xs
xsm
sm
md
lg

"นพ.ระวี" หนุนสูตรที่มา ส.ส. หาร 500 แบบที่ 2 ตรงเจตนารมณ์ รธน. 60

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"นพ.ระวี" หนุนสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยการหาร 500 แบบที่ 2 ชี้ทุกเสียงไม่ตกน้ำ ได้จัดสรรปันส่วนผสม สอดคล้องเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 60



วันที่ 11 พ.ค. 2565 นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) …ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… ร่วมสนทนาในรายการ "คนเคาะข่าว" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง "นิวส์วัน" ในหัวข้อ "เปิดสูตร ที่มา ส.ส. 100 หรือ 500 หาร ก็ไม่ชอบรัฐธรรมนูญ"

โดย นพ.ระวี กล่าวว่า ตอนนี้การนับคะแนนในขั้นตอนการพิจารณาของกรรมาธิการฯ มี 3 สูตร สูตรแรกพรรคใหญ่เสนอ คือผลรวมคะแนนพรรคของทุกพรรคทั่วประเทศ ต้องหารด้วย 100 เพียงอย่างเดียว ก็คือการนำผลรวมคะแนนพรรค ของทุกพรรคทั่วประเทศ มาหารด้วย 100 เช่น 37 ล้าน ÷100 = 370,000 คือคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ซึ่งถือเป็นการสกัดพรรคเล็ก

ส่วนสูตรที่พรรคเล็กและพรรคกลางเสนอ คือ การคำนวณ ส.ส.พึงมี และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยการหาร 500 แบบที่ 1 คือการคำนวณหาคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.พึงมี 1 คน ก็คือการนำผลรวมคะแนนพรรคของทุกพรรคทั่วประเทศไปหารด้วย 500 เช่น 37 ล้าน หารด้วย 500 ก็จะเท่ากับ 74,000 โดยการคำนวณหาจำนวน ส.ส.พึงมีของพรรค ก คือ ผลรวมคะแนนพรรคของพรรค ก จากทุกเขต คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. พึงมี 1 คน 1,000,000÷74,000 = 13.5 ส.ส.ส่วนจำนวน ส.ส.บัญ ชีรายชื่อของพรรค ก ก็คือ จำนวน ส.ส.พึงมีพรรค ก – จำนวน ส.ส.เขตพรรค ก ตัวอย่าง ส.ส.พึงมี (13.5)–ส.ส.เขต(7) = ส.ส.บัญชีรายชื่อ คือ 6.5

ใน 2 วิธีข้างต้นจะเห็นว่า การหารด้วย 100 เข้ามาตรา 91 เพียงมาตราเดียว มาตรา 93,94 รวมไปถึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 60 ที่ระบุถึง ส.ส.พึงมี,คะแนนเสียงไม่ตกน้ำ และระบบจัดสรรปันส่วนผสม ส่วนการหารด้วย 500 วิธีที่ 1 จะไม่เข้ามาตรา 91 แต่เข้ากับมาตรา 93,94 ซึ่งทั้ง 2 วิธีถือว่ายังมีปัญหาทั้งคู่ การอ้างว่าหาร 100 ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ไม่ถูกต้อง ทางพรรคเล็กจึงคิดวิธีการคำนวณ ส.ส.พึงมี และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ โดยการหาร 500 แบบที่ 2

แบบที่ 2 นี่คือ การคำนวณหาคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. พึงมี 1 คน ก็คือ ผลรวมคะแนนเขต + คะแนนพรรคของทุกพรรค หาร 500 ตัวอย่าง 37 ล้าน+37 ล้าน = 74 ล้าน = 148,000 จากนั้น นำคะแนนเขตทั้งหมดพรรค ก + คะแนนพรรคทั้งหมดพรรค ก คะแนนเฉลี่ย ต่อ ส.ส.พึงมี 1 คน ตัวอย่าง = 1,000,000+800,000 หารด้วย 148,000 = 1,800,000 ÷148,000 = 12.16 คน ส่วนวิธีหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค ก ก็ให้นำจำนวน ส.ส.พึงมีพรรค ก – จำนวน ส.ส. เขต พรรค ก ตัวอย่าง = ส.ส.พึงมี (12.16 คน) – ส.ส.เขต (7) = ส.ส.บัญชี 5 คน ซึ่งวิธีนี่จะไม่เข้ากับมาตรา 91 นอกเหนือจากนั้นวิธีนี่เข้ากับมาตรา 93,94 รวมไปถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 60

นพ.ระวี กล่าวอีกว่า การหาร 500 แบบที่ 2 เป็นการคิดแบบจัดสรรปันส่วนผสม เป็นการแก้ไขวิกฤตการเมืองไทยในอดีต อย่างรัฐบาลนี้ได้รับเลือกตั้งมาด้วยเสียงปริ่มน้ำ คนคิดว่าอยู่ได้แค่ 6 เดือนก็ต้องยุบสภา แต่นี่อยู่มาได้ 3 ปีกว่าแล้ว นี่เป็นประชาธิปไตยอีกแบบนึง

ทุกเสียงไม่ตกน้ำทั้งเขตและพรรค สมมติพรรคหรือคนที่เราเลือกไม่ชนะก็ยังถูกนำมาคิดหมด ประเด็นนี้รัฐบาลต้องตัดสินใจ จะเอาหาร 100 หรือ 500 ซึ่งตอนนี้เท่าที่พูดคุยในกรรมาธิการฯ ความเห็นชอบ 50 : 50 เมื่อผ่านกรรมาธิการฯ แล้ว ก็จะเข้าสู่วาระ 2 ไปโหวตในสภา


กำลังโหลดความคิดเห็น