเลย์ฝั่งตะวันตก ๑ สัปดาห์ ก่อนบินข้ามไปซาร์บาร์ เที่ยวบรูไน มาเลเซียฝั่งตะวันออก ที่ไม่ติดแผ่นดินใหญ่ อีก ๑ สัปดาห์ (แล้วจริงๆ ไปอยู่ฟิลิปปินส์อีก ๑ สัปดาห์ด้วย) ก็ต้องเจอกับรถไฟสภาพแบบนี้ ตลอดทั้งไปและกลับ เพราะบางวันก็ไม่มีรถแอร์วิ่งครับ (รถแอร์เขาวิ่งวันเว้นวันต่อเส้นทางเพราะรถมันมีอยู่ชุดเดียว) และรถไฟติดเครื่องปรับอากาศของเขา ไม่ได้วิ่งทั้งสาย วิ่งแค่เฉพาะชานเมือง โกตากินาบารู สั่นกว่าสายสีแดงบ้านเราอีก และไม่ได้มีทุกวัน (อย่างที่บอกไปรถมีอยู่ชุดเดียว) ฉะนั้นถ้าต้องการเดินทางไปส่วนอื่นๆ ก็ต้องนั่งรถชั้นสามแบบในภาพนี้ไป (มีโทรมกว่านี้นะ แต่อยู่ที่คอมพ์อีกเครื่อง และอยู่คนละจังหวัด)

ก็อย่างที่บอกคือนักการเมืองปั่นกันเองหรือเปล่า และเรามีอคติกันเองหรือเปล่าที่เอาส่วนที่เจริญที่สุดของเขามาเทียบกับส่วนที่แทบจะไม่ได้รับการเหลียวแลที่สุดของเรา เช่นมาเลย์เซีย ฝั่งตะวันตกนั้นติดช่องแคบมะละกา เส้นทางเดินเรือของโลก เป็นเสมือนหน้าต่างประตูบ้านเขา ต้องดูแลเป็นธรรมดา แต่ฝั่งอ่าวไทย หรือส่วนที่เหลือของเขาล่ะ โครงสร้างพื้นฐานเขาดีเท่าเราไหม? หรือดีกว่าภาคใต้ของเราไหม

พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของเขา ควรต้องไปเทียบกับบริเวณที่ใกล้เคียงกันคือบริเวณเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกไหม?

ฝากไว้ให้คิด และพิจารณากันให้ถี่ถ้วนสักนิด”
กำลังโหลดความคิดเห็น