เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า (ECST) เผยผลการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าใน 97 ประเทศ ชี้ไทยเป็น 1 ในเพียง 30 ประเทศที่แบนบุหรี่ไฟฟ้า สวนทาง 67 ประเทศที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าถูกต้องตามกฎหมาย แถมแบนมาตลอด 7 ปี แต่ผู้ใช้เพิ่มขึ้น 4500% สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ” และแอดมินเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” เผยว่า “การใช้บุหรี่ไฟฟ้ากำลังได้รับการยอมรับมากขึ้น หลายประเทศมีการแก้ไขมาตรการควบคุมยาสูบ เพื่อให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายและควบคุมได้ เช่น นิวซีแลนด์ที่เคยแบนบุหรี่ไฟฟ้า หรือ ฟิลิปปินส์ที่รัฐสภาได้ออกกฎหมายใหม่เพื่อควบคุม ขณะที่สหรัฐอเมริกา ก็กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้ขายบุหรี่ไฟฟ้าต้องนำผลิตภัณฑ์มาขึ้นทะเบียนก่อนขาย และล่าสุด อย.สหรัฐก็เพิ่งอนุญาตให้บุหรี่ไฟฟ้าหลายยี่ห้อขายในประเทศได้”
“แต่กระทรวงสาธารณสุขไทยกลับออกมาย้ำว่าต้องการจะแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบเดิม ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่านโยบายการแบนบุหรี่ไฟฟ้าของไทยล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเพราะไม่ตอบโจทย์คนสูบบุหรี่ที่ต่างก็ต้องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทดแทนการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้ซึ่งเป็นอันตรายมากกว่า จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศพุ่งสูงขึ้นถึง 4,500% จาก 1,714 คนในปี 2560 เป็น 78,742 คนในปี 2564”
นายมาริษยังได้เผยถึงผลการศึกษาหัวข้อ “การเปรียบเทียบระเบียบข้อบังคับและแรงจูงใจของบุหรี่ไฟฟ้าใน 97 ประเทศ” ว่า “หลายประเทศมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อหาวิธีการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้สมดุลในแบบที่ห้ามการเข้าถึงของเด็กและคนไม่สูบบุหรี่ แต่ก็ไม่ปิดกั้นโอกาสของคนสูบบุหรี่ที่อยากเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน ซึ่งใน 97 ประเทศ เช่น แคนาดา อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ หรือสหรัฐอเมริกา เลือกที่จะควบคุมในรูปแบบต่างๆ เช่น ห้ามการเติมส่วนประกอบที่จูงใจเด็ก หรือควบคุมแบบสินค้าบริโภคทั่วไป มีเพียง 30 ประเทศ เช่นไทย อินเดีย บรูไน สปป.ลาว เกาหลีเหนือ และศรีลังกา ที่เลือกใช้วิธีการแบนบุหรี่ไฟฟ้า”
การศึกษานี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Social Science & Medicine เมื่อกลางปี 2564 ซึ่งทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบนโยบายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศต่างๆ รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของนโยบายแต่ละประเภท ซึ่งการแบนหรือการปิดกั้นการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าแบบเบ็ดเสร็จนั้น ก็ทำให้เกิดประเด็นทางจริยธรรมเพราะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้สูบบุหรี่ และทำให้เกิดปัญหาการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าจากแหล่งผิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นอันตรายกว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตแบบมีคุณภาพ และยังสวนทางกับแนวโน้มด้านนโยบายของหลายๆ ประเทศที่เริ่มปลดล็อคสิ่งเสพติดบางชนิด เช่น กัญชา ให้ถูกกฎหมาย
“บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายไม่ได้หมายถึงการปล่อยเสรีบุหรี่ไฟฟ้า แต่คือการเอาขึ้นมาบนดินเพื่อให้มีกฎหมายคบคุม จะได้แก้ไขปัญหาธุรกิจใต้ดินที่ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ อย่างมหาศาล และไม่สามารถตรวจสอบอายุเพื่อป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชนได้ เช่นเดียวกับที่พรรคภูมิใจไทยปลดล็อกกัญชาเพื่อ”