ม.พะเยาเผยผลงานวิจัยครั้งแรกของไทย กับเอกสิทธิ์นวัตกรรม บลู สไปรา (Blue Spira) วิจัยและพัฒนาสารสำคัญไฟโคไซยานิน และสารโภชนาการในสาหร่ายสไปรูลินา ที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรองเป็น The greatest food on earth โดยนำมาทดสอบในมนุษย์เป็นผลสำเร็จ พร้อมกันนี้ พาว มิราเคิล หยิบผลงานวิจัยมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของคนไทย ชูประสิทธิภาพลดไขมันในเลือด
วันนี้ (27 ส.ค.) นายอธิชาติ ชุมนานนท์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พาว มิราเคิล จำกัด เปิดเผยว่า จากความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสมุนไพร (Innovation herb) พาว (POW) ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพคนไทยแบบยั่งยืน โดยให้ความสำคัญต่องานวิจัย และ พัฒนา ‘ระบบนิเวศนวัตกรรม’ โดยเริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของคนไทย ศึกษาวิจัยสมุนไพรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง และเพิ่มศักยภาพงานวิจัยร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร นอกจากเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่ามีคุณประโยชน์จริงและปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าพืชและสมุนไพรไทย ด้วยนักวิจัยไทย เพื่อเกษตรกรไทย ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณประโยชน์จริง พิสูจน์ผลลัพธ์ได้ด้วยงานวิจัย ให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค และสังคม พร้อมผลักดัน และเพิ่มมูลค่าให้สมุนไพรไทยเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกอีกด้วย
ล่าสุดบริษัทพาว มิราเคิล ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา และซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง เราร่วมพัฒนางานวิจัยการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินา สายพันธุ์ Platensis ด้วยกรรมวิธีพิเศษ พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดไฟโคไซยานินที่สูงกว่าปกติ และได้นำมาทดสอบในมนุษย์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเราได้ตั้งชื่อและจดสิทธิบัตรผลงานวิจัยนี้ว่า เทคโนโลยี Blue Spira ซึ่งผลลัพธ์งานวิจัยครั้งนี้เป็นผลดีต่อกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะพิการหรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยหลังจากรับมอบผลงานวิจัยในครั้งนี้ บริษัทพาว มิราเคิล มีแผนที่จะนำผลงานการวิจัยนี้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้ชื่อ Zukar Q เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยโดยตรงและกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ด้วยมาตรฐานโรงงานการผลิตระดับ GHP และมีงานวิจัยรองรับ
“การพัฒนาทุกผลิตภัณฑ์ของพาว (POW) เรามี certificate ใบรับรองจากหน่วยงานที่ตรวจสอบได้ว่าไม่มีสารต้องห้าม ไม่มีสารอันตราย (Non-Toxic) อีกทั้งยังผ่านการทดสอบการแพ้ (Allergy Free) และผ่านการทดลองในระดับคลินิก ในสัตว์ทดลอง และมนุษย์ (Clinical Trial-Animal Trial-Human Trial) ซึ่งเรามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนาใหม่นี้ จะสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้บริโภครวมถึงได้รับการตอบรับที่ดี” นายอธิชาติกล่าว
ด้าน รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยรู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้ร่วมพัฒนางานวิจัย จนได้ค้นพบงานวิจัยการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินา สายพันธุ์ Platensis ด้วยกรรมวิธีพิเศษ เอกสิทธิ์ Blue Spira (บลู สไปรา) พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดไฟโคไซยานินที่สูงกว่าปกติ และได้นำมาทดสอบในมนุษย์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ผลงานวิจัยครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับกลุ่มประชากรมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะพิการหรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันประชากรวัยทำงานของประเทศไทยใช้ชีวิตประจำวันบนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มขึ้น โดยโรค NCDs ที่พบมาก ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นการป้องกันการเกิดโรค NCDs จึงมีผลต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและลดอัตราการเสียชีวิต
“สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า 80% เป็น ประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีประชากรเสียชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือคิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตของประชากรไทยและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งโรคในกลุ่มโรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ” ดร.สุริศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ จากปัญหาและความเสี่ยงจากกลุ่มโรค NCDs ที่เกิดขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้บริษัทพาว มิราเคิล และมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกันศึกษาวิจัยผลของการบริโภคสาหร่ายสไปรูลินาต่อการทำงานของไตและระดับไขมันในเลือด ซึ่ง ผศ.ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปแล้วสาหร่ายสไปรูลินาจะมีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดไฟโคไซยานินที่สูง แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือสาหร่ายสไปรูลินาที่นำมาศึกษาในครั้งนี้เกิดจากกระบวนการเลี้ยงโดยกรรมวิธีพิเศษ Blue Spira นั้น ทำให้สาหร่ายสไปรูลินามีสารไฟโคไซยานืนที่สูงกว่าเดิมถึง 12% และจากจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในงานวิจัย ภายใต้โครงการ Pre Talent mobility ก่อให้เกิดการเดินหน้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก สไปรูลินา ต่อด้วยการทดสอบในมนุษย์ จนได้ผลสำเร็จในการยืนยันการลดไขมันในเลือดจากสไปรูลินาคุณภาพสูง ต่อยอดขยายผลนวัตกรรมสุขภาพด้วยทรัพยากรที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย บนความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ประกอบการไทย และเข้มแข็งด้วยนวัตกรรมจากนักวิจัยและมหาวิทยาลัยไทย
ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดเผยว่า จากการวิจัยพบว่าสาหร่ายสไปรูลินาจะให้สารไฟโคไซยานิน และโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งจะกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว สามารถช่วยลดความเสี่ยงภูมิแพ้ ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ได้ทั้งโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ควบคุมความดันโลหิต โดยมีข้อมูลการศึกษา พ.ศ. 2550 พบว่าอาสาสมัคร 36 คนที่ได้รับสไปรูลินา 4.5 กรัมต่อวัน เป็นเวลานานกว่าหกสัปดาห์ มีความเปลี่ยนแปลงในคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตอย่างสำคัญ เช่น ลดคอเลสเตอรอลรวม, เพิ่ม HDL คอเลสเตอรอล, ลดไตรกลีเซอไรด์ และลดความดันโลหิต
อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัย การศึกษา “ผลของการบริโภคสไปรูลินาที่เลี้ยงด้วยกรรมวิธีพิเศษ Blue Spira ต่อการทำงานของไต และระดับไขมันในเลือด” ยังได้ทำการทดลองในอาสาสมัคร จำนวน 80 คน โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มบริโภคสไปรูลินาจริง (กลุ่มทดสอบ) 40 คน และกลุ่มบริโภคสไปรูลินาหลอก (กลุ่มควบคุม) 40 คน พบว่ามีผลต่อการลดระดับไขมันในเลือด คือ Total cholesterol Triglycerides Low-Density Lipoprotein Cholesterol และเพิ่มระดับ High-Density Lipoprotein Cholesterol นอกจากนั้นไม่มีผลต่อการทำลายการทำงานของไต และสุขภาพ โดยสไปรูลินาได้รับการับรองว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัยอีกด้วย