xs
xsm
sm
md
lg

“พี่เอ้” แนะ 4 ข้อแก้ปัญหาน้ำท่วม “ลาดกระบัง” แนะสูบน้ำออกคลองประเวศ ยันช่วยกันแก้ปัญหาได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแนะแนวทางแก้น้ำท่วมเขตลาดกระบัง เผย 4 ข้อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ชี้สูบน้ำออกคลองประเวศลงแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นทางออกดีที่สุด ยันน้ำท่วมลาดกระบังเราช่วยกันแก้ปัญหาได้

วันนี้ (8 ก.ย.) เพจ “เอ้ สุชัชวีร์” อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น 4 ข้อ ในประเด็นน้ำท่วมกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง โดยได้ระบุข้อความว่า

“ทำไมลาดกระบัง กรุงเทพตะวันออกจมน้ำ มีคำตอบ เช้าวันนี้แทบออกไปส่งลูกที่โรงเรียนไม่ได้ ท่วมทั้งถนนจริงๆ เด็กสนุกตื่นเต้นกับน้ำท่วม แต่ผู้ใหญ่ไม่สนุก

เข้าใจ และเห็นใจ เพราะเจอกับตัวเองเหมือนชาวบ้านทุกคน แต่ชาวบ้านที่ไม่มีรถ หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าเราเยอะ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

ผมขอแสดงความคิดเห็นในฐานะชาวบ้านในพื้นที่ และวิศวกรธรณีเทคนิคคนหนึ่งว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากพื้นที่กรุงเทพตะวันออก ตั้งแต่คลองสาวา หนอกจอก มีนบุรี ลงมาลาดกระบัง ประเวศ เราควรทำอะไรบ้าง

1. ต้องรู้ว่าพื้นที่กรุงเทพตะวันออกเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำระดับต่ำใกล้น้ำทะเล ฝนตกมา ก็เป็นแอ่งกระทะ น้ำท่วมได้ทันที และจะท่วมหนักขึ้นเพราะเป็นดินอ่อน ทรุดตัวง่ายมากที่สุดในกรุงเทพฯ ปล่อยปัญหาไว้ไม่ได้

2. ทางรอดเร่งด่วนทางเดียว คือการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ทำได้โดยการใช้ระบบเครือข่ายเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ทำงานอัตโนมัติ เพราะหากเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ ยังทำงานแบบรอคนมาเปิดปิด ไม่ทัน ยิ่งหากยังใช้เครื่องดีเซลอยู่ ต้องรอเติมน้ำมัน ไม่ทันการณ์

3. เส้นทางสูบน้ำท่วมออก ช่วยพื้นที่กรุงเทพตะวันออก มี 2 เส้นทางหลัก คือ 1. ทางตะวันออก ออกทางจังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านทางคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และ 2. ทางใต้ ออกทางคลองประเวศบุรีรัมย์ มุ่งสู่สถานีสูบน้ำพระโขนง เพื่อสูบน้ำขึ้นระบายบนแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่สูงกว่า

4. เมื่อเห็นภาพตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แล้ว ความจริงคือ

1. การประสานงานระหว่างจังหวัด กทม. และฉะเชิงเทรา เป็นอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมร่วมกันได้จริงๆ น้ำท่วมจึง (ไม่ค่อย) ได้ถูกระบายทางตะวันออก ซึ่งอยู่ใกล้จุดน้ำท่วมมากที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด

จึงเหลือเพียง ทางออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ห่างไกลมากกว่า 20 กิโลเมตร ผ่านทางคลองประเวศฯ แต่วันนี้ ไม่ยอมให้น้ำไหลออกทางนี้มากนัก ประตูน้ำปิด เพราะตลิ่งในเขตชั้นใน กทม.ยังทำไม่เรียบร้อย และไม่ได้ใช้การควบคุมประตูอัตโนมัติ เลยกลัวคุมระดับน้ำตามสถานการณ์ไม่ได้ เสียหาย

น้ำจึงท่วมลาดกระบังสาหัสมาก เพราะไปทางไหนไม่ได้เลย ไม่มีใครยอมช่วย ตะวันออกก็ไม่ยอม ทางใต้ก็กีดกันไม่ให้น้ำไป

สุดท้าย ลาดกระบังจมน้ำ ทั้งที่เราจะแก้ปัญหา ก็ทำได้”
กำลังโหลดความคิดเห็น