ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัลเริ่มทวีความสำคัญยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถตอบโจทย์งานพิมพ์ในรูปแบบ Customization และ Specific ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานพิมพ์แบบ Shot Run ซึ่งมีลูกค้าจำนวนมากและมีงานต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเอปสันเริ่มทำตลาดเครื่องพิมพ์ฉลากดิจิทัลเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา และในปี 2565 นี้ ได้วางกลยุทธ์รุกตลาดเครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมฉลากและบรรจุภัณฑ์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด เอปสันได้เปิดตัว Epson Professional Printing Experience Center ศูนย์กลางรวบรวมเทคโนโลยีการพิมพ์สำหรับการพิมพ์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมล่าสุดจากเอปสัน และนับเป็นครั้งแรกที่เอปสันได้นำเครื่องพิมพ์ฉลาก (Label) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มาให้ผู้ประกอบการได้ทดลองใช้เครื่องจริงในประเทศไทยอย่างครบวงจรก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจมากขึ้น
นายปลวัชร นาคะโยธิน ผู้จัดการฝ่ายขาย ผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ระดับมืออาชีพ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการจัดตั้ง Epson Professional Printing Experience Center ว่าเอปสันได้จับมือกับบริษัท บีพีเอส กรุงเทพ จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในวงการพิมพ์มาอย่างยาวนานกว่า 23 ปี ในการจัดตั้งศูนย์ฯ ภายใน BPS Solution Learning Center ณ ซอยสุขสวัสดิ์ 74 เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานให้กับลูกค้าที่สนใจ
บนพื้นที่ประมาณ 200 ตรม. ของ Epson Professional Printing Experience Center ผู้ประกอบการจะได้สัมผัสกับเครื่องพิมพ์ฉลากอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล Epson SurePress ที่มีทั้งหมึกพิมพ์แบบน้ำและแบบ UV โดยมีไฮไลท์อยู่ที่เครื่องพิมพ์ Epson SurePress L-6534VW เครื่องพิมพ์ฉลากระบบดิจิทัล ที่มาพร้อมหมึก UV รุ่นล่าสุดของเอปสัน ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับงานพิมพ์ฉลากโดยเฉพาะ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 50 เมตรต่อนาที รองรับงานได้ 5,000 - 6,000 ชิ้น ภายในระยะเวลาประมาณ 5-10 นาที พร้อมติดตั้งระบบ Corona Treatment ที่ช่วยให้หมึกพิมพ์แห้งและยึดติดได้ลงบนวัสดุพิมพ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหรือพลาสติกชนิดต่างๆ โดยไม่ต้องมี Primer อีกทั้งด้วยเทคโนโลยีหัวพิมพ์ PrecisionCore ที่ให้หยดหมึกที่มีขนาดหยดหมึกเล็กสุดเพียง 3.2 พิโคลิตร ให้งานพิมพ์มีความคมชัด ความละเอียดสูง ไล่โทนสีได้อย่างต่อเนื่องเรียบเนียน โดดเด่นด้วยหมึกพิเศษ Digital Varnish ช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าฉลากด้วยการเคลือบเงา เคลือบด้าน หรือสร้างสรรค์ลวดลายเฉพาะจุดแบบ Spot UV ได้ในการพิมพ์ครั้งเดียว นอกจากนี้ยังมีหมึกพิมพ์สีขาวทำให้สามารถพิมพ์บนวัสดุใสหรือวัสดุที่ไม่ใช่สีขาว เช่น สติกเกอร์ฟอยล์เงินได้อีกด้วย
กลุ่มเป้าหมายของเครื่องพิมพ์ Epson SurePress รุ่น L-6534VW มี 2 กลุ่มหลักๆ ประกอบด้วย
1. ผู้ประกอบการโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีฐานลูกค้าอยู่แล้วแต่ต้องการเพิ่มโอกาสในการรับงาน Short Run ที่นิยมทำตามเทศกาล ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ โดยที่สินค้า Short Run จะมีความเป็น Customization และ Specific มากขึ้น แต่มีปริมาณไม่มากนัก เช่นต่ำกว่า 5,000 ชิ้น ซึ่งหากใช้เครื่องพิมพ์แบบเก่าอาจจะไม่คุ้มทุน เนื่องจากต้องมีต้นทุนการทำแม่พิมพ์รวมถึงการสูญเสียวัสดุพิมพ์และเวลาในการปรับตั้งเครื่องค่อนข้างสูง ทั้งนี้โรงพิมพ์ที่ต้องการรับงาน Short Run สามารถลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์ฉลากและบรรจุภัณฑ์ดิจิทัลได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนทั้งระบบเพราะมีอุปกรณ์ทั้งระบบอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้จะช่วยต่อยอดธุรกิจจากฐานลูกค้าที่มีและสร้างโอกาสธุรกิจให้เป็น One Stop Service ได้
2. กลุ่มที่ต้องการขยายธุรกิจ คือ PSP (Print Service Provider) ซึ่งเป็นร้านรับพิมพ์ป้ายโฆษณาที่ต้องการทำงานแบบครบวงจรมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจป้ายโฆษณามีการแข่งขันที่สูง ทำให้ราคาต่อหน่วยลดลง หากกลุ่มเหล่านี้เริ่มขยายให้บริการพิมพ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มมูลค่าได้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นฐานสำคัญที่ต่อยอดธุรกิจได้
นายปลวัชร กล่าวว่าหลังจากเปิดตัว Epson Professional Printing Experience Center อย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้รับผลตอบรับดีมากเนื่องจากลูกค้าสามารถนำไฟล์มาทดลองพิมพ์บนวัสดุต่างๆ ให้ลูกค้าได้สัมผัสจริง โดยทีมงานที่เอปสันจัดตั้งขึ้นมาดูแลสินค้านี้โดยเฉพาะ เมื่อผสานกับทีมขายและบริการของเอปสันก็จะยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่กำลังต้องการโซลูชันการพิมพ์เพื่อธุรกิจการพิมพ์ฉลากและบรรจุภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นการจัดตั้ง Epson Professional Printing Experience Center จึงถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญเพื่อสนับสนุนงานขาย และเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมฉลากและบรรจุภัณฑ์ดิจิทัลของเอปสันอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ยังเป็นที่ทราบกันดีว่าสินค้าอุปโภคบริโภคจะต้องมีบรรจุภัณฑ์อยู่เสมอ และประเทศไทยก็ยังเป็นศูนย์กลางทางด้านอาหาร ทำให้ธุรกิจฉลากและบรรจุภัณฑ์มีโอกาสเติบโตตามไปด้วย ส่งผลให้ภาพรวมตลาดเครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมฉลากและบรรจุภัณฑ์ของเอปสันในปี 2565 นี้เติบโตขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มขยายธุรกิจและลงทุนกับเครื่องพิมพ์ฉลากดิจิทัลมากขึ้น เพราะในปัจจุบันมีราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับการพิมพ์ระบบอนาล็อกที่ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ จำนวนมาก เช่น แม่พิมพ์และสารเคมีต่างๆ รวมถึงพื้นที่และแรงงานช่างควบคุมเครื่องพิมพ์จำนวนมาก ซึ่งต้องฝึกอบรมเป็นเวลานานกว่าจะมีความเชี่ยวชาญในการควบคุมเครื่องพิมพ์ขณะที่เครื่องพิมพ์ฉลากดิจิทัลสามารถใช้งานได้อย่างง่าย ใช้พนักงานเพียงหนึ่งคนในการควบคุมเครื่องก็สามารถผลิตชิ้นงานแบบ Customize ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้
“ถึงวันนี้เอปสันมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งผลิตภัณฑ์และโซลูชันสาธิตที่ตอบโจทย์ความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้ง Epson Professional Printing Experience Center ในประเทศไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ร่วมสัมผัสและทดลองใช้เครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมฉลากและบรรจุภัณฑ์จนออกมาเป็นชิ้นงานสำเร็จรูป เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเครื่องพิมพ์ฉลากดิจิทัลของเอปสัน ตอบโจทย์ความต้องการงานพิมพ์ของลูกค้าแต่ละรายอย่างแท้จริง” นายปลวัชร กล่าวทิ้งท้าย
ผู้สนใจเยี่ยมชม Epson Professional Printing Experience Center ติดต่อได้ที่ Epson Call Center
0-24609699