xs
xsm
sm
md
lg

เกาะกระแสสลิปปลอม ผงะอี-สลิป ธ.ก.ส.เสี่ยง เวลาโอนเงินไม่มีคิวอาร์โค้ดตรวจสอบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แบงก์ชาติแนะตรวจสอบสลิปโอนเงินผ่านมือถือ สแกนคิวอาร์โค้ดบนอี-สลิปโอนเงิน หากยอดเงินไม่ตรง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้ ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นสลิปปลอม แต่พบ ธ.ก.ส. ธนาคารเดียวไม่มีคิวอาร์โค้ด ตรวจสอบไม่ได้ เสี่ยงถูกปลอม

วันนี้ (30 ก.ค.) จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Sornphet Wutthikornchaisakul ได้ออกมาเตือนมิจฉาชีพปลอมใบบันทึกรายการอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-สลิป โดยฝีมือของสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า "ชุมชนสายเทา Marketing" พบว่ามีการขายโปรแกรมปลอมอี-สลิปรายการโอนเงิน สามารถปลอมสลิปโดยการเพิ่มเติมข้อมูลได้แก่ เวลส รหัสอ้างอิง ชื่อบัญชีที่โอน ชื่อบัญชีผู้รับเงิน เลขที่บัญชี จำนวนเงิน และโอนไปยังธนาคาร จึงเตือนภัยพ่อค้า แม่ค้าทุกคน เวลาลูกค้าโอน ให้รอการแจ้งเตือนตอนเงินเข้าผ่าน SMS หรือข้อความแจ้งเตือนผ่านแอปฯ อย่าเพิ่งดูสลิปเพียงอย่างเดียว ตามที่ได้แจ้งให้ทราบไปแล้วนั้น

อ่านประกอบ : เตือนภัย! พ่อค้าแม่ค้าระวังสลิปโอนเงินปลอม หลังพบโปรแกรมทำสลิปปลอมขาย 

เฟซบุ๊กธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand ได้โพสต์ข้อความว่า "เตือนภัย!! สลิปปลอมระบาดหนัก พร้อมแนะนำ 2 วิธีง่ายๆ เช็กก่อนว่าเงินเข้าบัญชีจริง ดังนี้

1. ใช้บริการแจ้งเตือนของธนาคาร ซึ่งจะแจ้งเตือนเมื่อมียอดเงินเข้าบัญชี สามารถนำไปเทียบยอดเงินกับสลิปได้

2. สแกน QR CODE บนสลิปโอนเงินแบบ E-Slip สามารถตรวจสอบ ชื่อผู้โอน จำนวนเงิน วันและเวลาที่โอนเงินได้ หากยอดเงินไม่ตรง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้ ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นสลิปปลอม"

อ่านโพสต์ต้นฉบับ คลิกที่นี่


รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับวิธีการสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบสลิปปลอม ให้บันทึกอี-สลิปไว้ในเครื่อง เมนูคลังภาพ หรือ Photos จากนั้นเปิดแอปพลิเคชันธนาคาร เข้าไปที่เมนู "สแกน" "สแกนจ่าย" หรือ "สแกนจ่าย/รับ" เมื่อเปิดกล้องจะมีสัญลักษณ์รูปภาพ ให้กดที่ไอคอนรูปภาพ แล้วกดเลือกอี-สลิปที่ต้องหาร ระบบจะแสดงผลตรวจสอบอี-สลิป ทั้งเลขที่รายการ โอนเงินจากบัญชีใดไปยังบัญชีใด จำนวนเงิน ซึ่งจะสามารถตรวจสอบอี-สลิปว่าของจริงหรือของปลอมได้

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของผู้สื่อข่าวพบว่า เกือบทุกธนาคารจะมีคิวอาร์โค้ดระบุบนอี-สลิปโอนเงิน ไว้ใช้ตรวจสอบรายการผ่านแอปฯ ธนาคารต่างๆ แต่พบว่ามีอยู่ธนาคารเดียวที่อี-สลิปโอนเงินไม่มีคิวอาร์โค้ดตรวจสอบ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยพบว่าแอปพลิเคชัน A-Mobile หลังการโอนเงินแล้ว พบว่าอี-สลิประบุแต่ข้อมูลการโอนเงินเท่านั้น แม้จะมีลายน้ำตราสัญลักษณ์ ธ.ก.ส.ด้านหลัง แต่มิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงขึ้นมาได้


กำลังโหลดความคิดเห็น