องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดินหน้าโครงการ “ความห่วงใย ไร้พรมแดน” ให้การบริการทางการแพทย์เชิงรุก จัดทีมให้บริการรักษาพยาบาลทหารผ่านศึกอย่างทั่วถึง
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2491 มีหน้าที่ ในการให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจําการ รวมทั้งผู้ที่กําลังปฏิบัติ หน้าที่ในการป้องกันประเทศ โดยดําเนินงานให้การสงเคราะห์ 6 ประเภท ได้แก่ ด้านสวัสดิการและการศึกษา ด้านอาชีพด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทํากินด้านการให้สินเชื่อด้านการรักษาพยาบาลและด้านการส่งเสริมสทิธิ และเกียรติ
พล.อ.สัณทัศน์ นันทิภาคย์หิรัญ ผู้อํานวยการ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (ผอ.อผศ.) ได้มีความ มุ่งมั่นและมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหาร นอกประจําการ รวมทั้งผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกัน ประเทศ ให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี รวมทั้งเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึกใหเ้ปน็ที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งจากการเดินทางไปเยี่ยมเยียนทหารผ่านศึกและครอบครัว ณ ภูมิลําเนาในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้พบว่ายังมีทหารผ่านศึกบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงระบบการบริการสุขภาพได้ หรือมีความลําบาก ในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากสภาพความพิการเป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือขาดทุนทรัพย์ ทําให้ไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องและได้คุณภาพมาตรฐานพลเอกสัณทัศน์ นันทิภาคย์หิรัญ ผู้อํานวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จึงมอบนโยบายให้สมาคมแม่บ้านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ร่วมกับโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ได้ใช้ศักยภาพของหน่วยออกให้การบริการทางการแพทย์ในเชิงรุก เพื่อจัดทีมเข้าให้บริการรักษาพยาบาลและบริการด้านสุขภาพให้ทั่วถึง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ด้วยเหตุนี้ คุณพัณณ์ชิตา นันทิภาคย์หิรัญ นายกสมาคมแม่บ้านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกร่วมกับ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ได้ริเริ่มจัดทําโครงการ “ความห่วงใย ไร้พรมแดน” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การดูแลรักษาทหารผ่านศึกและครอบครัวที่พักอาศัยในจังหวัดต่าง ๆ ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษา จากโรงพยาบาลทหารผ่านศึก โดยแพทย์เฉพาะทางและสหสาขาวิชาชีพ และเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ของทหารผ่านศึกและครอบครัว ให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัว การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันบรรเทา ภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่หรือโรคที่อาจจะเกิดในอนาคต รวมทั้งเพื่อให้การดูแลทหารผ่านศึกและครอบครัว แบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ทั้งนี้ในการดําเนินงานตามโครงการดังกล่าวได้มีการนําทีมแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ไปให้การดูแลเชิงรุก และจัดทําการประเมินสุขภาพให้แก่ทหารผ่านศึกและครอบครัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มเริ่มป่วย และกลุ่มผู้ป่วย โดยจะทําการเยี่ยมเยียน เดือนละ 1 ครั้ง และติดตาม ประเมินผลความก้าวหน้าการปฏิบัติงานทุกรอบ 3 เดือน เพื่อนําไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และรับทราบปัญหา ข้อขัดข้อง โดยมีเป้าหมายของการประเมินในแต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มสุขภาพดี เพื่อไม่ให้ป่วยกลุ่มเริ่มมีอาการป่วย
เพื่อไม่ให้มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน กลุ่มผู้ป่วย เพื่อป้องกันอาการทรุดหนัก ทั้งนี้ ในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565 สมาคมแม่บ้านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ได้เดินทางไปเยี่ยมทหารผ่านศึก พร้อมมอบสิ่งของเยี่ยมเยียนและเงินบํารุงขวัญ รวมทั้งได้นําทีมแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ไปให้การดูแลและให้คําแนะนําด้านสุขภาพเชิงรุกตามโครงการ “ความห่วงใย ไร้พรมแดน” แก่ทหารผ่านศึก และครอบครัวในพื้นต่าง ๆ สรุปผลการดําเนินงานได้ดังนี้
1.มีทหารผ่านศึกและครอบครัวเข้าร่วมโครงการจํานวน127 รายในทุกชั้นบัตรและทุกเขต
2.ดําเนินการตรวจเยี่ยมทหารผ่านศึก จํานวน 72 ราย ในพื้นที่ให้การสงเคราะห์ของสํานักงาน สงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขต 16 เขต แบ่งตามกลุ่ม ได้ดังนี้ กลุ่มสุขภาพดี จํานวน 24 ราย กลุ่มเริ่มมีอาการป่วย จํานวน 42 ราย และกลุ่มผู้ป่วย จํานวน 7 ราย โดยแบ่งตามกลุ่มโรค 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มโรคความดัน โลหิตสูง กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต และกลุ่มโรคเบาหวาน
3.ดําเนินการ Telemedicine ได้จัดส่งยา/เวชภัณฑ์ให้ทหารผ่านศึก
4.จัดทําวิดีโอ เช่น การฝึกกายภาพบําบัดการให้ความรู้เรื่องโรคการให้คําแนะนําด้านโภชนาการ เรียบร้อยแล้ว
และ5.มีการประสานสง่ ต่อผู้ป่วยในรายเร่งด่วน ทั้งด้านการรักษาและด้านการสงเคราะห์
นอกจากนี้ ในขณะเข้าตรวจเยี่ยมสมาคมแม่บ้านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ได้พบว่า กายอุปกรณ์ของผู้ป่วยทหารผ่านศึก เนื่องจากใช้มานานหลายปี การเดินทางไปรับบริการกายอุปกรณ์ ที่กรุงเทพมหานครยากลําบาก โรงพยาบาลที่ทํากายอุปกรณ์มีน้อย และทหารผ่านศึกมีอายุมากขึ้น จึงได้นํา เจ้าหน้าที่จากหน่วยกายอุปกรณ์ กองออร์โธปิดิกส์และกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลทหารผ่านศึกไปให้บริการ ซ่อมแซม จัดทําและจัดหากายอุปกรณ์ให้แก่ทหารผ่านศึกพิการหรือพิการทุพพลภาพ ทําให้ทหารผ่านศึก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีขวัญและกําลังใจในการดําเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี